หนังสือ

การอ่านจับใจความ สิ่งสำคัญในการอ่านหนังสือ

การอ่านจับใจความ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง มาดูกัน!

นักเรียน  นักศึกษาหลายคนรู้วิธีอ่านจับใจความว่าต้องทำอย่างไร  แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า การอ่านจับใจความ แท้จริงคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง  ดังนั้นตามมาทำความเข้าใจกันเถอะ…  การอ่านจับใจความ คืออะไร? ก่อนอื่นต้องมองความจริงก่อนว่าในหนังสือหรือตำราวิชาการอะไรก็แล้วแต่  ไม่ใช่ทุกบรรทัดทุกตัวอักษรจะสำคัญเท่าเทียมกัน  เพราะผู้เขียนมีสิ่งสำคัญที่อยากจะบอกและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่อยากจะอธิบายนั่นเอง  ดังนั้นการอ่านข้อความหรือหนังสือสักเล่ม  ผู้อ่านต้องกลั่นกรองให้ได้ว่าสิ่งใดสำคัญโดยใช้วิธีการอ่านจับใจความที่มุ่งหาสาระหรือใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง  ซึ่งทำให้ทราบว่าที่เหลือเป็นใจความรองและรายละเอียดต่างๆ  ขออธิบายเสริม  ดังนี้  1.  ใจความสำคัญ  คือ  แก่นของแต่ละย่อหน้า  ซึ่งแต่ละย่อหน้ามักมีใจความสำคัญประมาณ  1  –  2  ใจความ  โดยใจความสำคัญจะมีลักษณะ  ดังนี้ –  สั้นกระชับ  –  สามารถเป็นประโยคเดี่ยวๆ ได้เลย –  สามารถเป็นหัวข้อในแต่ละย่อหน้าได้  –  ไม่จำเป็นต้องมีประโยคอื่นเสริมหรือประกอบก็เข้าใจได้ 2.  ใจความรอง  (พลความ)  คือ  ส่วนที่ช่วยขยายหรือสนับสนุนให้ใจความสำคัญมีความชัดเจนและเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  ได้แก่  การเปรียบเทียบเปรียบเปรย  การอธิบายเหตุผล  การให้คำจำกัดความ  และการยกตัวอย่างประกอบ  (ซึ่งเราอาจไม่จำเป็นต้องใส่ใจหากมีเวลาอ่านน้อยหรือต้องการทราบเนื้อหาสำคัญเพียงคร่าวๆ) 3.  รายละเอียด  คือ …

เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ อ่านให้เก่ง

เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ เหมาะกับเด็กนักเรียนนักศึกษา ที่อยากเก่งไว ๆ

การอ่านหนังสือให้เก่ง ไม่ใช่ว่าแค่อ่านเฉย ๆ ไปเรื่อย ๆ เท่านั้น แต่คุณต้องรู้จักเรียนรู้เทคนิคการอ่านหนังสือด้วย เพื่อให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะหนังสือเรียน ตำรา หนังสืออ่านเล่น หรือสารต่าง ๆ คุณจึงจะสามารถรับข้อมูลได้มาก จดจำได้อย่างแม่นยำ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ซึ่ง เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ นั้นก็ไม่ได้ยากเย็นเลย เพียงแต่ต้องนำไปใช้อย่างจริงจังจึงจะเห็นผลชัดเจน แนะนำ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพชวนคนอื่นมาอ่านด้วย จะเป็นนักอ่านขั้นเทพได้ คุณก็ควรชักชวนให้คนรอบข้างหันมาชอบการอ่านหนังสืออย่างคุณด้วย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณ เต็มไปด้วยคนที่รักการอ่าน เช่น -ควรชวนพ่อแม่พี่น้อง หรือคนในครอบครัวให้หันมาอ่านหนังสือกันด้วย ยิ่งถ้าอ่านได้ทั้งบ้านก็จะทำให้เกิดบรรยากาศการอ่านที่ดี มีแต่จะชักชวนกันอ่าน และให้กำลังใจกันจนทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น นอกจากนี้ยังถือเป็นกิจกรรมสำหรับครอบครัวที่ดีด้วย -ชวนเพื่อให้อ่านหนังสือด้วย ได้ความรู้ ได้ฝึกนิสัยรักการอ่าน และดีกว่าไปทำเรื่องไม่ดี -ชวนคนที่อ่านหนังสือไม่เก่ง คุณจะได้ช่วยสอนเขา และช่วยฝึกฝนทักษะการอธิบายไปด้วย เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพต้องรู้จักอ่านในใจ นักอ่านขั้นเทพควรฝึกการอ่านในใจ แต่ต้องไม่ทำปากขมุบขมิบ ไม่ใช้นิ้วหรือปากกาจิ้มไปที่ตัวหนังสือทีละคำแบบเด็ก ๆ ซึ่งการแบบเด็กที่ต้องห้ามนี้ จะทำให้เกิดผลเสียคือ ทำให้ใจจดจ่อกับตัวหนังสือมากกว่าสารหรือข้อมูลในหนังสือ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพอย่าอ่านทุกคำ…

