Month: June 2020

สอบเข้าคณะแพทยศาสตร์

เคล็ดลับการเตรียม สอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ ให้ผ่านฉลุย !

           ความฝันในวัยเด็กของใครหลาย ๆ คนก็คงหนีไม่พ้นกับความใฝ่ฝันที่อยากจะเป็นหมอ เพื่อที่จะได้รักษาเพื่อนมนุษย์ และมีคนนับหน้าถือตาในสังคม เพราะการปลูกฝังตั้งแต่เด็กว่าอาชีพหมอ เป็น อาชีพที่มีเกียรติ แต่การที่จะ สอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ นั้นได้ ก็ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะมีหลายคนที่ใฝ่ฝันเหมือนกัน และเกณฑ์การคัดเลือกก็ยากมาก แต่ก่อนที่จะไปสอบจะต้องมีความรู้ และมีข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ว่าในปีนั้นคณะแพทยศาสตร์จะคัดเลือกนักศึกษาเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยกี่คนและใช้เกณฑ์อะไรในการวัดซึ่งน้อง ๆ จะต้องดูคุณสมบัติให้ดี อยากเป็นหมอ แต่ไม่รู้จะเตรียมตัวและเริ่มจากอะไรดี จะอ่านตรงไหนเพื่อที่จะไปสอบดีล่ะ บทความนี้มีคำตอบ วิชาที่จะต้องใช้เพื่อสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์             หลัก ๆ ในการสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์คือน้อง ๆ จะต้องผ่านการสอบวิชาเฉพาะแพทย์ ซึ่งจะจัดสอบในรอบ 3 ของระบบทีแคส ในวิชาเฉพาะแพทย์นั้น จะมีทั้งหลักจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย GAT PAT  9 วิชาสามัญ  GPA  5 เทอมในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งแต่ละวิชานั้นมีเกณฑ์ที่สูงมาก ๆ ในแต่ละปี ลักษณะการทำโจทย์           น้อง ๆ จะต้องเริ่มอ่านหนังสือและวิเคราะห์ข้อสอบเก่าย้อนหลัง 3-5…

How to เตรียมตัวเข้าระบบ TCAS ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

How to เตรียมตัวเข้าระบบ TCAS ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

            นับต่อเวลาจากนี้ไป จะเป็นช่วงเวลาแห่งการแข่งขันการคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย แต่จะต้องผ่านระบบ TCASเพื่อที่จะได้รับคัดเลือก น้องหลายคนอาจจะสับสน เพราะเหลือเวลาอีกไม่มากในการอ่านหนังสือและการเตรียมตัวเข้าระบบTCAS แต่วันนี้นักเขียน จะมารวบรวม How to เตรียมตัวเข้าระบบ TCAS เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับน้องระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6  ได้อุ่นใจ และสามารถเตรียมตัวเข้าระบบTCAS ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ เตรียมตัวเข้าระบบ TCASเพื่อสอบเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย 1.เตรียมตัวเข้าระบบ TCASด้วยการเตรียมตัวด้านการหาข้อมูล สำหรับในข้อนี้นะคะให้น้อง ๆได้เตรียมการเตรียมตัวที่จะหาข้อมูลในคณะที่น้องอยากเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ให้น้องหาข้อมูลว่า ในปีนี้รับนักศึกษาจำนวนเท่าไร และใช้เกณฑ์อะไรในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งกฎเกณฑ์แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะแตกต่างกันออกไป 2.เตรียมตัวเข้าระบบ TCASด้วยการติดตามข่าวสารจาก MY TCASนับว่าเป็น Application ที่ดีอีกแป๊บหนึ่งแห่งการศึกษาซึ่งน้อง ๆ จะสามารถติดตามข่าวสารการคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ อีกทั้งยังสามารถดูเกณฑ์การรับสมัครทั้งหมด และคะแนนที่ใช้สมัครสอบอีกด้วย 3.เตรียมตัวเข้าระบบ TCASในรอบ portfolio การควรมีการเตรียมความพร้อม ถ้าหากจะเข้าคัดเลือกในรอบ portfolio  เพราะรอบนี้จะเป็นรอบแรกของระบบTCAS จึงต้องมีการเตรียมตัวเก็บสะสม และ รวบรวมผลงานเพื่อใส่แฟ้มสะสมผลงานไปยื่นในแต่ละมหาวิทยาลัย…

