Month: December 2020

ส่องเคล็ดไม่ลับ! กับ 5 วิธีเพิ่มเกรด 3.5+ ง่าย ๆ ฉบับคนขี้เกียจ

ส่องเคล็ดไม่ลับ! กับ 5 วิธีเพิ่มเกรด 3.5+ ง่าย ๆ ฉบับคนขี้เกียจ

               เนื่องจากในปัจจุบันทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า “การศึกษา” ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการประกอบอาชีพ นักเรียนนักศึกษาในประเทศไทยใช้เวลากว่า 8 ชั่วโมงในการเล่าเรียนเพื่อนำความรู้ไปต่อยอดในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป ทว่านักเรียนนักศึกษาหลายคนทุ่มเททั้งพลังกายพลังใจแต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่เป็นอย่างหวัง ผลการเรียนตก! เครียด! จะเพิ่มเกรดอย่างไร…? บทความนี้มี วิธีเพิ่มเกรด 3.5+ ง่าย ๆ ฉบับคนขี้เกียจมาแนะนำ แนะนำ วิธีเพิ่มเกรด 3.5+แบบง่าย ๆ ตั้งใจเรียนในห้องเรียน เป็นวิธีเพิ่มเกรด 3.5+แบบง่ายๆ ด้วยการฟังคุณครูสอนมาก ๆ ในห้องสามารถทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่ต้องอ่านหนังสือหนัก ๆ ก่อนสอบก็เชื่อมโยงเนื้อหาถึงกันได้และยังเป็นความรู้ความเข้าใจที่ฝังแน่นในสมองที่คงทนมาก ๆ ทบทวนความรู้ การทบทวนความรู้ในที่นี่ คือ หากในเวลาเรียนทุกคนยังไม่เข้าใจอย่างถี่ถ้วนให้กลับมาอ่านหรือทำโจทย์ปัญหาทบทวนมาก ๆ และควรทำวันต่อวันทันที เพราะนักเรียนต้องเรียนหนังสือทุกวัน แต่ละวันมีการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรตั้งใจทบทวนแต่ละวันให้ครบ ส่งงานให้ครบทุกรายวิชา ต้องบอกก่อนว่าภาระงานแต่ละชิ้นทุกคนอย่ามองข้าม! โดยอัตราส่วนการเก็บคะแนนจะแบ่งเป็นการสอบ 50 คะแนน ภาระงาน 50 คะแนน หากทุกคนสามารถกวาดคะแนนภาระงานได้ครบถ้วน ตั้งใจสอบอีก 30…

How to อ่านหนังสือ อย่างไร…ให้เข้าสมองใน 7 วัน

How to อ่านหนังสือ อย่างไร ? … ให้เข้าสมองได้ใน 7 วัน

               เบื่อกันไหม…? ท่องตำราเท่าไหร่ก็ไม่เข้าสมองสักที เชื่อว่าปัญหาการท่องหนังสือแล้วไม่เข้าใจนั้นทุกคนต้องเคยพบเจอมาอย่างแน่นอน ยิ่งในช่วงสอบอ่านดึกดื่นขนาดไหน สุดท้ายก็จำไม่ได้สักอย่าง! ดื่มเครื่องดื่มบำรุงสมองก็ไม่เห็นผลต้องทำอย่างไร บทความนี้มี 5 เทคนิคดี ๆ อ่านหนังสือ ให้เข้าใจเข้าสมองได้ใน  7 วัน โดยที่ไม่หักโหมจนเกินไป ดังนี้ เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ให้เข้าสมอง ทำแผนการอ่านเนื้อหาสาระที่จะสอบล่วงหน้า  7 วัน ซึ่งการสอบจะสอบติดกันบางโรงเรียน 3 วันเลย ดังนั้นทุกคนต้องวางแผนว่าจะอ่านวิชาใดก่อน – หลัง แต่ละวิชามีเนื้อหามากหรือน้อยเพียงใด แล้วจัดการแบ่งเวลาให้พอเหมาะ ไม่อ่านเนื้อหาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากทุกคน อ่านหนังสือแล้วรู้สึกล้าก็ไม่ควรฟื้นร่างกายควรพักแล้วค่อยเริ่มอ่านใหม่ เพราะการฟื้นร่างกายสมองก็ไม่รับความรู้และยังเป็นการยืดเวลาสมองตันไปอีกจะดีที่สุด หากหยุดพักแล้วกลับมาอ่านใหม่ อ่านเนื้อหา 35 นาที พัก 5 นาที ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้การอ่านดีขึ้นและอ่านได้นานขึ้นด้วย เพราะจากการวิจัยคนปกติส่วนมากให้ความสนใจกับสิ่ง ๆ หนึ่งได้มากสุดราว 30 นาที ดังนั้นการอ่านหนังสือในช่วงเวลา 35…

