Month: October 2020

เคล็ดลับ ติวสอบเข้า ป.1 อย่างไร ไม่ให้ลูกเครียดจนเกินไป

               การติวสอบเข้า ป.1 ในสมัยนี้ก็เหมือนเป็นการแข่งขันวัดความสามารถ วัดความรู้ของบุตรหลานของเรา เพื่อให้พวกเขาได้สอบเข้าในโรงเรียนที่พ่อแม่หวังไว้ เพราะการติวสอบเข้า ป.1 จะช่วยให้ลูกของเราได้มีพื้นฐานการเรียนที่ขึ้น อีกทั้งรวมไปถึงเวลาที่พวกเขาได้เข้าสนามสอบ จะได้มีความพร้อมและความมั่นใจในการทำข้อสอบนั่นเอง แต่จะทำอย่างไรให้การ ติวสอบเข้า ป. 1 ในครั้งนี้เหมือนเป็นเรื่องง่ายสำหรับลูก และไม่กดดันจนพวกเขาเครียดจนเกินไป เคล็ดลับดีๆกับการ ติวสอบเข้า ป.1แบบที่เด็กๆไม่เครียด                ซึ่งการเตรียมสอบเข้า ป. 1 หากจะทำให้ถูกทางและไม่ทำให้เด็กเครียดจนเกินไป ก็ควรเลือกแนวข้อสอบ หรือติววิชาที่จะไปสอบให้ตรงกับโรงเรียนที่เราได้เลือกไว้ เพราะเหมือนเป็นการจำกัดเฉพาะทางไปเลย ไม่ต้องลงเรียนหลายวิชาหรือด้านที่ไม่ได้ไปสอบอาจจะทำให้เยอะจนเกินไป อย่างถ้าจะไปสอบแนวสาธิต ก็ควรเลือกเรียน ติวสอบเข้า ป. 1 แนวสาธิตไปเลย ซึ่งทางด้านนี้เขาจะเน้นในเรื่องของเชาว์ปัญญาเป็นหลัก และส่วนใหญ่โรงเรียนติวทั้งหลายเขาจะนำแนวการสอบนั้นมาให้ลูกของเราได้เรียน                หรือพ่อแม่บางคนเลือกสายคาทอลิก ซึ่งด้านนี้มักจะเน้นไปทางด้านวิชาการเป็นหลัก เด็ก ๆ ต้องอ่านโจทย์และทำข้อสอบเอง รวมไปถึงการเขียนกระดาษคำตอบ และด้านนี้ก็ดูเหมือนจะยากกว่า แต่ถ้าเด็กได้รับการฝึกฝนทางด้านนี้โดยตรง รับรองว่าเมื่อไปลงสนามสอบจริง ๆ พวกเขาจะทำได้ดีเลยทีเดียว เพราะได้รับการปูพื้นฐานด้านนี้มาโดยตรง…