คณะวิทยาศาสตร์ ทางเลือกการศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ แนวทางเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจก่อนเลือกเรียนมหาวิทยาลัย

          วิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่เราน้อง ๆ หลายคนชื่นชอบในตอนที่เรียนมัธยมหรือตอนที่เรียนประถม จนทำให้น้อง ๆ ได้อยากเข้าศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์ วันนี้นักเขียนจะมาเล่าประสบการณ์การเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิทยาศาสตร์ รวมไปจนถึงแนวทางการเรียนใน คณะวิทยาศาสตร์ ว่าจะต้องเจออะไรบ้างใน 4 ปี และจบไปจะต้องประกอบอาชีพอะไร เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางให้น้อง ๆนำไปตัดสินใจในการเลือกคณะเรียนในมหาวิทยาลัย แนวทางการเรียนคณะวิทยาศาสตร์ การเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิทยาศาสตร์ น้อง ๆควรจะเริ่มอ่านหนังสือได้ตั้งแต่ ม.5 หรือ ม.6  วิชาหลัก ๆ ที่จะต้องอ่านก็คือ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ ฝึกทำข้อสอบเก่าย้อนหลังฝึกทำโจทย์ให้แม่นยำ คะแนนที่ใช้ยื่นในคณะวิทยาศาสตร์ การสอบน้อง ๆ จะต้องผ่านการสอบ GAT PAT เพื่อที่จะใช้คะแนนไปยื่นมหาวิทยาลัย ถ้าหากอยากเข้าคณะวิทยาศาสตร์จริง ๆ จะต้องมีผลการทดสอบ PAT 1และ PAT 2ซึ่งคะแนนในแต่ละรอบก็จะแตกต่างกันไป แต่อย่างต่ำยืนพื้นน้องควรทำให้ได้ 90 คะแนนขึ้นไปจึงจะมีโอกาสสอบติด และจะใช้  GPA…

ระบบ TCAS คืออะไร

ระบบ TCAS คืออะไรมาทำความรู้จักกันง่ายๆภายใน 3 นาที

           ใกล้เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการแข่งขันในการสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย น้อง ๆ หลายคนคงจะมีการเตรียมความพร้อมโดยการฝึกตะลุยโจทย์ หรือเ ข้าเรียนที่สถาบันกวดวิชาเพื่อติวเข้มไม่ให้พลาดTCASรอบ1 แต่ก็คงมีอีกหลายคนที่ยัง งงเกี่ยวกับเรื่องของระบบ TCASอยู่และยังไม่ค่อยเข้าใจในระบบสักเท่าไหร่ วันนี้นักเขียนเลยถือโอกาส ชวนทำความรู้จัก ระบบ TCAS ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ๆ เลยของน้องมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่กำลังจะเข้าสู่ระบบ TCAS ปี 64 ที่จะถึงนี้ โดยการสรุปแบบง่าย ๆ เข้าใจแน่นอน ระบบ TCAS  คืออะไร            ซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจมาก ๆ เลยนะคะ ระบบ TCAS เป็นระบบการคัดเลือกเพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย แต่เป็นการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ ซึ่งจะต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งที่นั่งในมหาวิทยาลัย ถือว่าเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดกันเลยทีเดียว เพราะในระบบTCAS น้อง ๆ ทุกคนจะต้องเตรียมความพร้อมเป็นอย่างมาก ซึ่งจัดสอบโดย ทปอ โดยมีการนำระบบTCASมาใช้ทดสอบครั้งแรกในปี 61  ที่ผ่านมานั่นเอง ระบบ…