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

               ความขยันก็พอมี ความตั้งใจก็เต็มเปี่ยม แต่พอหยิบหนังสือมาอ่านทีไรมันก็เบื่อหน่ายทุกที เพราะ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เลย ขนาดเป็นวิชาที่ใครๆ ก็บอกว่าค่อนข้างง่าย แต่เราอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ต้องวนกลับมาอ่านจุดเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เสียเวลามาก ยิ่งไปกว่านั้น หลายครั้งการอ่านซ้ำที่เดิมก็เพิ่มเติมความสับสนให้เรามากขึ้นอีก แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว มาสังเกตกันดูสิว่า เรามีปัญหาตรงจุดไหนใน 3 สาเหตุนี้บ้าง จะได้แก้ไขถูกจุด อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไรบ้าง ? 1. ไม่มีสมาธิในการอ่าน             นี่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ที่เด็กหลายคนเป็นกัน คือไม่มีสมาธิในระหว่างที่อ่าน ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง จับต้นชนปลายไม่ถูก เหมือนกับว่ากวาดสายตาผ่านตัวอักษรไปแบบนั้นเอง ทางแก้ก็คือ ก่อนเริ่มอ่านหนังสือให้นั่งอยู่นิ่งๆ เพื่อปรับความคิดก่อน อย่าเล่นมือถือหรือดูโทรทัศน์เสร็จก็มาอ่านเลย ต้องทำสมาธิให้หัวโล่งๆ ก่อนประมาณ 10-15 นาที รับรองว่าจะอ่านเข้าใจมากขึ้นแน่นอน 2. บรรยากาศไม่เหมาะสม             ต่อให้เป็นคนสมาธิดีแค่ไหน แต่ถ้าไปนั่งอ่านในตลาดสดก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อยก็ดึงความสนใจจนเรา อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ได้…