การสร้างสายใย ที่ดีที่สุดนั้นก็คือ การเล่นกับลูก ให้สนุกและมีความสุข

“การสร้างสายใย” ที่ดีที่สุดนั้นก็คือ การเล่นกับลูก ให้สนุกและมีความสุข

               การสร้างสายใย นั้นเหมือนเป็นการสร้างความรักความผูกพัน และความเชื่อใจให้กับลูกของเรา ที่มีต่อพ่อแม่ของพวกเขา หากสายใยเส้นนี้แข็งแรงและมั่นคง มันจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ของเรากับลูก ไปในทิศทางที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียวในระยะยาว ไม่ว่าเขาจะเติบโตจนไปเป็นผู้ใหญ่ไปแล้วก็ตาม มักจะจดจำความรู้สึกที่โอบอุ้มไปด้วยความปลอดภัยและมีความสุขเอาไว้ในใจเสมอ การเล่นกับลูกคือการสร้างสายใยที่ดีที่สุด                ถึงแม้ว่า การสร้างสายใย ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่หลาย ๆ บ้านได้ละเลยในเรื่องของเวลาจนทำให้บางครั้ง การที่เราได้เล่นกับเขานั้นถือเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เนื่องจากสมัยนี้ต้องดิ้นรนทำงานเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวของตัวเอง จนลืมไปว่าแท้จริงแล้วเพียงแค่สละเวลาส่วนตัว ของเราสักนิดนึงในแต่ละวันที่จะเล่นกับเขา แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม เพียงแค่นี้สามารถช่วยเสิรมใน การสร้างสายใย ได้แล้ว                ซึ่งพวกเขาในวัยนี้ยังไม่ต้องการเงินทองอะไรมากมาย หรือของเล่นที่ราคาสูง ๆ เลย เขาแค่ต้องการที่จะเล่นสนุกกับพ่อแม่ของพวกเท่านั่นเอง เพราะพวกเขาจะเปิดตัวตนของตัวเองออกมา เมื่ออยู่กับคนที่รู้สึกปลอดภัย ถึงแม้ในบ้างบ้านอาจจะมีครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหนหรืออาจจะเป็น ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย คุณแม่หรือคุณพ่อกเลี้ยงเดี่ยว ก็สามารถสร้างสายใยนี้ขึ้นมาได้เหมือนกัน โดยไม่ต้องกังวลหรือกลัวอะไรเลย เพราะเด็กเขาจะรับรู้ถึงความรู้สึกและความรักที่เรามอบให้เขาได้เอง…

การซิ่วไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิด แต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองต่างหากที่จะมองว่ามันคือสิ่งที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร เวลาที่มีอยู่ เราจะต้องทำมันออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

ทำความเข้าใจ ข้อดีของการซิ่ว ทั้งซิ่วไปเรียนและซิ่วอยู่บ้าน ใช่ว่าจะแย่เสมอไป

               บางครั้งการเลือกคณะที่ใช่ สาขาที่ชอบก็เป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กม.6 มากๆ เพราะเนื่องการศึกษาที่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องการต่อยอดในอนาคต หรือแม้กระทั่งในบางโรงเรียนก็มีประสบการณ์ ข่าวสารหรือสื่อที่บ่งบอกในการเลือกคณะ สาขาหรืออาชีพในปัจจุบันที่ไม่ได้มาก จนทำให้เด็กม.6หลายคนที่ยังไม่รู้ตัวเองว่าชอบสิ่งใดหรืออยากจะประกอบอาชีพใด สิ่งนี้ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเลือกคณะหรือสาขาที่ตนเองต้องการไม่ได้ แต่เมื่อถึงเวลาในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การเลือกคณะหรือสาขาก็เป็นเรื่องยากมากๆสำหรับพวกเขา เพราะว่าถ้าเลือกคณะหรือสาขาที่ตนเองไม่ชอบและไม่สามารถเรียนได้ สิ่งนี้จะนำไปสู่หนทางในการซิ่ว โดยการซิ่วเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่หลายๆคนมักจะเป็นกังวลมากต่อบุตรหลาน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเสมอ บทความนี้จะนำท่านผู้อ่านได้ทราบถึง ข้อดีของการซิ่ว ดังนี้ แนะนำ ข้อดีของการซิ่ว ข้อดีของการซิ่ว มีเวลาในการเตรียมตัวมาก การซิ่วเพื่อเตรียมตัวในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ใช่ สาขาที่ชอบนั้นมีระยะเวลาในการเตรียมตัวอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ค่อนข้างจะมาก ทำให้เราสามารถวางแผนในการอ่านหนังสือเยอะมาก โดยเฉพาะถ้าหากเราเตรียมตัวทุกอย่างเสร็จก่อนกำหนดสอบ ก็จะมีเวลาในการทบทวนบทเรียนอีกครั้งก่อนเข้าสู่สนามสอบอีกด้วย ข้อดีของการซิ่ว มีสมาธิกับหนังสือ ในกรณีนี้หมายถึงการซิ่วอยู่บ้าน ซึ่งเราจะมีสมาธิและจดจ่ออยู่แต่กับหนังสือและเป้าหมายในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยตามที่ฝันไว้ อีกทั้งที่บ้านเป็นที่ๆเราอยู่แล้วสบายใจและรู้สึกดี ยิ่งทำให้เราไม่รู้สึกเครียดกับกับอ่านหนังสือมากเกินไปอีกด้วย ข้อดีของการซิ่ว ค้นหาสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเองจริงๆ ในการที่เราซิ่วออกมานั้น เพราะว่าคณะที่เราสอบเข้าไปได้ ไม่ใช่คณะที่เราชอบจริงๆหรือต่อให้คณะที่เราชอบจริงๆแต่เมื่อสอบเข้าไปแล้ว เรากลับไม่สามารถเรียนได้เลย ก็เป็นเหตุผลในการซิ่วได้ ซึ่งในระยะเวลาที่เตรียมตัวนั้น เราสามารถที่จะค้นหาตัวเองใหม่อีกครั้ง ศึกษาข้อมูลในคณะต่างๆอาชีพต่างๆว่าสิ่งใดที่เหมาะกับเราและเราสามารถเรียนได้ หรืออาชีพนั้นเป็นอาชีพที่จะอยู่กับเราไปอีกครึ่งค่อนชีวิตหรือไม่               การซิ่วไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิด แต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองต่างหากที่จะมองว่ามันคือสิ่งที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร…