แมงมุมเพื่อนรัก (Charlotte’s Web) วรรณกรรมเยาวชน หนังสืออ่านนอกเวลา

แมงมุมเพื่อนรัก (Charlotte’s Web) วรรณกรรมเยาวชน หนังสืออ่านนอกเวลา

วรรณกรรมเรื่องแมงมุมเพื่อนรัก ได้รับการตีพิมพ์เกินกว่าถึง 45 ล้านเล่ม และยังมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 23 ภาษา  นอกจากนี้วรรณกรรมเรื่อง แมงมุมเพื่อนรัก ยังได้รับรางวัลนิวเบอรี่ (The Newberry Medal) ซึ่งถือเป็นรางวัลออสการ์แห่งวงการวรรณกรรมเยาวชนเหรียญเงิน (Honor) และทางนิตยสาร TIME นิตยสารระดับโลกฉบับก็ได้ยกย่องให้เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ดีที่สุดในศตวรรษ (ปี 1999) เรื่องย่อวรรณกรรมเรื่อง แมงมุมเพื่อนรัก ตัวละครเอกของเรื่องแมงมุมเพื่อนรักคือแม่แมงมุมที่ชื่อ “ชาร์ล็อต” ซึ่งเธอได้ช่วยชีวิตลูกหมูชื่อว่า “วิลเบอร์” เพื่อไม่ให้เจ้าหมูถูกฆ่าเป็นอาหาร โดยการออกอุบายเพื่อทำให้เจ้าหมูกลายเป็นเจ้าหมูวิเศษ ซึ่งชาร์ล็อตได้ชักใยเป็นตัวอักษรว่า “หมูพิเศษ” เมื่อชาวบ้านมาเห็นจึงตกใจและลือกันไปทั่วว่าเจ้าหมูนี้เป็นหมูมหัศจรรย์ นี่เองจึงทำให้มันรอดจากการกลายเป็นเบคอน และทั้งสองก็ได้สานสัมพันธ์เป็นเพื่อนกันเรื่อยมา  และพบเจอกับประสบการณ์การผจญภัยต่าง ๆ จนใกล้วาระสุดท้ายของแมงมุมอย่างชาร์ล็อต ที่แม้ว่าเจ้าหมูจะเอาแต่บอกว่าเขาไม่เคยทำอะไรเพื่อชาร์ล็อตเลย แต่ชาร์ล็อตกลับบอกว่าสิ่งที่เธอต้องการไม่ใช่สิ่งใดเลยนอกจากมิตรภาพดี ๆ ที่เจ้าหมูมอบให้เธอ และเมื่อถึงวันที่ชาร์ล็อตจากไปตามอายุขัย เจ้าหมูก็เศร้ามาก แต่มันก็ไม่ได้เศร้านานนัก เพราะชาร์ล็อตได้ทิ้งลูก ๆ ของเธอให้เป็นเพื่อนกับเจ้าหมูน้อยนั่นเอง ข้อคิดที่ได้จากวรรณกรรมเรื่องแมงมุมเพื่อนรัก -มิตรภาพระหว่างเพื่อนคือสิ่งสวยงามที่เราควรรักษาให้ยืนยาวต่อไป…

วินนีเดอะพูห์ (Winnie the Pooh) วรรณกรรมเยาวชน อบอุ่นหัวใจ สะท้อนแนวคิดแบบเด็ก ๆ ที่ตัวละครสร้างจากชีวิตจริง