How to ทำอย่างไร…? เราถึงจะสร้าง สมุดจดบันทึก น่าอ่านๆ ได้

How to ทำอย่างไร…? เราถึงจะสร้าง สมุดจดบันทึก ให้น่าอ่านๆ ได้

               ในวัยเรียนการมีสมุดบันทึกความรู้หรือสมุดสรุปแต่ละวิชาเป็นที่ยอดนิยมมาก ๆ เพราะสมุดบันทึกต่าง ๆ สามารถช่วยให้นักเรียนนักศึกษาหรือแม้แต่คนทำงานทั่วไปเข้าใจในเนื้อหาความรู้หรือภาระงานได้ง่ายดายด้วยเวลาอันสั้น แต่สมุดจดบันทึกไม่ใช่ทุกเล่มไปที่น่าอ่าน หลายคนคงเคยประสบปัญหาสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองแต่ไม่อยากอ่านเพราะสมุดดูไม่น่าสนใจเท่าไหร่… ยิ่งคนที่ไม่หัวด้านศิลปะเลยการตกแต่งให้สมุดบันทึกงดงามเป็นได้ยาก วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคสร้าง สมุดจดบันทึก ให้น่าอ่าน ดังนี้ รวบรวม เทคนิคสร้าง สมุดจดบันทึก ให้น่าอ่าน วาดกรอบหัวข้อให้น่ารัก การวาดกรอบใน สมุดจดบันทึก ที่หัวข้อให้ดูโดดเด่นสะดุดตาสามารถเพิ่มความสนใจในเนื้อหาได้เป็นอย่างดี ถ้าแต่งแต้มสีสันเข้าไปอีกสักหน่อย รับรองปัง! ของตกแต่งต้องครบ ของตกแต่งที่ว่าไม่จำเป็นต้องวดเองก็ได้นะคะ ใครไม่ถนัดด้านศิลปะแนะนำว่าซื้อสติ๊กเกอร์รูปภาพที่ตนเองชอบหรือเกี่ยวกับเนื้อหามาแปะตามกรอบหรือปิดช่องว่างให้พอดูสวยงาม ข้อควรระวัง คือ ห้ามติดของตกแต่งมากไปจนดูรกนะคะ จะดูไม่น่าอ่านนั้นเอง ทำสัญลักษณ์แต่ละหัวข้อย่อย การจดสรุป แน่นอน! มีหัวข้อหลังย่อมมีหัวข้อย่อย การทำให้หัวข้อย่อยเป็นที่สนใจควรมีการตกแต่งเล็กน้อยให้ดูเด่นขึ้นมา หัดวาดภาพ การทำ สมุดจดบันทึก ไม่ใช่ว่าทุกคนไม่มีความตึงเครียด ดังนั้นการได้วาดภาพระบายสีเองบนสมุดบันทึกสามารถผ่อนคลายอารมณ์เครียดลงได้แถมทุกตัวอักษรที่ลงมือเขียนเองจนถูกสมองจดจำได้ในระยะยาวอีกด้วย แต่ใด ๆ เลยนะคะ ไม่ว่าทุกคนจะตกแต่ง สมุดจดบันทึก สมุดสรุปวิชาดีขนาดไหน หากเนื้อหายังไม่วางเป็นระบบก็ไม่สามารถเพิ่มพูนความรู้ของทุกคนได้เช่นกัน ดังนั้นทุกคนควรอ่านเนื้อหาในรายวิชานั้นให้ถี่ถ้วนและเขียนสรุปความรู้จากสมองของทุกคนที่เข้าใจ เรียงหัวข้อให้เป็นระบบสอดคล้องกันทั้งเรื่อง สมุดบันทึก…