สิ่งที่น้อง ๆ ม.6 ต้องรู้ไว้เพื่อ เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง ?

สิ่งที่น้อง ๆ ม.6 ต้องรู้ไว้เพื่อ เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง

          การเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปี และมัธยมศึกษา 6 ปี แน่นอนว่ากรอบการเรียนรู้ย่อมแตกต่างกัน ยิ่งเลื่อนระดับชั้นมากเท่าใดก็ยิ่งหล่อหลอมให้ตัวน้อง ๆ เป็นผู้ใหญ่ที่มากขึ้น ขณะที่การก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยของน้อง ๆ ชั้น ม.6  อาจกล่าวได้ว่าเป็นก้าวใหญ่ครั้งสำคัญของน้อง ๆ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้อง ๆจะต้องพบอะไรบ้าง กับชีวิตการเรียนในชั้นมหาวิทยาลัย วันนี้พี่ในฐานะเด็ก59 จะเปิดประสบการณ์ตรงเพื่อให้น้อง ๆ ไว้เตรียมรับมือ สิ่งที่น้อง ๆ ม.6 ต้องรู้ไว้เพื่อ เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย มีอะไรบ้าง ? การเตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัยสำหรับเด็ก ม.6 มีอะไรบ้าง           สิ่งแรกที่ต้อง เตรียมตัวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย คือ การจัดตารางชีวิตของตนเอง เพราะการเรียนมหาวิทยาลัยไม่มีการเข้าแถวตอนเช้า น้อง ๆ จะต้องมีระเบียบวินัยในตัวเองเพื่อพาตัวเองมาเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการไม่มาเข้าชั้นเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแม้ไม่มีรายงานให้ผู้ปกครองทราบ แต่หากมีการเช็คชั่วโมงเรียนแล้วขาดเกินเกณฑ์ น้อง ๆ ก็อาจจะต้องถอนรายวิชานั้นไป            สิ่งต่อมาที่ต้อง…

น้อง ๆ นักเรียน ชั้น ม.3 เลือกสายการเรียน ม.4 อย่างไรให้ปังปุริเย่

น้อง ๆ นักเรียน ชั้น ม.3 เลือกสายการเรียน ม.4 อย่างไรให้ปังปุริเย่

          เชื่อว่าตอนนี้น้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมพึ่งผ่านพ้นช่วงสอบกลางภาคไปไม่นาน สำหรับน้อง ๆ ชั้น ม.3 อาจกำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจกับอนาคตของตัวเอง จะต่อสายสามัญ ม.4 หรือ ต่อสายอาชีพ แต่สำหรับวันนี้หากน้อง ๆ คนไหนเลือกได้เบื้องต้นแล้วว่าจะต่อสายสามัญ แต่จะ เลือกสายการเรียน ม.4 อะไรดี เพื่อให้ตรงกับตัวเองมากที่สุด วันนี้พี่มีเทคนิคมาแนะนำ เทคนิคการเลือกสายการเรียน ม.4 ให้ปังปุริเย่            ขั้นต้นน้อง ๆ ต้องจะต้องดูเกรดของตัวเองกับหลักเกณฑ์ของสถาบันที่น้อง ๆ กำลังจะเข้า ว่าตัวเองสามารถเข้าสายการเรียนไหนได้บ้าง  เช่น สายคณิต-วิทย์, สายศิลป์คำนวณ คณิต-อังกฤษ, สายศิลป์ภาษา, สายไทย-สังคม ถึงตอนนี้พี่มีข้อแนะนำว่าทุกสายการเรียนต่างมีความสำคัญเท่ากัน ห้ามน้อง ๆ ยึดติดว่า สายวิทย์-คณิต ดีกว่าสายศิลป์คำนวณ หรือคิดว่าสายไทยสังคม มีไว้สำหรับผู้ได้คะแนนน้อย           ขณะที่น้อง ๆ บางคนมีสิทธิ์…

การเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสัมภาระด้วย ซึ่งวันนี้ในฐานะรุ่นพี่จะมาแนะนำ ของแรร์ไอเทม ที่ย้ำเลยว่าต้องนำไป มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

ของแรร์ไอเทม ที่จำเป็นต้องมี ในการออกค่ายภาคสนาม ของการเรียน รด.

          ช่วงนี้เชื่อว่าน้อง ๆ ผู้ชายมัธยมปลายหลายคนคงจะอยู่ในช่วงของการเรียน รด. ภาคที่ตั้งปกติ โดยหลังจบหลักสูตร ก็จะมีการออกค่ายภาคสนามตามท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปี ไปจนถึงต้นปีหน้า โดยระยะเวลาต่อผลัดก็ประมาณ 3-5 วัน แล้วแต่ท้องที่ ซึ่งจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสัมภาระด้วย ซึ่งวันนี้ในฐานะรุ่นพี่จะมาแนะนำ ของแรร์ไอเทม ที่ย้ำเลยว่าต้องนำไป มีอะไรบ้างไปดูกันเลย ของแรร์ไอเทมที่ต้องมีในการออกค่าย รด.           ก่อนไปค่ายภาคสนาม แนะนำว่าน้อง ๆ ต้องฟิตซ้อมออกกำลังกายให้เป็นอย่างดี เพราะนี้คือการออกค่าย รด ภาคสนามหลายวันติดต่อกัน ต้องใช้พลังงานอย่างมหาศาลกับการฝึกแต่ละฐาน อีกทั้งน้อง ๆ จะต้องไปหลับนอนในที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งอาจทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ หากไม่ฟิตซ้อมอาจทำให้หมดสติ หรือล้มป่วยได้             ทีนี้ ของแรร์ไอเทม อะไรบ้างที่ควรเตรียมไป นอกเหนือจากที่ทางศูนย์ฝึกบังคับให้นำติดตัวไป เริ่มกันที่ 1.ยากันยุง เพราะการฝึกอาจมีช่วงฐานกลางคืนในป่า รวมถึงที่พักนอน ที่กองทัพยุงพร้อมดูดเลือดน้อง ๆ…

ข้อเสียของ การซิ่วไปเรียน

ข้อเสียของ “การซิ่วไปเรียน” แย่กว่าที่ใครหลายๆ คนได้คิดไว้ !

