Month: February 2021

ข้อดีของครูวัยรุ่น มีข้อดีอย่างไร กับเด็กๆ ยุคปัจจุบันนี้บ้าง มาดูกัน

ข้อดีของครูวัยรุ่น มีข้อดีอย่างไร กับเด็กๆ ยุคปัจจุบันนี้บ้าง มาดูกัน

แวดวงการศึกษาในประเทศอื่นที่เจริญแล้ว ภาพจำของอาชีพครูไม่ยึดติดกับเพศและช่วงวัย จุดชี้วัดจะมีเพียงศักยภาพในการสอนเท่านั้น ซึ่งกลับกันในระบบการศึกษาไทย อาจมีภาพจำว่าครูต้องมีอายุและมีกิริยาที่สำรวม แต่อย่างไรก็ดียุคแห่งการผลัดเปลี่ยนย่อมเกิดขึ้น ครูรุ่นสูงวัยลายครามต้องเกษียณอายุออกไป และถูกแทนที่ด้วยครูวัยรุ่น ซึ่งในวันนี้จะมาหา ข้อดีของครูวัยรุ่น กันค่ะว่าดีอย่างไร แนะนำ ข้อดีของครูวัยรุ่น มีอะไรบ้าง มาดูกัน ข้อดีของครูวัยรุ่น ข้อที่ 1 ปรับรูปแบบการสอนให้เข้ากับเด็กได้ดีกว่า เพราะหากเป็นครูสูงวัยรุ่นเก่าๆ ก็ย่อมมีแนวทางการสอนที่ต้องเชื่อฟัง การโต้แย้งเท่ากับเสียมารยาท  เนื้อหาการเรียนต้องท่องจำโดยยึดจากตำราเป็นสำคัญเท่านั้น  มีการลงโทษเมื่อเด็กกระทำผิดด้วยการตี ซึ่งรูปแบบการสอนแบบนี้ในปัจจุบันมีเหตุผลมารองรับแล้วว่ามันใช้ไม่ได้ผล  ซึ่งครูวัยรุ่นย่อมไม่ค่อยนิยมในแนวทางของครูสูงวัยอยู่แล้ว ฉะนั้นแนวทางสมัยใหม่จะเน้นในเรื่องของเหตุและผลมากขึ้น เช่น เนื้อหาการเรียน ที่สามารถค้นคว้าได้มากกว่าในตำราเรียน โดยการอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ หากมีข้อมูลที่สดใหม่กว่า น่าเชื่อถือกว่า ย่อมสามารถนำมาถกเถียงกันได้ ข้อดีของครูวัยรุ่น ข้อที่ 2 เข้ากับเด็กได้ง่าย เนื่องจากอายุของครูกับเด็กนักเรียนไม่ไกลกันมาก ทำให้แนวทางการชีวิตและสภาพแวดล้อมต่างๆ มีลักษณะคลานตามกันมา ซึ่งครูวัยรุ่นสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปประยุกต์กับวิธีการการสอน ในแง่ของการใช้คำพูดและวิธีการสื่อสารกับนักเรียน นอกจากนี้อาจรวมไปถึงความสามารถในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่นแก่นักเรียนได้ดีและตรงใจเด็กนักเรียน จนในบางครั้งอาจทำให้นักเรียนรู้ว่าครูวัยรุ่นเปรียบเสมือนพี่ใหญ่ของพวกเขา ที่สามารถสอนให้ความรู้ในห้องเรียน แล้วยังเป็นพี่เลี้ยงที่สามารถสอนวิชาชีวิตได้อีก ทั้ง 2 ข้อดีของครูวัยรุ่น…

ไขความรู้ที่นอกตำรา ทำไมเราไม่เรียกว่า ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านว่า ชาวต่างชาติ ทั้งหมด

ไขความรู้นอกตำรา ทำไมเราไม่เรียกว่า ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านว่า ชาวต่างชาติ ทั้งหมด