สาธิตธรรมศาสตร์

สาธิตธรรมศาสตร์ มิติใหม่แห่งสถานศึกษา น่าเรียนที่แท้จริง

               ต้องยอมรับว่าองค์ความรู้ที่เด็กรุ่นใหม่ต้องการนั้นแตกต่างจากสมัยก่อนค่อนข้างมาก การเรียนในหลักสูตรเดิมๆ จึงไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป หลายวิชาเนื้อหาโบราณเกินกว่าจะใช้งานได้ หลายวิชาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะนำไปใช้อย่างไร ไหนจะกฎระเบียบที่ไม่สามารถตอบคำถามเด็กได้อีกว่าเรามีวัฒนธรรมแบบนั้นไปทำไม สาธิตธรรมศาสตร์ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ใหม่ ที่ยังไม่สามารถหาโรงเรียนไหนเทียบเท่าได้ในขณะนี้ สาธิตธรรมศาสตร์ สถานศึกษา น่าเรียน                อย่างแรกเลยก็คือ ทาง สาธิตธรรมศาสตร์ ให้ความสำคัญกับอิสระในการเลือกและตัดสินใจของผู้เรียนอย่างชัดเจน ตั้งแต่เรื่องการแต่งกาย ที่นี่เป็นการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยม แต่ไม่มีการบังคับให้ใครต้องแต่งชุดนักเรียนมา แน่นอนว่าประเด็นนี้ก็มีหลายกระแส ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บ้างก็ว่ามันกระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำในด้านฐานะการเงิน คนที่บ้านรวยก็จะแต่งตัวดีกว่า จนอาจนำไปถึงความน้อยเนื้อต่ำใจจนกลายเป็นปมปัญหาใหม่ได้ แต่หากคิดให้ลึกลงไปอีกนิด เราจะรู้ดีว่าสมัยเด็ก เราไม่คิดเรื่องความไม่เท่าเทียมอะไรเหล่านี้มากนักหรอก ขอแค่เรียนอย่างสนุกก็พอแล้ว                ต่อมาที่นับว่าเป็นเรื่องดีอย่างมาก มีการพูดถึงในลักษณะของนามธรรมมานานมากแล้ว นั่นก็คือการเรียนโดยไม่มีการวัดเกรด ทาง สาธิตธรรมศาสตร์ เลือกใช้วิธีการให้คำประเมินผลว่าผู้เรียนได้พัฒนาในส่วนไหนไปบ้างแล้ว เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้ถึงความเปลี่ยนแปลง แต่จะไม่เอาเกรดมาตัดสินเด็กว่าเขาดีเพียงพอหรือไม่ เวลาตอนเช้าก็ไม่ต้องเข้าแถว มีเพียงให้ร่วมกิจกรรมร้องเพลงกันเป็นบางวันเท่านั้น                มาถึงเรื่องรายวิชา แน่นอนว่าเมื่อรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบนี้ เนื้อหาวิชาก็ต้องเปลี่ยนให้สอดคล้องกัน โดย สาธิตธรรมศาสตร์ จะเน้นให้ผู้เรียนได้ความรู้ครบถ้วนในกลุ่มการเรียนรู้ 5…

อวสานการปิดเทอม เมื่อแนวคิดใหม่จาก สพฐ. กำลังมา

อวสานการปิดเทอม เมื่อแนวคิดใหม่จาก สพฐ. กำลังมา

               เรื่องของความไม่ลงตัวในระบบการศึกษานับว่ามีมานานเหลือเกินแล้ว ผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยก็แก้ไม่หายสักที ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นด้วยสาเหตุใด แต่ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้กำหนดกฎเกณฑ์กับผู้เรียนจริงๆ นั่นเอง อย่างล่าสุดก็มีกระแสเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาของการ อวสานการปิดเทอม โดยไอเดียนี้มาจากสพฐ. ที่มองว่าอยากจะปรับแนวทางการศึกษาให้ดีขึ้น เลยมองว่าให้เด็กได้เรียนยาวรวดเดียว 8 เดือนไปเลย จากนั้นค่อยพักกันทีเดียว 4 เดือนเต็ม นโยบายแบบใหม่ สพฐ. อวสานการปิดเทอม                ถึงแม้ว่าตอนนี้เรื่อง อวสานการปิดเทอม นโยบายแบบใหม่จะยังไม่ได้มีผลบังคับใช้อะไร แต่ก็มีหลายกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควร เพราะการหยุดพักช่วงเรียนแบบเดิม คือมีปิดภาคการเรียนย่อยและปิดภาคการเรียนใหญ่ มันทำให้เด็กได้ผ่อนคลายแล้วออกไปใช้ชีวิตเพื่อทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง ไม่ใช่ว่าตั้งหน้าตั้งตาเรียนกันอย่างเดียว แต่แบบเดิมก็มีปัญหาตรงที่บางโรงเรียนไม่สามารถสอนเนื้อหาให้จบทันเวลาได้ เด็กม.6 หลายคนยังไม่ได้เรียนเนื้อหาบทท้ายๆ ก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ                ทางผู้ใหญ่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมองว่า การปิดเทอมที่รวบเป็นครั้งเดียวใน 1 ปี น่าจะทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆ ต่อเนื่องมากกว่า การเก็บเนื้อหาก็คงครบถ้วนได้ และหากมันเรียนไม่ทัน ทางโรงเรียนก็สามารถต่อเวลาในช่วงหยุดได้เล็กน้อย ซึ่งหากมองเทียบกับความเป็นจริงแล้ว นโยบาย อวสานการปิดเทอม นี้ดูจะไม่ตอบโจทย์เท่าไร เพราะมันเป็นการคิดมุมเดียวเท่านั้น คือให้ความสำคัญกับการเก็บเนื้อหาให้ครบไป                ทั้งที่ความจริงมันไม่ใช่ประเด็นนั้นโดยตรง…