               หลายคนอาจจะงงกับคำว่า “ซิ่วไปเรียน” มันคือ การที่นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในคณะหรือสาขานั้นๆ แต่ไม่ได้รู้สึกชอบหรือใช่ แล้วต้องการที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ตนเองชอบและใฝ่ฝันใหม่อีกครั้ง โดย การซิ่วไปเรียน นั้นจะต้องมีการเตรียมตัวในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไปพร้อมกับการเรียนในคณะปัจจุบันด้วย ซึ่งใครหลายๆคนไม่ค่อยเลือกในการซิ่วแบบไปเรียน เพราะมีข้อเสียหลายอย่างมาก ข้อเสียของการซิ่วไปเรียน เหนื่อย การซิ่วไปเรียน จะต้องตื่นไปเรียนพร้อมทั้งอ่านหนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนื่อยมากๆ เพราะว่าจะต้องไปเรียนในห้องเรียน มีการบ้านในแต่ละวิชา ต้องวางแผนในการอ่านหนังสือสอบเข้ามหาวิทยาลัย รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่างๆอีกด้วย โดยปกติการไปเรียนในแต่ละวันก็ทำให้นักศึกษาหมดพลังไปเยอะแล้ว มีเวลาค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการซิ่วอยู่บ้าน ที่มีเวลาในการเตรียมตัวแบบเต็มที่ในระยะเวลาโดยประมาณ 1 ปี ซึ่งแตกต่างกับ การซิ่วไปเรียน ที่จะต้องทำหลายๆอย่างพร้อมกัน ดังนั้นการวางแผนจะต้องดีที่สุดสำหรับตัวเราเอง ร่างกายรับไม่ไหว ในการเรียนคณะปัจจุบันของเราต้องมีหลายหน้าที่ด้วยกัน พร้อมทั้งที่เราต้องเตรียมตัวในการสอบเข้าในครั้งใหม่อีกด้วย ทำให้เวลาในการพักผ่อนมีน้อยมากๆ บางครั้งอาจจะทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวลไม่สบาย เจ็บไข้ได้ป่วย หรืออาจจะทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆได้ ความกดดัน การที่เราเลือกที่จะไปคณะหรือสาขาใหม่ ทำให้คนรอบข้างมักจะตั้งคำถามกับเรา และพยายามที่จะชี้แนะในสิ่งที่พวกเขาคิด ซึ่งคำพูดเหล่านั้นอาจจะทำให้เรารู้สึกท้อแท้ หมดกำลังใจ ไม่สู้ต่อได้ ซึ่งกำลังใจชั้นดีสำหรับเด็กซิ่วก็คือ ครอบครัวที่พร้อมจะเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการ เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเราอยู่เสมอ และคนที่สำคัญที่สุดก็คือ…

เกาะรั้ว โรงเรียนนานาชาติ ในประเทศไทย

เกาะรั้ว “โรงเรียนนานาชาติ” สถานศึกษาระดับอินเตอร์ ของไทย

            อาจมีคนเคยสงสัยว่า โรงเรียนนานาชาติคืออะไร ต่างจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาของไทยอย่างไรบ้าง วันนี้จะชวนคุณไปเกาะรั้วสถานศึกษาที่เรียกว่าโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยโรงเรียนนานาชาติก็คือสถานศึกษาที่ให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนหลากหลายเชื้อชาติ ในแถบเอเชียอาคเนย์ ข้อมูลจากสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทยระบุว่า  ปี 2560 โรงเรียนนานาชาติ ในประเทศไทยขยายตัวเติบโตมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 18-20 ซึ่งถือว่าโตแบบก้าวกระโดด โดยมีจำนวนสถานศึกษามากกว่า 175 แห่ง จำนวนครู 7,200 คน และมีโรงเรียนนานาชาติในสัดส่วนสองในสามที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ การเรียนการสอนของโรงเรียนนานาชาติ            โรงเรียนนานาชาติในบ้านเรา แบ่งออกเป็น 4 หลักสูตร ได้แก่             1.หลักสูตรแห่งสหราชอาณาจักร อังกฤษ และเวลส์  (UK) จัดการศึกษาภาคบังคับในกลุ่มอายุ 5-16 ปี และใช้เวลาสองปีสำหรับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น มีวิชาบังคับอย่างน้อย 3 วิชาคือ อังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นอกนั้นคือวิชาเลือก ใช้ข้อสอบสากลร่วมกันทั่วโลก (เด็กไทยนิยมเรียนมากที่สุด)            2.หลักสูตรระบบอเมริกัน (US) ใช้ระบบการเรียนการสอนของตนเองอิงมาตรฐานระดับรัฐ และระดับชาติ ส่วนใหญ่จัดการวัดผลภายในเพื่อให้นักเรียนสะสมหน่วยกิตครบถ้วนตามระบบการศึกษาแบบอเมริกัน (เด็กไทยนิยมเรียนเป็นอันดับ…

การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย แตกต่างกับใน โรงเรียน หรือ วิทยาลัย อย่างไร ?

การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย แตกต่างกับใน โรงเรียน หรือ วิทยาลัย อย่างไร ?