วีธีง่ายๆ เรียนอย่างไรให้ ได้ 4.00

8 เทคนิคง่ายๆ เรียนอย่างไรให้ได้ 4.00 ทุกวิชา

         จะเปิดเทอมแล้ว อยากเอาชนะใจตัวเอง อยากได้ของขวัญจาก คุณพ่อ คุณแม่ อยากเรียนได้เกรดดี ๆ เพราะต้องเริ่มทำพอร์ตแล้ว แต่ดันเรียนไม่เก่ง สมองไม่เข้าใจ ทำอ่างไรดี ? วันนี้มีคำตอบมาให้แล้วนะคะ กับ 8 เทคนิคง่ายๆ เรียนอย่างไรให้ได้ 4.00 ไม่ต้องไปบนวัดไหน ไหว้พระ 9 วัด ขอพรให้ได้เกรด 4 ทุกตัวไปเลยค่ะ กับเทคนิคสุดง่ายในวันนี้ ไม่ต้องรอวันหน้า ล่วงเทคนิค 8 วิธีง่ายๆเรียนอย่างไรให้ได้ 4.00 1.เรียนอย่างไรให้ ได้ 4.00 – การจดบันทึกสิ่งที่สำคัญเวลาอาจารย์สอน อย่านั่งเฉยเมย !!! เพราะนี่คือ หายนะ ขั้นรุนแรง ที่จะทำให้เกรดของเราลดสุด ๆ แนะนำให้จดทุกใจความสำคัญที่อาจารย์สอน เพราะ เวลาใกล้สอบ จะได้มีเอาไว้อ่านทบทวนตอนสอบ ลำบากหน่อย แต่อย่าขี้เกียจนะคะ…

นาย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

รมต.ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เล็งจัดการงบประมาณ 490,000 ให้เกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่า

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเกือบ 490,000 ล้านบาทให้กระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดในปีนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษานาย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เชื่อว่าเขาสามารถสร้างความแตกต่างกับเงินนั้น ด้วยการจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเขาเชื่อมั่นว่าจะทำตามสัญญาที่ให้ไว้ว่าเรื่องดังที่วางแผนไว้จะเป็นจริง คำมั่นสัญญานั้นเกี่ยวข้องกับภารกิจงานสามอย่างที่ท้าท้ายก็คือ การปิดช่องว่างของผลการเรียนระหว่างนักเรียนหัวกะทิและนักเรียนด้อยโอกาส, ลดภาระงานของครูและทำให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในแรงงานศตวรรษที่ 21 มากขึ้น รมต.ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เชื่อมั่นในการจัดการด้านการศึกษา รมต.ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ กล่าวต่อ bangkok post ว่าประเด็นสำคัญคือเราบริหารเงินกันไม่เป็น การใช้จ่ายด้านการศึกษาของรัฐมีค่าใช้จ่ายสูง – ประมาณ 20% ของงบประมาณประจำชาติหรือ แต่มันไม่ใช่ปัญหาใหญ่ปัญหาใหญ่คือเรามีการบริหารเงินกันอย่างไรมากกว่า มี GDP เพียง 4 เปอร์เซ็นต์ที่นำเข้าสู่กระบวนการศึกษา ปัญหาอีกประการคืองบประมาณของเราไม่ยืดหยุ่นตัวอย่างเช่นเงินเดือนครูและจำนวนเงินที่จัดสรรให้โรงเรียนทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน ที่มีการจำกัดจำนวนเงินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ด้วยเหตุนี้ตัวแทนของเราจึงใช้เงินที่ได้รับมาในชีวิตประจำวันและเกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพน้อยมาก ผมต้องการที่จะเข้าใจปัญหาในระดับรากหญ้าและผมก็เข้าใจปัญหามากขึ้นจากการลงไปดูงานครั้งนี้ และเชื่อว่าปัญหาในภาคการศึกษาเกิดจากการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพมากกว่าขาดเรื่องของทรัพยากร รมต.ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ กล่าวว่าเขาได้เข้าไปปรับปรุงหลายด้านเท่าที่จะสามารถปรับปรุงได้และด้วยความรู้ทางธุรกิจ เชื่อว่าเขาสามารถปรับปรุงวิธีการที่กระทรวงใช้งบประมาณเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ของภาคการศึกษายกตัวอย่างเงินที่กระทรวงใช้จ่ายทุก ๆ ปีเพื่อให้ทุนแก่โครงการฝึกอบรมครูในปัจจุบัน” เขากล่าว ในแต่ละปีเราจัดสัมมนาฝึกอบรมสำหรับครูทั่วประเทศและเราต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายของที่พักและการเดินทางซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายอาจลดลงหากเราใช้เทคโนโลยีเช่น Facebook Live…