แนะนำ วิธีการตัดปัญหาแก้ ข้อสอบ จากที่ถูกอยู่แล้วเป็นผิด

แนะนำ วิธีการตัดปัญหาแก้ “ข้อสอบ” จากที่ถูกอยู่แล้วเป็นผิด

               เคยเจอปัญหานี้กันบ้างไหม เตรียมตัวมาอย่างดี เวลาสอบก็ตั้งใจทำ ข้อสอบ อย่างสุดความสามารถ ข้อไหนคิดออกก็ลงมือแก้โจทย์นั้นก่อน ข้อไหนทำไม่ได้ก็ข้ามไปเพื่อความรวดเร็ว และถ้าข้อไหนไม่แน่ใจก็ใช้วิธีตัดตัวเลือกจนเหลือแค่ 2 ข้อ เอาไว้ตัดสินใจในวินาทีสุดท้าย เรื่องทำได้หรือไม่ได้ก็ส่วนหนึ่ง แต่ที่เจ็บใจมากสุดก็คือการ เลือกตอบในข้อที่ถูกแล้ว พอเวลาตรวจทานซ้ำกลับเปลี่ยนไปเลือกข้อผิด ช้ำใจยิ่งกว่าทำไม่ได้เสียอีก ใครที่เจอกับเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ ลองใช้วิธีเหล่านี้ดู ปัญหาการแก้ ข้อสอบ จากถูกเป็นผิด จะหมดไปด้วยวิธีเหล่านี้ จำไว้ว่าการตัดสินใจครั้งแรกมีเปอร์เซ็นต์ถูกมากกว่าเสมอ             อันนี้เราพูดถึงกรณีที่ค่อนข้างมั่นใจในการทำ ข้อสอบ นั้นๆ หากในครั้งแรกที่แก้โจทย์ เรารู้สึกว่าลังเลอยู่แค่เล็กน้อย เวลาตรวจทานให้ข้ามข้อนั้นไปได้เลย เพียงแค่ดูว่าทำครบถ้วนแล้วก็พอ อย่าย้ำคิดย้ำทำ อีกอย่างหนึ่งคือตอนที่เราคิดซ้ำสมองก็เริ่มล้าแล้วด้วย โอกาสผิดจึงสูง เลือกทำโจทย์อัตนัยที่พอทำได้แล้วใช้เวลามากก่อน             ยิ่งโจทย์ใน ข้อสอบ ยากเท่าไร เราก็ยิ่งต้องใช้สมองมากเท่านั้น การเก็บข้อยากไว้ทำช่วงท้ายๆ จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เว้นเสียแต่เราจะทำไม่ได้อยู่แล้ว ก็ปล่อยทิ้งไปได้เลย ไปเลือกเก็บเอาข้อที่ทำได้จะดีกว่า ทีนี้เมื่อทุ่มเทสมาธิในการหาคำตอบไปแล้ว ให้ตัดใจวัดดวงไปเลย ถูกก็ถูก ไม่ถูกก็แล้วไป…