วินนีเดอะพูห์ (Winnie the Pooh) วรรณกรรมเยาวชน อบอุ่นหัวใจ

ผู้เขียนเรื่องวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง วินนีเดอะพูห์ Winnie the Pooh คือ เอ.เอ. มิลน์ (A.A. Milne) ผู้ซึ่งนำตัวละครมาจากชีวิตจริงของเขา โดยเขาได้นำชื่อลูกชายคือ คริสโตเฟอร์ โรบิน มาเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นมนุษย์เพียงคนเดียวในเรื่อง และนำคาแรกเตอร์หมีพูห์มาจากหมีชื่อดังในกองทัพที่ได้รับตัวมาอยู่ในสวนสัตว์ และต่อมาเมื่อคริสโตเฟอร์ โรบิน เห็นเจ้าหมีตัวจริงที่สวนสัตว์ ก็เลยเกิดแรงบันดาลใจจนเปลี่ยนชื่อตุ๊กตาของตนมาเป็นชื่อ “วินนี” ส่วนคาแรกเตอร์บรรดาสัตว์อื่น ๆ ในป่าก็ได้จากตุ๊กตาของลูกชายเขานั่นเอง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าแม้วรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้จะอบอุ่นหัวใจสักเพียงใด แต่ในชีวิตจริงของผู้เขียน ความสัมพันธ์ของเขากับลูกชายไม่สู้จะดีนัก เพราะคริสโตเฟอร์ โรบินในชีวิตจริงไม่ได้มีความสุขกับชื่อเสียงที่ได้จากพ่อของเขา และตัวพ่อเขาเองก็เป็นคนค่อนข้างเย็นชา ไม่ได้สนิทสนมกับลูกหรือให้เวลาครอบครัวเท่าที่ควร เรื่องย่อ วรรณกรรมเยาวชน ที่มาจากชีวิตจริง วินนีเดอะพูห์ ตัวละครหลักของเรื่องวินนีเดอะพูห์คือหมีพูห์ ที่มีนิสัยใสชื่อ ไร้เดียงสา ชอบคิดอะไรแปลก ๆ แก้ปัญหาด้วยวิธีการแบบเด็ก ๆ ขณะที่พิกเล็กหมูน้อยก็ขี้กลัว คอยตามหลังหมีพูห์แจ แต่ก็มีความน่ารักสดใส จะมีความเชื่อมั่นต่อเมื่อมีพูห์อยู่ใกล้ ๆ ทิกเกอร์เจ้าเสือผู้ชอบกระโดดโลดเต้น ขี้อวด…

ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนไหนของหนังสือต้องอ่านให้จำ เน้นย้ำเป็นพิเศษ

ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนไหนของหนังสือต้องอ่านให้จำ เน้นย้ำเป็นพิเศษ

ในการอ่านหนังสือสักเล่มโดยเฉพาะหนังสือเรียน ตำรา หรือหนังสือสอบ อย่างน้อยเราก็ควรจดจำส่วนต่าง ๆ ของหนังสือเล่มนั้นได้เป็นอย่างดี แต่จะมีบางส่วนที่จะต้องจำโดยใช้เทคนิคการอ่านหนังสือที่พิเศษสักหน่อย เพื่อทำให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพ อ่านแล้วไม่ใช่แค่จำได้ แต่เข้าใจอย่างแท้จริง  เราควรรู้ถึง ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ กันก่อน เพื่อการอ่านหนังสือ จะได้มีประสิทธิภาพ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนแรกคือ หัวเรื่อง หัวข้อ หรือพาดหัวของหนังสือ การจดจำหัวเรื่องหรือหัวข้อในหนังสือให้ได้นั้น จะช่วยให้เมื่อต้องทำสอบ เราจะนึกออกได้ทันทีว่าคำตอบที่เราต้องการอยู่ในหัวข้อนั้น ๆ ช่วยให้ความคิดของเราไม่กระจัดกระจาย สามารถตอบได้ตรงจุด ตรงคำถามมากขึ้น ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนที่สองคือ เนื้อหาของหนังสือ   เนื้อหาหรือข้อมูลในหนังสือทั่วไปเป็นส่วนที่มีปริมาณมากที่สุด แน่นอนว่าการจำทั้งหมดย่อมเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะกับตำราเล่มหนาปึ้ก ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักเลือกจำบางอย่าง ปล่อยผ่านบางอย่าง โดยการคาดเดาจากอาจารย์ที่สอน ว่าท่านเน้นย้ำเนื้อหาใดเป็นพิเศษ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนที่สามคือ ใจความสำคัญ หรือ main…