มหิดล เปิดตัว makerspace สตูดิโอสำหรับงาน innovation

มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว makerspace สตูดิโอสำหรับงาน innovation

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดตัว “makerspace” หรือพื้นที่ทำงานร่วมกันในมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษานวัตกรรมและเพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาและขยายตัวของผู้ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ makerspace มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะคณะวิศวกรรมศาสตร์กล่าวว่า makerspace หรือพื้นที่ทำงานร่วมกัน เป็นพื้นที่ให้นักศึกษาได้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาริเริ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ยังกล่าวต่อว่า Innogineer Studio จะให้สภาพแวดล้อมที่มีชีวิตชีวาสำหรับนักศึกษา,ศิษย์เก่าและสมาชิกในการพัฒนาและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด โดย makerspace ตั้งอยู่ใจกลางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สตูดิโอที่สร้างนี้มีมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท เพื่อเปิดเป็นสถานที่ใหม่ที่ช่วยเหลือที่เปลี่ยนแปลงนักศึกษาจากนักประดิษฐ์กลายมาเป็นพ่อค้าผู้ประกอบการในอนาคตโรงงานแห่งนี้มีห้องปฏิบัติการที่มีอุปกรณ์ครบครัน พื้นที่ทำงานร่วมกัน และพื้นที่อื่น ๆ ที่นักประดิษฐ์สามารถนำเสนอผลงานล่าสุดของตัวเอง ที่สำคัญที่สุดคือ incubator ที่นำความคิดของพวกเขาออกมาใช้งานในโลกความเป็นจริง เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากล่าวว่าสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนาที่ makerspace – Innogineer Studio นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ชื่อว่า ฝึกฝน และเดินดี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตสามารถเคลื่อนไหว ได้ฝึกฝน เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น การทดลองเบื้องต้นมันมาจากการสังเกตพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เพียงแค่ผู้ป่วยขยับมือมันจะช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุได้โดยดูจากหน้าจอที่ปรากฏ ในขณะเดียวกัน เดินดี…

4 คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ น่าเรียนสำหรับน้องๆที่อยากเรียนสายสุขภาพ

           เชื่อไหมคะว่าจริง ๆ สายสุขภาพที่น่าเรียนนั้นไม่ได้มีแค่ หมอ อย่างที่หลาย ๆ คนคิดว่าถ้าจะเรียนในคณะสายสุขภาพนั้นต้องเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ หรือ ไม่ก็คณะแพทยศาสตร์เท่านั้น สถานที่จริงแล้วสายสุขภาพนั้นกว้างกว่าที่หลายคนคิด ไม่ว่าจะเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์ หรือคณะสหเวชศาสตร์ มันก็แตกต่างกันไปอีก แต่เพียงแค่อยู่ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้นเอง วันนี้เราจึงขอ  4  คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ น่าเรียน มาให้น้อง ๆ ที่กำลังจะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ตัดสินใจในการเลือกเรียนสายสุขภาพ รวม 4  คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพน่าเรียน  1 .คณะสาธารณสุขศาสตร์ – คณะสาธารณสุขศาสตร์นั้นจริง ๆ หลายคนคิดว่าเรียนแค่สาธารณสุข ไม่สามารถรักษาคนได้ ซึ่งอันที่จริงคณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขายอดฮิตเลยก็คือ สาขาอนามัยชุมชน คือน้องเรียนจบแล้วหรือฝึกงานจะสามารถไปฝึกงานที่อนามัยใกล้บ้านก็ได้ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และคอยรักษาอาการเบื้องต้นให้กับผู้ป่วย แต่จริง ๆ คณะสาธารณสุขศาสตร์นั้นก็มีหลากหลายสาขาออกไป แต่ก็ยังอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ความก้าวหน้าทางอาชีพก็ดี สามารถไปต่อยอดได้  2 .คณะพยาบาลศาสตร์ – คณะยอดฮิตของเด็กผู้หญิงหลายคนที่ใฝ่ฝันอยากจะเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ เพื่อเป็นพยาบาล การเป็นพยาบาลนั้นให้อะไรกว่าที่คุณคิดเยอะ คุณควรถามตัวเองว่า คุณชอบและรักที่จะเป็นพยาบาลจริง…