เชื่อว่าควรรู้สึกนึกคิดเป็นอย่างนี้กันแทบทุกคน เมื่อนึกถึงชาวพม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา พวกเรามักจะเรียกพวกเขาว่า “ต่างด้าว” อีกทั้งเมื่อพบเห็นบุคคลที่หน้าตาเข้มๆ ตาคม กลิ่นตัวฉุนเครื่องเทศ พวกเราจะเรียกเขาว่า “แขก” และเมื่อใดที่เรานึกถึงคนผิวหยาบ ตัวขาว รูปร่างสูงใหญ่ พวกเราจะเรียกเขาว่า “ฝรั่ง” หรือคำทางการว่า ชาวต่างชาติ โดยคำถามสำคัญคือ แล้วในทางกลับกันทำไมเราถึงไม่เรียกผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านว่าชาวต่างชาติบ้าง? ไขปัญหาคำนิยามของ ชาวต่างชาติ ที่ทุกคนสงสัย เรื่องของการเรียกชาวต่างชาตินี้ต้องไล่เรียงจากช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ก่อน ซึ่งต้องย้อนไปถึงยุคที่เรายังไม่ติดต่อกับคนจากภายนอก นั่นจึงทำให้เราต้องติดต่อกับผู้คนอยู่ในวงจำกัดที่ไม่ไกลมากนักจากถิ่นฐานของตัวเอง คำว่าชาวต่างด้าวจึงเกิดขึ้น ซึ่งคำว่าต่างด้าว หมายถึงคนต่างถิ่นที่ไกลออกไป สามารถไปมาหาสู่กันได้ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมถึงรูปร่างหน้าตาไม่ต่างกันนัก หลังจากนั้นเมื่อถึงยุคที่ชาวเอเชียใต้กับตะวันออกกลาง เชี่ยวชาญการเดินเรือและเดินทางเข้ามายังภูมิภาคแห่งนี้เพื่อการค้าขายและเผยแพร่ศาสนาเมื่อราวพันปีก่อน ทำให้พวกเราได้พบกับบุคคลที่ดูแปลกหน้าแปลกตา ทั้งตาและผิวพรรณ พวกเราจึงเรียกเขาว่า “แขก” ซึ่งก็หมายถึงบุคคลที่เข้ามาเยี่ยมเยือนนั่นเอง ก่อนที่คำว่า แขก จะกลายเป็นคำที่สื่อถึงบุคคลใด ๆ ก็ตามที่มาเยี่ยมเยือนชายคา ในอีกความหมาย     ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือ ยุคที่ชาวตะวันตกเริ่มค้นพบทวีปเอเชียและเดินทางเข้ามายังภูมิภาคของเรา…

ผลสำรวจสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ในเด็กวัย 6-14 ปี

ผลสำรวจสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ในเด็กวัย 6-14 ปี

ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีและสิ่งเร้ามากมาย เราอาจมีความกังวลว่าเด็กที่เป็นอนาคตของชาติจะหลงมัวเมาไปกันสิ่งนั้นหรือไม่ ทำให้วันนี้จะนำข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติมาอ้างอิงและวิเคราะห์ถึงสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ว่าเป็นอย่างไรบ้าง อีกทั้งมีอะไรที่น่าเป็นกังวลหรือไม่   วิเคราะห์ถึงสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ในเด็กวัย 6-14 ปี ได้ดังนี้ 77% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านหนังสือเพื่อการศึกษา จากตัวเลขที่สูงนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจนัก เพราะเป็นเรื่องที่สมควรแล้วกับการที่เด็กต้องเข้าถึงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับการอ่านหนังสือ แต่ในอีกมุมหนึ่งอาจต้องเพิ่มตัวเลขให้มากกว่านี้ เพื่อให้ครอบคลุมกับกลุ่มเด็กที่อยู่ห่างไกลในชนบทและขาดโอกาสทางการศึกษาอีกจำนวนมาก 60.1% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ จากสถิติแบบนี้นับว่าน่าภูมิใจอย่างยิ่งที่เด็กใฝ่หาในสิ่งที่ตนเองสนใจ นับจากนี้จงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองด้วยที่ต้องสนับสนุนเด็กตามสมควร เพื่อให้การอ่านของเขายั่งยืนไปกระทั่งตอนโต ซึ่งหากสนับสนุนและปลูกฝังจนกลายเป็นนิสัยก็ยิ่งดีเข้าไปอีก 21.5% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านเพื่อความบันเทิง ในส่วนนี้มีข้อดี คือช่วยให้เด็กอ่านหนังสือได้คล่องและเป็นการผ่อนคลายสมองได้ แต่ในมุมกลับกันการอ่านในประเภทนี้ต้องอยู่ในระดับที่พอดี เพราะหากอ่านมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อตัวเด็กในแง่ของการเรียน จนถึงการใช้ชีวิตในสังคมได้ 11.5% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านเพราะความสนใจและอยากรู้ ในส่วนนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะสื่อให้เห็นว่าเด็กเริ่มรู้ตัวตนของตัวเอง ฉะนั้นการจะตอบโจทย์ความใคร่รู้ของตัวเองก็ต้องหาหนังสือมาอ่าน แต่ถึงกระนั้นจากตัวเลขนี้นับว่ายังน้อยไปสักหน่อย เพราะมันก็สื่อให้เห็นว่ายังมีเด็กอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถค้นหาตัวเองได้ โดยอาจจะเป็นที่สภาพแวดล้อมและตัวผู้ปกครองที่กำหนดกรอบไปยังตัวเด็ก จนกระทั่งเด็กไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งหากสถิติตรงนี้ถ้าในอนาคตเพิ่มขึ้นเกิน 50% ขึ้นไป วันข้างหน้าประเทศไทยของเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่ฉลาด…