ทักษะการอ่าน ของคุณอยู่ระดับใด อยู่ในขั้นไหน ถ้าอยากรู้มาดูกัน

ทักษะการอ่าน ของคุณอยู่ระดับใด อยู่ในขั้นไหน ถ้าอยากรู้มาดูกัน

ใคร ๆ ก็อ่านหนังสือได้ แต่เราอยากจะเป็นคนที่อ่านได้แบบไหนกันล่ะ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ที่มีความจำเป็นจะต้องอ่านหนังสือ ให้มาก และอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าตนเองมีทักษะในการอ่านระดับใด ก็จะช่วยให้รู้ตัว ประเมินความสามารถของตนได้ และนำไปใช้พัฒนาปรับปรุง ทักษะการอ่าน ต่อไป ทักษะการอ่าน ของแต่ละคนมี 4 ระดับ ดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับพื้นฐาน : คนที่อ่านออก คือคนที่อ่านหนังสือแบบอ่านออก สะกดคำเป็น อ่านออกเสียถูก อ่านแล้วไม่ค่อยมีผิด แต่เป็นแค่ในระดับที่เพียงแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แม้จะสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในระดับลึก ๆ ได้ คล้าย ๆ กับการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมต้น ทักษะการอ่าน ระดับพอใช้ : คนที่อ่านแล้วเข้าใจ คือคนที่นอกจากจะอ่านได้ไม่มีผิดแล้ว ก็ยังเข้าใจรูปประโยคของสิ่งที่อ่านด้วย รวมทั้งยังพอสรุปใจความสำคัญ หรือย่อความได้ด้วย  และแม้จะพอวิเคราะห์ได้แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมปลายและมัธยมต้น ทักษะการอ่าน ระดับดี : คนที่อ่านแล้วรู้จักคิดวิเคาระห์…

ผลสำรวจ สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ ของเด็กในช่วงอายุ 6-14 ปี

ผลสำรวจ สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ ของเด็กในช่วงอายุ 6-14 ปี

กลุ่มเด็กในช่วงวัย 6-14 ปี นับว่าอยู่ในช่วงของการเรียนรู้สิ่งต่างๆในระดับพื้นฐาน ก่อนที่จะถูกต่อยอดหลังจากนั้น ทำให้การอ่านหนังสือของเด็ก ก็มีความสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเหล่านี้เติบโตไปแบบมีคุณภาพ  แต่ถึงกระนั้นในโลกที่มีเทคโนโลยี และสิ่งเร้าเกิดขึ้นมากมาย ทำให้เด็กในช่วงวัยนี้หันเหไปยังสิ่งอื่นที่ไม่ใช่การอ่านหนังสือ ซึ่งจะมี สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ อะไรบ้างเราไปดูกัน สรุปผลสำรวจ สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ 8.9% สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ เพราะชอบเล่นเกม หากจะว่าไปเกมก็มีข้อดีอยู่ในตัว เพราะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ แต่ต้องมีการแบ่งเวลาที่เป็นสัดส่วนและเหมาะสม ซึ่งหากเอนเอียงไปทางเล่นเกมจนละเลยการอ่านหนังสือ ก็ย่อมไม่เป็นผลดีต่อตัวเด็กที่อาจส่งผลถึงการเรียนให้ต่ำกว่ามาตรฐานลง   17.9% ไม่ชอบ ในส่วนนี้อาจจะไม่ใช่กลุ่มที่ต้องกังวล เพราะในบางครั้งเด็กเหล่านี้เจอหนังสือที่ไม่ถูกใจ หรือไม่ตรงกับความชื่นชอบของตัวเอง ฉะนั้นในส่วนนี้หากเสริมจิตวิทยาแก่เด็กให้รู้จักคิดและค้นหาตัวตน อาจทำให้เด็กรู้จักตัวเองและรู้ว่าตัวเองชอบอะไร แล้วหลังจากนั้นตัวเด็กจะเป็นฝ่ายออกไปตามหาหนังสือในเรื่องที่เขาชื่นชอบ 26.7% ชอบดูโทรทัศน์ เป็นเรื่องปกติที่ทุกบ้านต้องมีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผู้ปกครองต้องกวดขันคือ ประเภทของรายการที่ดูและระยะเวลาในการรับชมต่อครั้ง เพื่อให้การดูโทรทัศน์เกิดประโยชน์และได้ความผ่อนคลาย มิใช่จนทำให้เป็น สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ เพราะหมดเวลาไปกับมันจนมากเกินไป กระทั่งส่งผลเสียต่อตัวเด็ก   35.6% อ่านไม่คล่อง ยังถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะภาษาไทยมีขั้นตอนการเรียนที่ซับซ้อน ฉะนั้นนอกเหนือจากการเรียนในห้อง ผู้ปกครองต้องทำหน้าเรื่องที่เป็นผู้ช่วยครูอีกทีหนึ่ง ด้วยการให้เด็กเริ่มอ่านจากสิ่งที่ชอบบ่อยๆ…

