ระบบการศึกษา

“การศึกษาเกาหลีใต้” ติดอันดับ 1 ระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก ยั่วใจให้น่าไปเรียนต่อ

“การศึกษาเกาหลีใต้” ติดอันดับ 1 ระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก ยั่วใจให้น่าไปเรียนต่อ

ในปี 2020 การศึกษาเกาหลีใต้ ติดอันดับประเทศที่มี ระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก แซงหน้าประเทศจากซีกโลกตะวันตกไปแบบไม่เห็นฝุ่น ทำให้ตอนนี้เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศที่ผู้ปกครองในบ้านเรากำลังเล็งไว้เผื่อจะส่งลูกหลานไปเรียนต่อ และเพราะเหตุใดจึงทำให้ระบบการศึกษาของเกาหลีใต้ดีสุดยอดจนใคร ๆ ก็อยากไปเรียนกันล่ะ ถ้าอยากรู้มาดูกัน การศึกษาเกาหลีใต้ ปฏิรูประบบ เพื่ออนาคต ในปี 2001 เกาหลีมีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการใหม่ โดยเน้นปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีอำหนาจหน้าที่ไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนภายในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับอาชีพและการใช้ชีวิต   การศึกษาเกาหลีใต้เน้นผลิตคนให้เหมาะกับงาน หลักสูตรการศึกษาของเกาหลีใต้จะออกแบบมาให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่เหมาะจะทำงานได้จริง เช่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีบุคลิกภาพที่ดี รู้จักอุทิศตนเพื่อส่วนรวม รู้จักพัฒนาศักยภาพความสามารถเพื่ออาชีพของตน และที่สำคัญคือคุณสมบัติทุกประการจะอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย   การศึกษาเกาหลีใต้ในระดับอุดมศึกษาเด่นมาก ระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยในเกาหลีใต้มีชื่อเสียงในระดับโลก เพราะส่วนใหญ่เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็มีการแข่งขันกันสูงมากเพื่อให้ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีบทบาทต่อสังคมมาก โดยเฉพาะงานวิจัย นวัตกรรม และการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อชุมชุนและในระดับโลก โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมที่เกาหลีใต้ยืนหนึ่งเรื่องนี้ ดังนั้นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยชั้นนำในเกาหลีใต้จึงได้รับการยอมรับเรื่องคุณภาพในระดับสุง บุคลากรทางการศึกษาเกาหลีใต้มีประสิทธิภาพสูง ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาของเกาหลีใต้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง…

5 จุดเด่น ระบบการศึกษาสิงคโปร์ ที่มีดีระดับโลก แม้แต่เด็กไทยก็อยากไปเรียนต่อ

5 จุดเด่น ระบบการศึกษาสิงคโปร์ ที่มีดีระดับโลก แม้แต่เด็กไทยก็อยากไปเรียนต่อ

อย่ามองข้ามการศึกษาต่อที่ “สิงคโปร์” เพราะแม้จะเป็นประเทศที่มีพื้นที่เล็ก ๆ แต่ ระบบการศึกษาสิงคโปร์  เป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องระบบการศึกษาในระดับโลก จนทำให้ตอนนี้บ้านเรามีพ่อแม่หลายคน อยากจะส่งลูกไปเรียนต่อที่สิงคโปร์ นั่นก็เพราะว่า ระบบการศึกษาสิงคโปร์ ดีเยี่ยมอย่างแท้จริง ระบบการศึกษาสิงคโปร์ มีโครงสร้างทางการศึกษาที่ดี โครงสร้างทางระบบการศึกษาสิงคโปร์มีความเคร่งครัด สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและอิสระจะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางการศึกษาที่กำหนดไว้ แต่หลัก ๆ แล้วคือ ในระดับชั้นต่าง ๆ จะมีโครงสร้างทางการศึกษา ดังนี้ -ก่อนประถมศึกษา (ไม่ได้บังคับไว้) -ประถมศึกษา 6 ปี (ประถมต้น 4 ปี และประถมปลาย 2 ปี) -มัธยมศึกษา 4-5 ปี -การศึกษาหลังจบระดับมัธยม โดยจะเข้าระดับอุดมศึกษา หรือเรียนต่อวิชาชีพตามสถาบันต่าง ๆ ที่ตนสนใจหรือถนัด -อุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งสิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่งแต่เด่นกันไปคนละทาง และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกมากมาย ระบบการศึกษาสิงคโปร์มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์เห็นความสำคัญของการจัดหลักสูตรการศึกษามาก ดังนั้นจึงมีงบจัดทำหลักสูตรใหม่ๆ เสมอ…