ความรู้นอกตำรา ว่าด้วยเรื่องของ วิวัฒนาการของ ภาษามลายู

ความรู้นอกตำรา ว่าด้วยเรื่องของ วิวัฒนาการของ ภาษามลายู

ภาษามลายูกับอินโดนีเซีย มีความคล้ายคลึงกัน สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง ซึ่งมีผู้ใช้ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชายแดนใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์และหมู่เกาะต่างๆ โดยสาเหตุที่ทำให้ภาษานี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย มาจากการไปมาหาสู่ด้วยการคมนาคมทางเรือตั้งแต่โบราณแล้วนั่นเอง สำหรับวิวัฒนาการทางภาษาในช่วงแรกจะเป็นภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน อีกทั้งยังเป็นภาษาสำหรับการเผยแพร่พุทธศาสนาในโลกของชาวมลายูเมื่อครั้งอดีต ทำให้มีคำบาลีและสันสกฤตปะปนอยู่ในภาษามลายูมาจนถึงปัจจุบัน กระทั่งการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามจากนักเดินเรือแถบตะวันออกกลางและอินเดีย ซึ่งใช้ภาษาอาหรับ ทำให้นับตั้งแต่นั้น ภาษามลายู มีภาษาเขียนด้วยตัวอักษรอาหรับเป็นเวลาหลายร้อยปี จุดเปลี่ยนของ ภาษามลายู ที่มีความสำคัญมาก วิวัฒนาการของ ภาษามลายู มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง จากการเข้ามาของเจ้าอาณานิคมอังกฤษในดินแดนแถบนี้ ซึ่งพวกเขาต้องมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองและชาวพื้นเมือง กระทั่งเกิดอุปสรรคในเรื่องการสื่อสาร แม้ว่าจะมีการศึกษาเรียนรู้ภาษาท้องถิ่น แต่เจ้าอาณานิคมอังกฤษมองว่าภาษามลายู ที่ถูกวางไว้ในระบบภาษาอาหรับ เป็นระบบภาษาที่มีการเรียนรู้ยากและใช้เวลานานสำหรับการเรียน ไล่ตั้งแต่วิธีการเขียนที่เริ่มต้นจากขวามาซ้าย ตัวพยัญชนะที่มีอยู่จำนวนมากที่จะมีอุปสรรคต่อการผสมคำ  ทำให้ท้ายที่สุดได้เปลี่ยนระบบภาษามลายูใหม่ ด้วยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบโรมัน มีพยัญชนะและสระเหมือนภาษาอังกฤษ แต่มีการเพิ่มพยัญชนะที่เป็นคำควบอีก 10 ตัว เช่น sy ny ให้เสียงครบ รวมถึงเพิ่มกฎการเติมคำอุปสรรค mem , me ,men หน้าคำกิริยาให้มีความสมบูรณ์ ที่เหลือก็มีเพียงการท่องจำคำศัพท์ให้ได้มากที่สุด…

