เทคนิคการอ่าน

เทคนิคการอ่าน

เคล็ดลับอ่านหนังสือ สอบจำขึ้นใจสอบรอบนี้ผ่านแน่

เคล็ดลับอ่านหนังสือ สอบจำขึ้นใจ สอบรอบนี้ผ่านแน่ แน่นอนว่าในการสอบ ทุกครั้ง จะต้องทำความเข้าใจ หรืออ่านจนให้เกิดความเข้าใจและจำได้ขึ้นใจ จะทำให้ผู้ที่เข้าสอบสอบผ่าน หรือสอบได้ในทุกครั้งที่เข้าสอบ ดังนั้นเรามีเคล็ดลับการอ่าน หนังสือจำขึ้นใจ โดยมีเคล็ดลับง่ายๆดังต่อไปนี้ หลังจากที่เก็บรายละเอียดเนื้อหาในส่วนต่างๆที่คำคัญแล้ว อีกหนึ่ง เคล็ดลับการอ่านหนังสือ การจำคือ การสรุปเนื้อหาที่สำคัญ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความ เข้าใจและสามารถเข้าใจรายละเอียดของเนื้อหาได้ ผู้อ่านควร สรุปเนื้อหาสำคัญ ทุกครั้ง หลังจากที่ อ่านเนื้อหาจบในแต่ละบท เพื่อที่ตัวเองจะสามารถนำไปทบทวนทำความเข้าใจในเนื้อหาที่สำคัญได้ง่ายขึ้น โดยที่ผู้อ่านควร สรุปโดยใช้การจดบันทึก และใช้ปากกาที่มีสีสันแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ ช่วยในการจดจำได้ง่าย การท่องจำ คือลักษณะการอ่านข้อความเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา จนทำให้เกิดการจำที่ลืมได้ยาก เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่ช่วยให้ผู้เข้าสอบ สามารถที่จะทำการสอบผ่านได้ โดยที่ผู้เข้าสอบ ท่องจำในส่วนของ เนื้อหาสำคัญที่ตัวเองได้สรุปไว้ จะทำให้ผู้อ่านสามารถจำข้อความหรือเนื้อหานั้นได้อย่างแม่นยำ   เคล็ดลับการอ่านหนังสือ หน้าห้องสอบ หรือการอ่านหนังสือก่อนที่จะเข้าห้องสอบ ถือว่าเป็นโค้งสุดท้ายก่อนที่จะเข้าห้องสอบ โดยผู้ที่จะเข้าสอบสามารถนำสรุปเนื้อหาในแต่ละบทที่ตัวเองสรุปไว้แล้วนั้นมาอ่านทบทวนอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความแน่ใจในการทำข้อสอบ โดยการทบทวน ในส่วนที่ตัวเองไม่มั่นใจ หรือในส่วนที่ทำความเข้าใจได้ยาก โดยการอ่าน…

เทคนิค การอ่านจับใจความ จับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความ ง่ายนิดเดียว อยู่ที่การฝึกฝน ถ้าทำได้ก็เรียนเก่ง