เร็วเกินไปไหม? กับการเลือก แนวทางวิชาชีพ ตั้งแต่มัธยมต้น

เร็วเกินไปไหม? กับการเลือก แนวทางวิชาชีพ ตั้งแต่มัธยมต้น

               หลักสูตรการเรียนการสอนสมัยก่อน มันจะมีการกำหนดรายวิชาแต่ละหลักสูตร เอาไว้ค่อนข้างชัดเจน แล้วก็เหมือนๆ กันทั้งประเทศ ต่างกันแค่บรรยากาศและสไตล์การสอนของครูเท่านั้น แต่เมื่อวิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป หลักสูตรก็ทำให้สอดคล้องกับ แนวทางวิชาชีพ มากขึ้น เช่น มีการเรียนเพื่อเตรียมเป็นหมอ เรียนเพื่อเตรียมเป็นวิศวกร เป็นต้น ยิ่งในตอนนี้ บางโรงเรียนก็ยิ่งพัฒนาไปไกลกว่านั้น คือไม่จำกัดแค่สายวิทย์หรือศิลป์ แต่จำแนกไปตามสายอาชีพเลย แนะนำ แนวทางวิชาชีพ ให้เด็กๆ ทุกคนได้รู้จัก                โรงเรียนหนึ่งที่น่าสนใจคือกรุงเทพคริสเตียน ที่สร้างแผนการเรียนที่เป็น แนวทางวิชาชีพ มากถึง 15 สาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ศิลปะการอาหาร บริหารธุรกิจ แพทย์ศาสตร์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เด็กจะต้องเลือกให้ได้ก่อนจบมัธยมต้น เพื่อให้เป็นแผนเรียนในระดับชั้นมัธยมปลาย เหมือนกับสมัยที่ต้องเลือกสายวิทย์หรือศิลป์นั่นเอง แถมยังเปลี่ยนสายได้เมื่อเรียนไปแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ชื่นชอบ แต่จะต้องเปลี่ยนภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น คือก่อนที่จะขึ้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งก็ถือว่าเพียงพอแล้วกับการทำความรู้จักตัวเอง                รูปแบบการแบ่งหลักสูตรแบบนี้ก็นับว่ามีข้อดีค่อนข้างมาก แต่พอมองว่ามันเป็นการเลือก แนวทางวิชาชีพ ที่เราสนใจจะทำงานจริงๆ…

เทคนิคเพิ่มเกรด ด้วยการเลือก ช่องเก็บคะแนน ตั้งแต่ต้นเทอม

เทคนิคเพิ่มเกรด ด้วยการเลือก ช่องเก็บคะแนน ตั้งแต่ต้นเทอม

            เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเพื่อนร่วมชั้นที่ได้เกรดดีๆ หลายคน ถึงดูไม่ค่อยตึงเครียดเหมือนกับเราในช่วงเวลาสอบ ราวกับว่ามันเป็นเรื่องง่ายดายเหลือเกิน ขณะที่เราอยากจะเพิ่มเกรดให้ดีกว่าเดิม ก็ตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือมากขึ้น ติวกับเพื่อนมากขึ้น อดหลับอดนอนมากขึ้น สุดท้ายคะแนนก็ไม่ทิ้งห่างจากที่เคย มิหนำซ้ำบางวิชายังคะแนนต่ำกว่ามาตรฐานของตัวเองไปอีก ถ้าทุ่มสุดตัวขนาดนี้แล้วยังไม่ได้ผล ก็คงต้องมี เทคนิคเพิ่มเกรด และมาวางแผนแบบที่เด็กเก่งเขาทำกันบ้างแล้วนะ แนะนำ เทคนิคเพิ่มเกรด ให้กับเด็กๆ ที่จริงจังกับการเรียน                จุดสำคัญที่มีเด็กไม่กี่คนทำอย่างจริงจังในการเพิ่มเกรดก็คือ เทคนิคเพิ่มเกรด ด้วยการให้น้ำหนักกับคอร์สเซเลบัส หรือแผนการเรียนตลอดทั้งเทอม ปกติแล้วครูจะแจกให้ในวันแรกของการเรียน เราจะได้รู้ว่ามีเนื้อหาเรื่องอะไรบ้าง จะแบ่งวิธีการเก็บคะแนนเป็นอย่างไร และนี่แหละคือเคล็ดลับที่ช่วยให้เราไม่ต้องทำงานหนักเกินไป เพียงแค่รู้จักวางแผนให้เหมาะสมกับเป้าหมาย แล้วก็ทำตามแผนนั้นอย่างเคร่งครัด                ตัวอย่างใน เทคนิคเพิ่มเกรด จากการวิเคราะห์คอร์สเซเลบัสก็คือ ให้ดูว่ามีการเก็บคะแนนยิบย่อยรายทางมากน้อยแค่ไหน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วประเมินควบคู่ไปกับความยากง่ายของเนื้อหา เราจะเก็บได้มากแค่ไหน ตรงนี้ยิ่งได้มากก็จะผ่อนแรงตอนสอบไปเยอะ หลายคนได้เกรด 3 ก่อนถึงวันสอบด้วยซ้ำไป การสอบกลางภาคก็สำคัญ ต้องดูว่าเนื้อหาส่วนไหนจะออกสอบบ้าง เราก็ตั้งใจเรียนและทำความเข้าใจบทนั้นแต่เนิ่นๆ                อีกอย่างหนึ่งคือ ให้รู้ว่า เทคนิคเพิ่มเกรด…