รวบรวมกิจกรรมที่โควิด-19 ทำให้ นักเรียนชั้น ม. 6 มีอันต้องพลาด

รวบรวมกิจกรรมที่โควิด-19 ทำให้ นักเรียนชั้น ม.6 มีอันต้องพลาด

โควิด-19 ได้เข้ามามีผลกระทบกับผู้คนในวงกว้างให้มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปรวมไปถึงในแวดวงการศึกษา ที่ต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย แต่สำหรับเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6 หลายกิจกรรมที่พวกเขาจะได้พบเจอและสัมผัสมันเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต แต่โควิด-19 ก็ดันพรากสิ่งเหล่านั้นไปเรียบร้อย ซึ่งในวันนี้เราจะไปดูกันว่าอะไรบ้างที่โควิด-19 พรากไปจากน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 จนทำให้พลาดและไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีก กิจกรรมที่ นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาด เพราะพิษโควิด-19 กิจกรรมกีฬาสี คือกิจกรรมแรกที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาดไป เพราะสถานศึกษาเกือบทั้งหมดล้วนแต่ยกเลิกไปเพื่อความปลอดภัย ซึ่งนับว่าจะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่กิจกรรมสำคัญนี้สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 ที่จะมีโอกาสเป็นผู้กำกับและลงมือทำด้วยตนเอง น้องๆในรุ่นนี้จะไม่มีโอกาสได้ทำและได้ประสบการณ์ดีๆจากมัน กิจกรรม open house  คือกิจกรรมต่อมาที่น้องๆหลายคนยังไม่มีโอกาสไปสัมผัส เพราะมีเพียงไม่กี่มหาลัยเท่านั้นที่จัดก่อนโควิด-19 จะระบาดรอบใหม่ ทำให้นับจากนี้หากน้องๆนักเรียนชั้น ม.6 คนไหนที่ยังไม่ได้ไป open house ก็คงไม่มีโอกาสอีกแล้ว เพราะด้วยสถานการณ์เช่นนี้ที่น่าต้องใช้เวลาอีกแรมเดือนหรือนานกว่านั้นกว่าที่ทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติที่ไม่เสี่ยงอันตราย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้องๆนักเรียน ม.6 อาจจบการศึกษาแล้ว กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ในภาวะปกติเมื่อน้องๆนักเรียน ม.6 ใกล้จบ จะมีงานอำลาหรือที่เรียกว่าปัจฉิมนิเทศ แต่ในยุคโควิด19แบบนี้ การจะมามอบดอกไม้ รวมตัวกันถ่ายรูป…

ผลสำรวจ สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ ของเด็กในช่วงอายุ 6-14 ปี

ผลสำรวจ สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ ของเด็กในช่วงอายุ 6-14 ปี

กลุ่มเด็กในช่วงวัย 6-14 ปี นับว่าอยู่ในช่วงของการเรียนรู้สิ่งต่างๆในระดับพื้นฐาน ก่อนที่จะถูกต่อยอดหลังจากนั้น ทำให้การอ่านหนังสือของเด็ก ก็มีความสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเหล่านี้เติบโตไปแบบมีคุณภาพ  แต่ถึงกระนั้นในโลกที่มีเทคโนโลยี และสิ่งเร้าเกิดขึ้นมากมาย ทำให้เด็กในช่วงวัยนี้หันเหไปยังสิ่งอื่นที่ไม่ใช่การอ่านหนังสือ ซึ่งจะมี สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ อะไรบ้างเราไปดูกัน สรุปผลสำรวจ สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ 8.9% สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ เพราะชอบเล่นเกม หากจะว่าไปเกมก็มีข้อดีอยู่ในตัว เพราะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ แต่ต้องมีการแบ่งเวลาที่เป็นสัดส่วนและเหมาะสม ซึ่งหากเอนเอียงไปทางเล่นเกมจนละเลยการอ่านหนังสือ ก็ย่อมไม่เป็นผลดีต่อตัวเด็กที่อาจส่งผลถึงการเรียนให้ต่ำกว่ามาตรฐานลง   17.9% ไม่ชอบ ในส่วนนี้อาจจะไม่ใช่กลุ่มที่ต้องกังวล เพราะในบางครั้งเด็กเหล่านี้เจอหนังสือที่ไม่ถูกใจ หรือไม่ตรงกับความชื่นชอบของตัวเอง ฉะนั้นในส่วนนี้หากเสริมจิตวิทยาแก่เด็กให้รู้จักคิดและค้นหาตัวตน อาจทำให้เด็กรู้จักตัวเองและรู้ว่าตัวเองชอบอะไร แล้วหลังจากนั้นตัวเด็กจะเป็นฝ่ายออกไปตามหาหนังสือในเรื่องที่เขาชื่นชอบ 26.7% ชอบดูโทรทัศน์ เป็นเรื่องปกติที่ทุกบ้านต้องมีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผู้ปกครองต้องกวดขันคือ ประเภทของรายการที่ดูและระยะเวลาในการรับชมต่อครั้ง เพื่อให้การดูโทรทัศน์เกิดประโยชน์และได้ความผ่อนคลาย มิใช่จนทำให้เป็น สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ เพราะหมดเวลาไปกับมันจนมากเกินไป กระทั่งส่งผลเสียต่อตัวเด็ก   35.6% อ่านไม่คล่อง ยังถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะภาษาไทยมีขั้นตอนการเรียนที่ซับซ้อน ฉะนั้นนอกเหนือจากการเรียนในห้อง ผู้ปกครองต้องทำหน้าเรื่องที่เป็นผู้ช่วยครูอีกทีหนึ่ง ด้วยการให้เด็กเริ่มอ่านจากสิ่งที่ชอบบ่อยๆ…

