มัธยมศีกษาตอนปลาย

รวบรวมกิจกรรมที่โควิด-19 ทำให้ นักเรียนชั้น ม. 6 มีอันต้องพลาด

รวบรวมกิจกรรมที่โควิด-19 ทำให้ นักเรียนชั้น ม.6 มีอันต้องพลาด

โควิด-19 ได้เข้ามามีผลกระทบกับผู้คนในวงกว้างให้มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปรวมไปถึงในแวดวงการศึกษา ที่ต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย แต่สำหรับเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6 หลายกิจกรรมที่พวกเขาจะได้พบเจอและสัมผัสมันเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต แต่โควิด-19 ก็ดันพรากสิ่งเหล่านั้นไปเรียบร้อย ซึ่งในวันนี้เราจะไปดูกันว่าอะไรบ้างที่โควิด-19 พรากไปจากน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 จนทำให้พลาดและไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีก กิจกรรมที่ นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาด เพราะพิษโควิด-19 กิจกรรมกีฬาสี คือกิจกรรมแรกที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาดไป เพราะสถานศึกษาเกือบทั้งหมดล้วนแต่ยกเลิกไปเพื่อความปลอดภัย ซึ่งนับว่าจะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่กิจกรรมสำคัญนี้สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 ที่จะมีโอกาสเป็นผู้กำกับและลงมือทำด้วยตนเอง น้องๆในรุ่นนี้จะไม่มีโอกาสได้ทำและได้ประสบการณ์ดีๆจากมัน กิจกรรม open house  คือกิจกรรมต่อมาที่น้องๆหลายคนยังไม่มีโอกาสไปสัมผัส เพราะมีเพียงไม่กี่มหาลัยเท่านั้นที่จัดก่อนโควิด-19 จะระบาดรอบใหม่ ทำให้นับจากนี้หากน้องๆนักเรียนชั้น ม.6 คนไหนที่ยังไม่ได้ไป open house ก็คงไม่มีโอกาสอีกแล้ว เพราะด้วยสถานการณ์เช่นนี้ที่น่าต้องใช้เวลาอีกแรมเดือนหรือนานกว่านั้นกว่าที่ทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติที่ไม่เสี่ยงอันตราย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้องๆนักเรียน ม.6 อาจจบการศึกษาแล้ว กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ในภาวะปกติเมื่อน้องๆนักเรียน ม.6 ใกล้จบ จะมีงานอำลาหรือที่เรียกว่าปัจฉิมนิเทศ แต่ในยุคโควิด19แบบนี้ การจะมามอบดอกไม้ รวมตัวกันถ่ายรูป…

เด็กซิ่ว ก็มีหัวใจ

ปรับทัศนคติ “เด็กซิ่ว” ไม่ใช่กลุ่มคนที่ต้องมี ตราบาปติดตัว

               นอกเหนือไปจากความตึงเครียดของเด็กมัธยมปลายที่ต้องช่วงชิงที่นั่งในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ปัญหาของ เด็กซิ่ว ก็มีความวุ่นวายไม่แพ้กัน ต้องขออธิบายก่อนว่าเด็กกลุ่มนี้คือเด็กที่ได้เข้าเรียนเรียบร้อยแล้ว ผ่านไป 1 ปี พวกเขาเริ่มรู้สึกว่าคณะที่ตัวเองอยู่นั้นไม่ใช่ตัวตนของเขา จึงได้ทำการ “ซิ่ว” หรือลงสนามสอบใหม่เพื่อย้ายคณะ ในการสอบแข่งขันแต่ละปี จึงมีประเด็นถกเถียงกันมากมาย ว่าเด็กกลุ่มนี้มากินที่เด็กที่จบปีปัจจุบัน แถมยังได้เปรียบว่าในเรื่องของประสบการณ์ ทำความเข้าใจกันใหม่กับคำว่า เด็กซิ่ว                ทีนี้เมื่อกลุ่ม เด็กซิ่ว ได้เข้าคณะที่ชอบแล้ว เวลาอยู่กับเพื่อนร่วมรุ่น ตัวเองก็จะมีอายุมากกว่า เคยเรียนที่อื่นมาแล้ว บางครั้งจึงเข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ ถึงเข้าได้ก็ไม่สนิทใจมากเท่ากับรุ่นราวคราวเดียวกัน หากเป็นคนที่จิตใจไม่เข้มแข้งพอ ก็จะมีภาวะตึงเครียด และอาจรุนแรงจนถึงซึมเศร้าได้ แม้ว่าตอนนี้จะมีมุมมองที่เปิดกว้างเกี่ยวกับเด็กย้ายที่เรียนกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีการบูลลี่แฝงในสังคมอยู่ดี                เราจึงควรมาทำความเข้าใจกันใหม่ว่า เด็กซิ่ว ไม่ใช่คนที่ทำความผิดอะไรเลย แล้วก็ไม่ควรได้รับการตอบสนองจากสังคมในแบบที่แปลกแยกไปจากเพื่อนๆ ด้วย ในทางกลับกัน เราควรชื่นชมเด็กกลุ่มนี้ ที่กล้าเลือกในสิ่งที่ตัวเองชอบจริงๆ มากกว่า เพราะมันจะเป็นทักษะที่ติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิต ซึ่งผู้ใหญ่ทุกคนรู้ดีว่า การฝืนทำในสิ่งที่ไม่รักจนแก่ตาย มันทรมานขนาดไหน                ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่า ทำไม…