Creative room ห้องเรียนแห่งความสร้างสรรค์ ที่ทุกโรงเรียนควรมี

Creative room ห้องเรียนแห่งความสร้างสรรค์ ที่ทุกโรงเรียนควรมี

            เมื่อเด็กรุ่นใหม่เริ่มหันมาใส่ใจในระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น พวกเขาพยายามเรียกร้องสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองให้ได้มากที่สุด มากกว่าการทำตามวัฒนธรรมเดิม ๆ เราก็ได้เห็นสถานศึกษาหลายแห่งรับฟังพร้อมปรับเปลี่ยนเท่าที่ทำได้ เพื่อให้การศึกษาไทยก้าวหน้าไปได้จริง ๆ และ Creative room ก็เป็นหนึ่งผลผลิตจากกระบวนการเหล่านี้ เป็นห้องที่มีแนวความคิดว่า ความรู้ควรมาคู่กับความสนุก เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้แบบไม่มีขีดจำกัดจริง ๆ ทำความรู้จัก Creative room                ว่ากันว่า นอกจาก Creative room จะเป็นห้องสำหรับการเรียนรู้ที่ทำลายภาพลักษณ์เดิมไปจนหมดสิ้น ไม่มีการเปิดหน้าหนังสือแล้วตั้งใจอ่านกันอย่างเคร่งเครียดเหมือนก่อน ๆ ไม่มีงานกองท่วมหัว และไม่มีการตัดสินว่าใครเก่งกว่าใคร นับเป็นห้องเรียนแห่งความเท่าเทียมอย่างแท้จริง ทุกคนจะได้ปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ในแบบของตัวเอง ชนิดที่ว่าไม่ต้องกลัวว่ามันจะผิดหรือถูก ใครที่เรียนเก่งและมุ่งมั่นจะไปทางด้านวิชาการก็จะมีการเรียนที่สนับสนุน ใครที่เด่นในด้านอื่น ๆ ก็มีแผนรองรับเช่นเดียวกัน                ความพิเศษของห้องเรียนแบบ Creative room ก็คือเน้นให้เกิดการลงมือทำ พอกันทีกับการนั่งจดเนื้อหาเป็นวันๆ พอกันทีกับการท่องทฤษฏีที่ไม่รู้จะเอาไปใช้งานยังไง คราวนี้ทุกคนจะได้ลองทำด้วยตัวเองจริงๆ เช่น สร้างละครเวทีเพื่อใช้ภาษาอังกฤษ ทำโครงการวิทยาศาสตร์ จัดทำแผนบริหารการเงิน เป็นต้น การลองผิดลองถูกในทุกขั้นตอนจะทำให้แต่ละคนจดจำสิ่งที่ได้รับดีขึ้น…