How to อ่านหนังสือ อย่างไร…ให้เข้าสมองใน 7 วัน

How to อ่านหนังสือ อย่างไร ? … ให้เข้าสมองได้ใน 7 วัน

               เบื่อกันไหม…? ท่องตำราเท่าไหร่ก็ไม่เข้าสมองสักที เชื่อว่าปัญหาการท่องหนังสือแล้วไม่เข้าใจนั้นทุกคนต้องเคยพบเจอมาอย่างแน่นอน ยิ่งในช่วงสอบอ่านดึกดื่นขนาดไหน สุดท้ายก็จำไม่ได้สักอย่าง! ดื่มเครื่องดื่มบำรุงสมองก็ไม่เห็นผลต้องทำอย่างไร บทความนี้มี 5 เทคนิคดี ๆ อ่านหนังสือ ให้เข้าใจเข้าสมองได้ใน  7 วัน โดยที่ไม่หักโหมจนเกินไป ดังนี้ เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ให้เข้าสมอง ทำแผนการอ่านเนื้อหาสาระที่จะสอบล่วงหน้า  7 วัน ซึ่งการสอบจะสอบติดกันบางโรงเรียน 3 วันเลย ดังนั้นทุกคนต้องวางแผนว่าจะอ่านวิชาใดก่อน – หลัง แต่ละวิชามีเนื้อหามากหรือน้อยเพียงใด แล้วจัดการแบ่งเวลาให้พอเหมาะ ไม่อ่านเนื้อหาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากทุกคน อ่านหนังสือแล้วรู้สึกล้าก็ไม่ควรฟื้นร่างกายควรพักแล้วค่อยเริ่มอ่านใหม่ เพราะการฟื้นร่างกายสมองก็ไม่รับความรู้และยังเป็นการยืดเวลาสมองตันไปอีกจะดีที่สุด หากหยุดพักแล้วกลับมาอ่านใหม่ อ่านเนื้อหา 35 นาที พัก 5 นาที ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้การอ่านดีขึ้นและอ่านได้นานขึ้นด้วย เพราะจากการวิจัยคนปกติส่วนมากให้ความสนใจกับสิ่ง ๆ หนึ่งได้มากสุดราว 30 นาที ดังนั้นการอ่านหนังสือในช่วงเวลา 35…

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

               ความขยันก็พอมี ความตั้งใจก็เต็มเปี่ยม แต่พอหยิบหนังสือมาอ่านทีไรมันก็เบื่อหน่ายทุกที เพราะ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เลย ขนาดเป็นวิชาที่ใครๆ ก็บอกว่าค่อนข้างง่าย แต่เราอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ต้องวนกลับมาอ่านจุดเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เสียเวลามาก ยิ่งไปกว่านั้น หลายครั้งการอ่านซ้ำที่เดิมก็เพิ่มเติมความสับสนให้เรามากขึ้นอีก แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว มาสังเกตกันดูสิว่า เรามีปัญหาตรงจุดไหนใน 3 สาเหตุนี้บ้าง จะได้แก้ไขถูกจุด อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไรบ้าง ? 1. ไม่มีสมาธิในการอ่าน             นี่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ที่เด็กหลายคนเป็นกัน คือไม่มีสมาธิในระหว่างที่อ่าน ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง จับต้นชนปลายไม่ถูก เหมือนกับว่ากวาดสายตาผ่านตัวอักษรไปแบบนั้นเอง ทางแก้ก็คือ ก่อนเริ่มอ่านหนังสือให้นั่งอยู่นิ่งๆ เพื่อปรับความคิดก่อน อย่าเล่นมือถือหรือดูโทรทัศน์เสร็จก็มาอ่านเลย ต้องทำสมาธิให้หัวโล่งๆ ก่อนประมาณ 10-15 นาที รับรองว่าจะอ่านเข้าใจมากขึ้นแน่นอน 2. บรรยากาศไม่เหมาะสม             ต่อให้เป็นคนสมาธิดีแค่ไหน แต่ถ้าไปนั่งอ่านในตลาดสดก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อยก็ดึงความสนใจจนเรา อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ได้…