เรียนออนไลน์ การศึกษาในอนาคต

เรียนออนไลน์ กับระบบการศึกษา ของเด็กไทยในอนาคต

            มีคนเคยกล่าวไว้ว่า เมื่อไรที่มีวิกฤติเข้ามา มันก็จะมีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วยเสมอ เราได้เห็นภาพชัดของประโยคนี้ก็ตอนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด-19 นี่เอง นักเรียนทั่วทั้งประเทศมีโอกาสได้ เรียนออนไลน์ โดยพร้อมเพรียงกัน แม้แต่โรงเรียนในเขตทุรกันดาร ที่ครูเองก็ยังไม่ได้เชี่ยวชาญระบบอินเตอร์เน็ตมากนัก ก็ถูกบังคับด้วยนโยบายฉุกเฉิน ที่ต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ต่อไปได้ ไม่ว่าภาวะโควิดจะเป็นไปในทางใดก็ตาม เรียนออนไลน์ การศึกษาในอนาคต                ในช่วงแรกของการ เรียนออนไลน์ บอกได้คำเดียวว่าวุ่นวายอย่างที่สุด โรงเรียนในเมืองก็นับว่ามีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงแบบนี้อยู่แล้ว แค่เสริมทุกอย่างให้เป็นระบบแบบเข้าที่เข้าทางก็ใช้งานได้ แถมหลายสถานศึกษาก็ให้นักเรียนเจออาจารย์พร้อมส่งงานแบบออนไลน์มาก่อนที่จะมีประกาศเสียอีก แต่พอออกมาต่างจังหวัดหน่อย ระบบก็ไม่พร้อม อุปกรณ์ก็ไม่พร้อม สะเทือนไปจนถึงพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่พร้อมจ่ายเงินค่าอุปกรณ์เสริมให้ลูกๆ ด้วยเหมือนกัน                มันจึงเกิดเสียงแตกเป็นหลายกระแส ฝ่ายที่พร้อมกับการ เรียนออนไลน์ ก็มองว่าทันสมัยและสะดวกดี ฝ่ายที่ไม่พร้อมก็บ่นกันหนาหูว่าแนวคิดนี้สร้างภาระให้มาก จนท้ายที่สุดก็เหมือนว่าโครงการนี้จะไม่เป็นเอกฉันท์ ใครทำได้ก็ทำ ใครทำไม่ไหวก็ต้องชะลอการเล่าเรียนออกไป อย่างไรก็ตาม ถ้ามองอย่างเป็นกลาง ระบบการเรียนสมัยใหม่ก็ควรปรับเป็นออนไลน์ได้แล้ว ค่อยๆ เปลี่ยนก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเสียเลย                เพราะการ เรียนออนไลน์ จะช่วยให้เด็กๆ จัดตารางชีวิตของตัวเองได้ดีกว่า ยืดหยุ่นเวลาได้มากขึ้น แถมยังประหยัดงบประมาณในส่วนอื่นไปได้อีกมาก…

การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานสูงขึ้น

การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานสูงขึ้น

                    ในปี พ.ศ.2562 มีการคาดการณ์ว่า การว่างงานของแรงงานไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาและการเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอล และอีกหนึ่งส่วนคือเรื่องของ การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย ซึ่งความต้องการแรงงานในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น ต้องการแรงงานในภาคบริการที่มีทักษะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอย่างมาก แต่ยังคงขาดแคลนแรงงานที่มาจากระดับอาชีวศึกษา จำนวน 200,00 คน ระดับปริญญาตรี จำนวน 200,000 คน และระดับปริญญาโท-เอก จำนวน 8,000 คน การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย ทำให้เกิดการว่างงานสูง                จากผลสำรวจกรมแรงงานไทย ช่วงเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่เรียนจบระดับปริญญาตรีของไทย มีผู้ว่างงานจำนวนกว่า 130,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในสายสังคมศาสตร์และบางส่วนขาดทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ ทักษะทางด้านไอที การใช้โปรแกรมพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น รวมทั้งทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่ง 3 ทักษะนี้ เป็นทักษะที่มีความจำเป็นและตลาดแรงงานต้องการมากที่สุด และนี่เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย มีความไม่สอดคล้องทางกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ…