งาน Open House อีกหนึ่งตัวช่วย ในการเลือกทางเดิน ของเด็กม.ปลาย

งาน Open House อีกหนึ่งตัวช่วย ในการเลือกทางเดิน ของเด็กม.ปลาย

               เมื่อระบบการศึกษาช่วยอะไรเราไม่ได้มากนัก เราก็ต้องช่วยเหลือตัวเองอย่างถึงที่สุด เพราะสุดท้ายแล้ว ก็มีแค่เราเองเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง สำหรับคนที่เลือกไม่ได้ หรือยังลังเลว่าจะเรียนต่ออะไรดี ให้หาเวลาไปร่วม งาน Open House ของมหาวิทยาลัยที่สนใจดูสักครั้ง แน่นอนว่าถ้าไม่ติดอะไรก็ควรไปดูบรรยากาศของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมด้วย ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไรก็ยิ่งดีต่อเรามากเท่านั้น ร่วม งาน Open House มองหาทางเลือกในการศึกษาดีๆ                สำหรับน้องๆ ที่อยู่ต่างจังหวัดอันห่างไกล อาจจะไม่คุ้นเคยกับงานวิชาการภายใต้ชื่อ Open Houseมากมายนัก แต่ถ้ามีโอกาสก็แนะนำว่าควรมาเช่นกัน ยังไงก็คุ้ม เพราะงานนี้ถือเป็นการตีแผ่ให้เด็กมัธยมได้เห็นว่า คณะที่ตัวเองสนใจนั้น เป็นไปตามที่คิดและจินตนาการเอาไว้หรือไม่ เราจะได้เห็นบรรยากาศการเรียนการสอน แม้มันจะไม่เหมือนวันเรียนจริงแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้เห็นอะไรเลย แล้วก็ยังได้ฟังประสบการณ์จากคนที่เรียนคณะนั้นจริงๆ อีกด้วย                ทุกสิ่งที่ได้จาก งาน Open House จะช่วยให้เด็กๆ พอเข้าใจว่าคณะและอาชีพที่ตัวเองใฝ่ฝันนั้นมันใช่หรือไม่ เพราะบางที่ก็จะมีรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้ว กลับมาเล่าประสบการณ์ทำงานให้กับเด็กๆ ฟังกันด้วย ทำให้มองข้ามช็อตไปได้อีกว่า ชีวิตวัยทำงานมันค่อนข้างต่างจากในรั้วมหาวิทยาลัย…