ความรู้นอกตำรา ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน จริงหรือไม่

ความรู้นอกตำรา ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน จริงหรือไม่

หลายคนอาจจะทราบกันดีว่า อีสาน คือดินแดนที่อยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่วนลาว คือประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกับไทยทางฟากขวาของแม่น้ำโขง แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้ว ลาว VS อีสาน กลุ่มคนทั้งสองพื้นที่นี้ แท้จริงแล้ว คือกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ความรู้นอกตำรา ที่น่าสนใจ ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน ก่อนอื่นที่จะเข้าเรื่องราวของลาว VS อีสานต้องเริ่มจากในยุคที่มีเพียงอาณาจักรและนครรัฐ ซึ่งยังไม่มีประเทศและเขตแดนบนแผนที่ ตามแนวคิดอย่างชาติตะวันตก จวบจนชาติตะวันตกเข้ามายังดินแดนแห่งนี้เพื่อล่าอาณานิคมและบังคับให้สยามต้องร่างแผนที่เพื่อแบ่งปันเขตแดนให้เป็นสัดส่วน โดยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสได้คืบคลานเข้ามาจากฝั่งเวียดนามและกัมพูชาจนมาถึงลาวบริเวณแม่น้ำโขง ซึ่งฝรั่งเศสต้องการครอบครองแม่น้ำสายนี้เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่การุกรานจีน สุดท้ายสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงปักปันเขตแดนต่อกันแล้วใช้แม่น้ำเป็นตัวกันระหว่างเขตแดน ในสมัยรัชกาลที่5 ภายหลังการได้ลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยาม ได้กลายเป็นโจทย์สำคัญของรัชกาลที่ 5 ที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อหลอมรวมกลุ่มลาวให้กลายเป็นไทย เพราะอุปสรรคในเรื่องของชื่อ ที่ในบางมุมเหมือนมีลักษณะเหยียดหยาม และลักษณะของชาติพันธุ์ลาวที่ถูกสร้างอัตลักษณ์จนมีความแตกต่างกับสยาม ในกรุงเทพฯ นี่จึงเป็นงานสำคัญที่หากปล่อยผ่านไปอาจเกิดลักษณะการสร้างรัฐที่ไม่แข็งแรง จนอาจเกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน สุดท้ายรัชกาลที่ 5 จึงเลือกทลายชื่อเดิมที่นิยมเรียกกันว่า “ลาว” แล้วนิยามชื่อใหม่ให้กับให้กับพวกเขาว่า “ชาวอีสาน” และบรรจุให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของไทย จนเมื่อเวลาผ่านไปช่องว่างที่มีต่อก็เรียบสนิทขึ้น แม้อัตลักษณ์ความเป็นลาว VS…

จริงหรือไม่ ! ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น คนในชาตินั้นจะ เก่งภาษาอังกฤษ

จริงหรือไม่ ! ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น คนในชาตินั้นจะ เก่งภาษาอังกฤษ

ประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม สวนมาก เก่งภาษาอังกฤษ จริงหรือ