การจะเรียนเก่งประการหนึ่งต้องเข้าใจเนื้อหาในหนังสือหรือตำราที่เรียนด้วย  แต่นักเรียน  นักศึกษาหลายคนมีปัญหาการอ่านด้านจับใจความ  อ่านจบแล้วไม่เข้าใจแจ่มแจ้งหรือไม่รู้ว่าประเด็นสำคัญคืออะไร  ดังนั้นมาฝึกฝน การอ่านจับใจความ ที่จริงๆ แล้วง่ายนิดเดียวกันดีกว่า… การอ่านจับใจความ ใช้เทคนิคอย่างนี้ เรียนดีแน่ โปรแกรมคร่าวๆ ก่อน เราย่อมรู้ว่าสิ่งที่จะอ่านคือวิชาอะไร  จะได้พบเจออะไรในหนังสือบ้าง  ให้โปรแกรมสิ่งนั้นสู่สมองคร่าวๆ เพื่อตีวงความเข้าใจและทำให้สมาธิพุ่งตรงไปที่การอ่านด้วย อ่านไล่เล่นๆ การอ่านจับใจความไม่ใช่การอ่านหนังสือหน้าชั้นเรียน  ดังนั้นไม่ต้องอ่านออกเสียงหรือค่อยๆ สะกดไปทีละตัว  ให้อ่านไล่เร็วๆ ไปเนื่องจากสมองของเราจะมองภาพรวมแบบอัตโนมัติ  (จะสังเกตว่าการอ่านเร็วๆ แม้มีคำผิดเราก็ยังอ่านคำนั้นได้ถูกอยู่ดี) สังเกตย่อหน้า วิธีการเขียนหนังสือของแต่ละคนแตกต่างกัน  แต่พบว่าผู้เขียนมักวางใจความสำคัญหรือประเด็นสำคัญไว้ที่แต่ละย่อหน้าแล้วตามด้วยการบรรยายรายละเอียดต่างๆ  ทำให้อ่านเข้าใจง่าย  รู้ได้ทันทีว่าอะไรคือส่วนสำคัญ  ดังนั้นให้สังเกตที่ย่อหน้าก่อนเสมอว่ามีใจความสำคัญซุกซ่อนอยู่หรือไม่?  ใจร้อนบ้างก็ได้ ผู้อ่านอาจขี้โกงเล็กน้อยด้วยการข้ามไปอ่านท้ายบทหรือท้ายหนังสือ  ที่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นบทสรุปหรือประเด็นสำคัญที่เราค้นหาอยู่ สร้างภาพ… การอ่านจับใจความที่ดีควรจินตนาการเนื้อหาที่กำลังอ่านให้เป็นภาพเหมือนดูภาพยนตร์  นอกจากความเพลิดเพลินแล้วยังช่วยจดจำเนื้อหาไปตามลำดับซึ่งช่วยไม่ให้สับสนด้วย  แต่ต้องจินตนาการแบบหนังสั้นที่มีประเด็นสำคัญ  ไม่ลงรายละเอียดให้เสียเวลา หมายเอาไว้ ในที่นี้คือการขีดเส้นใต้หรือไฮไลต์ข้อความสำคัญที่พบเจอ  หากอ่านซ้ำอีกจะได้เห็น  จำไม่ได้ก็จะได้หาเจอด้วย  ยกตัวอย่างเช่น  ในการเลือกตั้งครั้งนี้สมชัยได้เป็นประธานนักเรียนเนื่องจากเขามีความเป็นผู้นำสูงเมื่อเทียบกับผู้ลงสมัครคนอื่นๆ  (จะเห็นว่าส่วนที่ขีดเส้นใต้สำคัญที่สุด  นอกนั้นเป็นคำพรรณนา) และเมื่ออ่านไปเจอคำว่าสมชัยก็อาจเป็นได้ว่าเนื้อหาในส่วนนั้นกล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานนักเรียนนั่นเอง โน้ตย่อก็ดี การจำไม่สู้การจด …

ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนไหนของหนังสือต้องอ่านให้จำ เน้นย้ำเป็นพิเศษ

ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนไหนของหนังสือต้องอ่านให้จำ เน้นย้ำเป็นพิเศษ

ในการอ่านหนังสือสักเล่มโดยเฉพาะหนังสือเรียน ตำรา หรือหนังสือสอบ อย่างน้อยเราก็ควรจดจำส่วนต่าง ๆ ของหนังสือเล่มนั้นได้เป็นอย่างดี แต่จะมีบางส่วนที่จะต้องจำโดยใช้เทคนิคการอ่านหนังสือที่พิเศษสักหน่อย เพื่อทำให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพ อ่านแล้วไม่ใช่แค่จำได้ แต่เข้าใจอย่างแท้จริง  เราควรรู้ถึง ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ กันก่อน เพื่อการอ่านหนังสือ จะได้มีประสิทธิภาพ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนแรกคือ หัวเรื่อง หัวข้อ หรือพาดหัวของหนังสือ การจดจำหัวเรื่องหรือหัวข้อในหนังสือให้ได้นั้น จะช่วยให้เมื่อต้องทำสอบ เราจะนึกออกได้ทันทีว่าคำตอบที่เราต้องการอยู่ในหัวข้อนั้น ๆ ช่วยให้ความคิดของเราไม่กระจัดกระจาย สามารถตอบได้ตรงจุด ตรงคำถามมากขึ้น ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนที่สองคือ เนื้อหาของหนังสือ   เนื้อหาหรือข้อมูลในหนังสือทั่วไปเป็นส่วนที่มีปริมาณมากที่สุด แน่นอนว่าการจำทั้งหมดย่อมเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะกับตำราเล่มหนาปึ้ก ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักเลือกจำบางอย่าง ปล่อยผ่านบางอย่าง โดยการคาดเดาจากอาจารย์ที่สอน ว่าท่านเน้นย้ำเนื้อหาใดเป็นพิเศษ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนที่สามคือ ใจความสำคัญ หรือ main…