การอ่านหนังสือ ขึ้นอยู่กับความชอบ และความสนใจ ของแต่ละคน

การอ่านหนังสือ ขึ้นอยู่กับความชอบ และความสนใจ ของแต่ละคน

การอ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่เราต้องทำกันตั้งแต่ตอนที่เรายังเรียนอยู่ในโรงเรียน ซึ่งช่วงเวลาที่เราอ่านหนังสือมากที่สุดก็จะเป็นช่วงเวลาก่อนสอบเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ เพื่อที่จะเตรียมตัวกับการสอบที่จะมาถึงการทบทวนเนื้อหาต่างๆในหนังสือถือเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่หลังจากที่เราเรียนหนังสือจบมาแล้วไม่ว่าจะเป็นในระดับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นเชื่อว่าหลายๆคนร้านอ่านหนังสือน้อยลงอย่างแน่นอน การอ่านหนังสือ จะยากหรือง่าย อยู่ที่ความชอบ การอ่านหนังสือ เป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆคนจริงๆนะสำหรับผู้เขียนก็เช่นเดียวกันสมัยที่เรียนหนังสืออยู่ การอ่านหนังสือนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะเกิดขึ้นเพราะว่าเพียงแค่หยิบหนังสือขึ้นมาเปิดหนังสืออ่านเพียงแค่ 2-3 หน้าก็เหมือนยานอนหลับ พอเริ่มอ่านไปได้เพียงแค่สักพักเดียวหนังสือก็ตกใส่หัวซะแล้ว เรียกแล้วว่าอ่านไม่นานก็ง่วงเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า และเหตุการณ์ที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้ก็คงจะเกิดกับใครหลายคนเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยเคยมีการทำวิจัยมาแล้วว่าคนไทยอ่านหนังสือจำนวนน้อยมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการนำโซเชียลมีเดียเข้ามาในประเทศทำให้การอ่านหนังสือยิ่งน้อยลงไปอีก จริง ๆ แล้วการอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องที่ยากมากมายอะไร เพียงแค่เราได้อ่านหนังสือที่เราไม่ได้ชอบเพียงแค่นั้นเอง สมัยเรียนอยู่คงมีเพื่อนๆของผู้อ่านหลายคนอ่านหนังสือนิยายเป็นเล่ม ๆ โดยที่ไม่รู้สึกเบื่อ พอถึงเวลาว่างก็จะหยิบหนังสือนิยายขึ้นมาอ่าน ใช่แล้วครับสิ่งที่ผู้เขียนกำลังจะบอกก็คือการอ่านหนังสือเรียนนั้นเป็นสิ่งที่นักเรียนไม่ชอบแต่ถ้านักเรียนได้มาอ่านหนังสือที่ตัวเองชอบอย่างหนังสือนิยายก็จะสามารถอ่านจบภายในระยะเวลาอันรวดเร็วแถมยังจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำอีกด้วย สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เรียกว่าความสนใจของแต่ละคน หากว่าสนใจในสิ่งไหนสิ่งนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้จดจำรายละเอียดได้ดียิ่งขึ้น  พอผู้เขียนได้มาเขียนบทความหรือว่า การอ่านหนังสือ นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องของความชอบมากกว่า หากว่าได้อ่านหนังสือเล่มที่ชอบแม้หนังสือจะยาวขนาดไหนก็อ่านมันทุกหน้า แต่เมื่อเป็นหนังสือที่ไม่ได้ชอบแค่บทนำก็ยังไม่อยากอ่านเลย  ย้อนกลับสมัยที่เรียนหนังสือสาเหตุที่เราไม่ได้ชอบอ่านหนังสือเรียนก็คงจะเป็นเพราะว่ามันไม่ได้มีความน่าสนใจในหนังสือเรียนมากเท่าไหร่ ถ้าหากว่ามีการปรับเปลี่ยนให้มีเนื้อหาที่ได้รับความสนใจจากนักเรียนแล้วการอ่านหนังสือก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าสนุกน่าดู  ติดตามบทความ การศีกษา เคล็ดลับการอ่านหนังสือ การสอบ ข่าวการศึกษา ได้ที่นี้ แนะนำ เทคนิคการอ่านหนังสือ อ่านยังไงให้สอบผ่านฉลุยทุกวิชา