เด็กสายศิลป์ ต้องปรับความคิด ยังไง? เมื่อถูกเปรียบเทียบ

เด็กสายศิลป์ ต้องปรับความคิดยังไง? เมื่อถูกเปรียบเทียบ

               ปัญหาเรื่องการเปรียบเทียบเด็กสายวิทย์กับ เด็กสายศิลป์ นั้นมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา ส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะระบบชนชั้นวรรณะของกลุ่มอาชีพในสังคม หากได้เป็นหมอ วิศวกร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ก็จะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนหัวดี มีความสามารถมาก กว่าจะสอบเข้าและกว่าจะเรียนจบมาได้ก็ไม่ธรรมดา และที่ร้ายไปกว่านั้น ความเชื่อเล็กๆ ที่แฝงอยู่ก็คือ อาชีพพวกนี้ทำเงินได้มากกว่าอาชีพสายศิลป์โดยเฉลี่ยนั่นเอง เด็กสายศิลป์ ต้องทำอย่างไรเมื่อ ถูกเปรียบเทียบ                เมื่อเป็นเช่นนี้ เด็กสายศิลป์ จึงถูกเปรียบเทียบตั้งแต่เด็กยันโต ตอนขึ้นมัธยมปลายก็จะมีแต่คนบอกว่า หัวไม่ดีแน่ๆ ถึงต้องเลือกเรียนสายศิลป์ เรียนทางนี้จนไปทางเลือกน้อย จะไปเรียนอะไรต่อได้ แล้วถ้าต่อยอดไปถึงการประกอบอาชีพ จะมีการงานที่มั่นคงได้อย่างไร เหมือนถูกตัดสินทั้งชีวิตตั้งแต่ก้าวแรกที่เริ่มเรียน จุดที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ คนที่เปรียบเทียบมักจะเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้บรรทัดฐานตัวเองตัดสินเสียด้วย                ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ เด็กสายศิลป์ หลายคนจะรู้สึกไม่ดี แรกๆ อาจจะไม่ได้คิดอะไร แต่นานไปมันจะซึบซับจนเขาอาจหลงคิดว่าเขาไร้ศักยภาพจริงๆ แต่ในเมื่อเราเปลี่ยนใครในสังคมไม่ได้เลย และเปลี่ยนตัวเองได้ง่ายกว่า จึงต้องหันมาดูแลความคิดของตัวเองให้เป็นไปในเชิงบวกเสมอ ด้วยการเข้าใจถึงคุณค่าในสิ่งที่เราเลือก เลือกเพราะความชอบ เลือกเพราะเราถนัดในสิ่งนี้ จะเป็นสายศิลป์หรือสายวิทย์ มันเทียบไม่ได้ว่าใครเก่งกว่า                เด็กสายศิลป์…

สิ่งที่น้อง ๆ ม.6 ต้องรู้ไว้เพื่อ เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง ?

สิ่งที่น้อง ๆ ม.6 ต้องรู้ไว้เพื่อ เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง

          การเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปี และมัธยมศึกษา 6 ปี แน่นอนว่ากรอบการเรียนรู้ย่อมแตกต่างกัน ยิ่งเลื่อนระดับชั้นมากเท่าใดก็ยิ่งหล่อหลอมให้ตัวน้อง ๆ เป็นผู้ใหญ่ที่มากขึ้น ขณะที่การก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยของน้อง ๆ ชั้น ม.6  อาจกล่าวได้ว่าเป็นก้าวใหญ่ครั้งสำคัญของน้อง ๆ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้อง ๆจะต้องพบอะไรบ้าง กับชีวิตการเรียนในชั้นมหาวิทยาลัย วันนี้พี่ในฐานะเด็ก59 จะเปิดประสบการณ์ตรงเพื่อให้น้อง ๆ ไว้เตรียมรับมือ สิ่งที่น้อง ๆ ม.6 ต้องรู้ไว้เพื่อ เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง ? การเตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัยสำหรับเด็ก ม.6 มีอะไรบ้าง           สิ่งแรกที่ต้อง เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย คือ การจัดตารางชีวิตของตนเอง เพราะการเรียนมหาวิทยาลัยไม่มีการเข้าแถวตอนเช้า น้อง ๆ จะต้องมีระเบียบวินัยในตัวเองเพื่อพาตัวเองมาเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการไม่มาเข้าชั้นเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแม้ไม่มีรายงานให้ผู้ปกครองทราบ แต่หากมีการเช็คชั่วโมงเรียนแล้วขาดเกินเกณฑ์ น้อง ๆ ก็อาจจะต้องถอนรายวิชานั้นไป            สิ่งต่อมาที่ต้อง…