How to อ่านหนังสือ อย่างไร…ให้เข้าสมองใน 7 วัน

How to อ่านหนังสือ อย่างไร ? … ให้เข้าสมองได้ใน 7 วัน

               เบื่อกันไหม…? ท่องตำราเท่าไหร่ก็ไม่เข้าสมองสักที เชื่อว่าปัญหาการท่องหนังสือแล้วไม่เข้าใจนั้นทุกคนต้องเคยพบเจอมาอย่างแน่นอน ยิ่งในช่วงสอบอ่านดึกดื่นขนาดไหน สุดท้ายก็จำไม่ได้สักอย่าง! ดื่มเครื่องดื่มบำรุงสมองก็ไม่เห็นผลต้องทำอย่างไร บทความนี้มี 5 เทคนิคดี ๆ อ่านหนังสือ ให้เข้าใจเข้าสมองได้ใน  7 วัน โดยที่ไม่หักโหมจนเกินไป ดังนี้ เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ให้เข้าสมอง ทำแผนการอ่านเนื้อหาสาระที่จะสอบล่วงหน้า  7 วัน ซึ่งการสอบจะสอบติดกันบางโรงเรียน 3 วันเลย ดังนั้นทุกคนต้องวางแผนว่าจะอ่านวิชาใดก่อน – หลัง แต่ละวิชามีเนื้อหามากหรือน้อยเพียงใด แล้วจัดการแบ่งเวลาให้พอเหมาะ ไม่อ่านเนื้อหาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากทุกคน อ่านหนังสือแล้วรู้สึกล้าก็ไม่ควรฟื้นร่างกายควรพักแล้วค่อยเริ่มอ่านใหม่ เพราะการฟื้นร่างกายสมองก็ไม่รับความรู้และยังเป็นการยืดเวลาสมองตันไปอีกจะดีที่สุด หากหยุดพักแล้วกลับมาอ่านใหม่ อ่านเนื้อหา 35 นาที พัก 5 นาที ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้การอ่านดีขึ้นและอ่านได้นานขึ้นด้วย เพราะจากการวิจัยคนปกติส่วนมากให้ความสนใจกับสิ่ง ๆ หนึ่งได้มากสุดราว 30 นาที ดังนั้นการอ่านหนังสือในช่วงเวลา 35…

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

               ความขยันก็พอมี ความตั้งใจก็เต็มเปี่ยม แต่พอหยิบหนังสือมาอ่านทีไรมันก็เบื่อหน่ายทุกที เพราะ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เลย ขนาดเป็นวิชาที่ใครๆ ก็บอกว่าค่อนข้างง่าย แต่เราอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ต้องวนกลับมาอ่านจุดเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เสียเวลามาก ยิ่งไปกว่านั้น หลายครั้งการอ่านซ้ำที่เดิมก็เพิ่มเติมความสับสนให้เรามากขึ้นอีก แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว มาสังเกตกันดูสิว่า เรามีปัญหาตรงจุดไหนใน 3 สาเหตุนี้บ้าง จะได้แก้ไขถูกจุด อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไรบ้าง ? 1. ไม่มีสมาธิในการอ่าน             นี่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ที่เด็กหลายคนเป็นกัน คือไม่มีสมาธิในระหว่างที่อ่าน ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง จับต้นชนปลายไม่ถูก เหมือนกับว่ากวาดสายตาผ่านตัวอักษรไปแบบนั้นเอง ทางแก้ก็คือ ก่อนเริ่มอ่านหนังสือให้นั่งอยู่นิ่งๆ เพื่อปรับความคิดก่อน อย่าเล่นมือถือหรือดูโทรทัศน์เสร็จก็มาอ่านเลย ต้องทำสมาธิให้หัวโล่งๆ ก่อนประมาณ 10-15 นาที รับรองว่าจะอ่านเข้าใจมากขึ้นแน่นอน 2. บรรยากาศไม่เหมาะสม             ต่อให้เป็นคนสมาธิดีแค่ไหน แต่ถ้าไปนั่งอ่านในตลาดสดก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อยก็ดึงความสนใจจนเรา อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ได้…