ปัญหาระบบการศึกษาของไทย ที่ผู้เรียนยังคงได้รับผลกระทบ

ปัญหาระบบการศึกษาของไทย ที่ผู้เรียนในปัจจุบัน ยังคงได้รับผลกระทบ

               ปัญหาระบบการศึกษาของไทย เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กวัยเข้าโรงเรียนจนกระทั่งวัยเข้ามหาวิทยาลัย มีการเปลี่ยนแปลงระบบหลายครั้ง การเปลี่ยนแต่ละครั้งเป็นการเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาเดิม เช่น สถานที่สอบมีการจัดสอบหลายสถานที่ หลายจังหวัด ผู้เรียนในชนบทบางคนต้องเดินทางเข้ามาสอบใน กทม. ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้เรียนในชนบทและผู้เรียนในเมือง มีผู้เรียนบางคนยังไม่มีสถานที่เข้าเรียน รวมทั้งโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดรับผู้เรียนไม่เต็มจำนวนตามที่ตั้งเป้าไว้ ปัญหาระบบการศึกษาของไทย ที่รอการแก้ไข                ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า ปัญหาระบบการศึกษาของไทย จากปีก่อนๆ พบผู้เรียนประมาณ 30% ที่เรียนไปแล้วสักระยะ มีการเปลี่ยนคณะเรียนและสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งนั้นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า เพราะเหตุใดผู้เรียนถึงทำเช่นนั้น และมีคำถามอื่นๆ ตามมาอีกว่า ควรมีการกลับมาใช้ระบบเอนทรานซ์หรือไม่และสถาบันกวดวิชาตามสถานที่ต่างๆ ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ซึ่งการตั้งคำถามเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบที่ใช้อยู่นั้นอาจจะยังไม่เสถียรมากพอสำหรับผู้เรียนบางคนที่ได้รับผลกระทบ                ในสังคมไทยพบปัญหาที่ใช้วิธีนำคะแนนสอบมาคัดกรองเพื่อหาผู้ที่เรียนเก่ง มีการใช้แฟ้มสะสมผลงานเพื่อช่วยในการเข้าเรียน ซึ่งการใช้แฟ้มสะสมผลงานนั้นมีจุดประสงค์อยู่ 2 แบบ คือ 1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และ 2.เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าเรียนในสายวิชาที่ต้องการเรียน รวมทั้งการใช้โควตาในการสอบภาคข้อเขียนและภาคปฏิบัติ วิธีการทำเช่นนี้เป็นวิธีที่ผู้เรียนไม่อาจตอบโจทย์ได้ว่าตนเองต้องการสิ่งใด เก่งในด้านไหน หรือสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างไร                ปัญหาระบบการศึกษาของไทย เป็นปัญหาที่สร้างความยุ่งยากให้กับผู้เรียนทุกชั้นวัย ซึ่งทางออกในการแก้ปัญหา คือ…

ระบบการศึกษาของมาเลเซีย เป็นอย่างไร มีความน่าสนใจ อย่างไรบ้าง

เจาะลึก ระบบการศึกษาของมาเลเซีย ว่าเป็นอย่างไร มีความน่าสนใจ อย่างไรบ้าง

          ประเทศมาเลเซีย บ้านใกล้เรือนเคียงของประเทศไทย ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ถึงระบบการศึกษาของประเทศนี้ ที่จัดได้ว่ามีมาตรฐานในระดับนานาชาติพอตัว สามารถสร้างประชากรที่มีคุณภาพมากมาย ซึ่งในวันนี้เราจะมา เจาะลึก ระบบการศึกษาของมาเลเซีย ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ทำความรู้จักแบบเจาะลึกถึงระบบการศึกษาของมาเลเซีย           ระบบการศึกษาของมาเลเซีย ในระดับชั้นประถมมีความคล้ายคลึงกับไทย ขณะที่ระดับชั้นมัธยมมีความแตกต่างเล็กน้อย คือเรียน 5 ปี และอีก 1 ปี จะเป็นปีแห่งการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งหลักสูตรเตรียมความพร้อม 1 ปี นี้ จะช่วยให้เด็กมั่นใจกับสิ่งที่ตนจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งช่วยลดโอกาสเด็กซิ่วได้              ระบบการศึกษาของมาเลเซีย ในระดับชั้นประถมและมัธยม ผู้ปกครองจะมีวัฒนธรรมส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนตามกลุ่มชาติพันธุ์ของครอบครัว เพื่อให้ทายาทได้ศึกษาองค์ความรู้ของชาติพันธุ์แม่ ทั้งวัฒนธรรมและภาษา แต่ถึงกระนั้นโรงเรียนทุกกลุ่มชาติพันธุ์จะต้องมีสอนภาษาภาคบังคับจากรัฐบาล คือ ภาษามลายูและภาษาอังกฤษ ทำให้เด็กอินเดียและจีน ได้เปรียบกว่าเด็กมลายู เพราะเด็กทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เรียนรู้ภาษาแม่กับภาษามลายูและอังกฤษ รวมเป็นสามภาษา ขณะที่เด็กมลายูจะได้เพียง สองภาษา คือ มลายูและอังกฤษแต่อย่างไรก็ตามในระดับมหาวิทยาลัยเด็กทุกชาติพันธุ์ ทั้งมลายู จีน และอินเดีย…