               น้องๆ มัธยมหลายๆคน ที่กำลังจะเตรียมตัวก้าวเข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัย ในสถานะนักศึกษาหรือนิสิต ก็คงมีความกังวลในเรื่องของ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย บทความนี้จะมาเล่าถึงการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยกัน ในรั้วมหาวิทยาลัย การใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป ค่อนข้างที่จะแตกต่างกับในโรงเรียน หรือวิทยาลัย เป็นอย่างไรมาดูกัน การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยกับชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป จัดตารางเรียนด้วยตนเอง ในโรงเรียนเมื่อเปิดเทอมเราก็คงจะได้ตารางเรียนที่ทางโรงเรียนได้จัดสรรมาให้เราแล้ว โดยเราไม่ต้องมานั่งคิดและจัดการกับมันเลย ซึ่งแตกต่างกันมากกับ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ที่เราจะต้องศึกษาหลักสูตรและมาจัดตารางเรียนด้วยตนเองทั้งหมด ซึ่งบางครั้งน้องปี1 อาจจะมีพี่กลุ่ม พี่รหัสหรือพี่ในคณะที่จะคอยช่วยเหลือบ้าง กิจกรรมต่างๆ การเป็นน้องปี1หรือเฟรชชี่ที่เพิ่งเข้ามาในมหาวิทยาลัย ก็มักจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น การรับน้อง การสันทนาการ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือค่ายอาสาต่างๆที่มีจำนวนมากในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องๆปี1 สนใจมากๆ เพราะนอกจากจะได้ไปพบผู้คนใหม่ๆ ยังได้ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย การเรียนในห้อง จากที่โรงเรียนเป็นห้องเรียนเล็กๆมีนักเรียนประมาณ 30-40 คน แต่เมื่อมาเรียนในมหาวิทยาลัยความกว้างของห้องก็ใหญ่มากขึ้น ทำให้จำนวนของผู้เรียนก็มากตามขึ้นไปด้วย สิ่งนี้อาจจะทำให้เราเสียสมาธิหรือไปสนใจเพื่อนๆในห้องมากกว่าเนื้อหาการเรียน ผู้คนมากหน้าหลายตา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในมหาวิทยาลัย มีคนจำนวนมากกว่าในโรงเรียนเป็นหลายเท่า ซึ่งการเข้าสังคมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากในมหาวิทยาลัย เพราะเราไม่เพียงที่จะเจอแค่เพื่อนในสาขาของเราเท่านั้น แต่การเรียน การทำกิจกรรมต่างๆเราก็ยังจะต้องพบเจอกับผู้อื่นอีกมากมาย ความรับผิดชอบของ…

ประสบการณ์ตรง ข้อดี / ข้อเสีย ของการเลือก “เรียนไกลบ้าน”

         เชื่อว่าน้อง ๆ นักเรียน รุ่น 64 ทุกคนในตอนนี้ต่างมุ่งมั่นตั้งใจอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยตามที่หมายปองไว้ แต่การเลือกมหาวิทยาลัยนอกจากจะเลือกตามความถนัด ความเหมาะสมกับตัวเองแล้ว ปัจจัยเรื่องของระยะทางก็มีผลอยู่ไม่น้อยเช่นกัน สำหรับวันนี้ในฐานะรุ่นพี่ปี 59 จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ว่าการเลือก เรียนไกลบ้าน มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร โดยเป็นประสบการณ์ตรงจากการเข้าไปเรียนใน กทม. ข้อดีข้อเสียของการเรียนไกลบ้าน           ในส่วนข้อดี น้อง ๆ จะเป็นอิสระ สามารถทำอะไรก็ได้ซึ่งจะไม่ถูกจับจ้องจากผู้ปกครอง ทุกสิ่งอย่างจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับน้อง ๆ ทั้งการเรียน สังคมและสภาพแวดล้อมใหม่ ที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ความทันสมัยและแสงสีต่าง ๆ ที่ยั่วยวนให้ น้อง ๆ อยากลิ้มลอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นที่อยากรู้อยากลอง แต่อย่างไรก็ตามแต่หากน้อง ๆ เป็นเด็กที่มีวินัยในตัวเอง สามารถแบ่งเวลาได้ ควบคุมตัวเองจากสิ่งเร้าในเมืองใหญ่นี้ให้เหมาะสมได้  ข้อดีของการ เรียนไกลบ้าน ในจุดนี้จะช่วยทำให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้และได้รับประสบการณ์ด้านดีอย่างแน่นอน แต่กว่าจะไปถึงขั้นนั้น น้อง ๆ…