รวม เทคนิคการจำตารางธาตุ

เทคนิคการจำตารางธาตุ แบบง่ายๆกับการเรียนสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

          ตารางธาตุก็เป็นอีกความรู้หนึ่ง ที่หากใครได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ก็จะต้องรู้จักและคุ้นเคยกับตารางธาตุ หลายคนคงปวดหัวอยู่กับการจำตารางธาตุ ข้อตารางธาตุนั้นมีเยอะมากไม่ว่าจะเป็นทั้งหมู่ A และหมู่ B  ประกอบไปด้วยธาตุหลักหลายชนิด บางทีหินมากนอกจากจะต้องจำชื่อธาตุ แล้วยังจะต้องจำเลขอะตอมอีกด้วย จริง ๆ การเข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ก็ควรจะเป็นคนที่มีความจำดี และ ชอบในด้านนี้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นบทความนี้จะเป็นบทความที่น่าสนใจมาก แนะนำ เทคนิคการจำตารางธาตุ ที่ไม่ปวดหัวอีกต่อไป เทคนิคการจำตารางธาตุแบบง่ายๆ          ด้วยการแบ่งเป็นหมวดหมู่ – อันนี้ต้องขอบอกก่อนนะคะ ถ้าน้อง ๆ ที่คุ้นเคยกับการท่องจำตารางธาตุ น้องอาจจะรู้ว่าตารางธาตุนั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนก็คือหมู่ A และหมู่ B  คือตั้งแต่ฝั่งซ้ายของตารางธาตุและฝั่งขวาจะเรียกว่าหมู่ A  ส่วนตรงกลางด้านล่างจะเรียกว่าหมู่ B  ทีนี้น้อง ๆ ต้องใช้ เทคนิคการจำตารางธาตุ ว่าเราจะต้องแบ่งเป็นหมวดหมู่ในการจำ โดยน้องอาจแบ่งได้ว่า จะใช้เวลาในการจำหมู่ A ใน 2…

9 วิชาสามัญ-มีอะไรบ้าง

เจาะลึก 9 วิชาสามัญ คืออะไร แล้วมีอะไรบ้าง ?

          น้อง ๆ ระดับมัธยมศึกษาหลายคนคงยังไม่ได้หาข้อมูลเรื่อง 9 วิชาสามัญกันสักเท่าไหร่ จึงไม่รู้ว่า 9 วิชาสามัญนั้นคืออะไร แล้วมีอะไรบ้าง ? แล้วมีความจำเป็นต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างไร เราจำเป็นต้องอ่านหนังสือทั้ง 9 วิชาเพื่อไปสอบเอาคะแนนไปทำอะไร ข้อสงสัยนี้เรามีคำตอบค่ะ วันนี้เราจะมาเจาะลึก 9 วิชาสามัญคืออะไร และมีอะไรบ้าง ฉบับจัดเต็ม ให้น้อง ๆ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ มีเวลาที่จะอ่านหนังสือเตรียมตัวเพื่อที่จะสอบ 9 วิชาสามัญ ในปีที่จะถึงนี้  9 วิชาสามัญคืออะไร             9 วิชาสามัญ นั้นคือวิชาที่น้องน้องในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6  จะต้องสอบทุกคน เพื่อที่จะนำคะแนนไปยื่นเพื่อขอเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่มหาวิทยาลัยในประเทศไทย บางมหาวิทยาลัยก็อาจจะต้องใช้คะแนนสอบ 9 วิชาสามัญแต่บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ต้องใช้ซึ่งน้องจะไม่สอบก็ได้ และ 9 วิชานั้นจัดสอบโดย สทศ หรือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์กรเดียวกับการสอบโอเน็ตนั่นเอง…