มปลาย

ความรู้นอกตำรา ว่าด้วยเรื่องของ วิวัฒนาการของ ภาษามลายู

ความรู้นอกตำรา ว่าด้วยเรื่องของ วิวัฒนาการของ ภาษามลายู

ภาษามลายูกับอินโดนีเซีย มีความคล้ายคลึงกัน สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง ซึ่งมีผู้ใช้ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชายแดนใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์และหมู่เกาะต่างๆ โดยสาเหตุที่ทำให้ภาษานี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย มาจากการไปมาหาสู่ด้วยการคมนาคมทางเรือตั้งแต่โบราณแล้วนั่นเอง สำหรับวิวัฒนาการทางภาษาในช่วงแรกจะเป็นภาษาพูด แต่ไม่มีภาษาเขียน อีกทั้งยังเป็นภาษาสำหรับการเผยแพร่พุทธศาสนาในโลกของชาวมลายูเมื่อครั้งอดีต ทำให้มีคำบาลีและสันสกฤตปะปนอยู่ในภาษามลายูมาจนถึงปัจจุบัน กระทั่งการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามจากนักเดินเรือแถบตะวันออกกลางและอินเดีย ซึ่งใช้ภาษาอาหรับ ทำให้นับตั้งแต่นั้น ภาษามลายู มีภาษาเขียนด้วยตัวอักษรอาหรับเป็นเวลาหลายร้อยปี จุดเปลี่ยนของ ภาษามลายู ที่มีความสำคัญมาก วิวัฒนาการของ ภาษามลายู มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้ง จากการเข้ามาของเจ้าอาณานิคมอังกฤษในดินแดนแถบนี้ ซึ่งพวกเขาต้องมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองและชาวพื้นเมือง กระทั่งเกิดอุปสรรคในเรื่องการสื่อสาร แม้ว่าจะมีการศึกษาเรียนรู้ภาษาท้องถิ่น แต่เจ้าอาณานิคมอังกฤษมองว่าภาษามลายู ที่ถูกวางไว้ในระบบภาษาอาหรับ เป็นระบบภาษาที่มีการเรียนรู้ยากและใช้เวลานานสำหรับการเรียน ไล่ตั้งแต่วิธีการเขียนที่เริ่มต้นจากขวามาซ้าย ตัวพยัญชนะที่มีอยู่จำนวนมากที่จะมีอุปสรรคต่อการผสมคำ  ทำให้ท้ายที่สุดได้เปลี่ยนระบบภาษามลายูใหม่ ด้วยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบโรมัน มีพยัญชนะและสระเหมือนภาษาอังกฤษ แต่มีการเพิ่มพยัญชนะที่เป็นคำควบอีก 10 ตัว เช่น sy ny ให้เสียงครบ รวมถึงเพิ่มกฎการเติมคำอุปสรรค mem , me ,men หน้าคำกิริยาให้มีความสมบูรณ์ ที่เหลือก็มีเพียงการท่องจำคำศัพท์ให้ได้มากที่สุด…

รวบรวมกิจกรรมที่โควิด-19 ทำให้ นักเรียนชั้น ม. 6 มีอันต้องพลาด

รวบรวมกิจกรรมที่โควิด-19 ทำให้ นักเรียนชั้น ม.6 มีอันต้องพลาด

โควิด-19 ได้เข้ามามีผลกระทบกับผู้คนในวงกว้างให้มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปรวมไปถึงในแวดวงการศึกษา ที่ต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย แต่สำหรับเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6 หลายกิจกรรมที่พวกเขาจะได้พบเจอและสัมผัสมันเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต แต่โควิด-19 ก็ดันพรากสิ่งเหล่านั้นไปเรียบร้อย ซึ่งในวันนี้เราจะไปดูกันว่าอะไรบ้างที่โควิด-19 พรากไปจากน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 จนทำให้พลาดและไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีก กิจกรรมที่ นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาด เพราะพิษโควิด-19 กิจกรรมกีฬาสี คือกิจกรรมแรกที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาดไป เพราะสถานศึกษาเกือบทั้งหมดล้วนแต่ยกเลิกไปเพื่อความปลอดภัย ซึ่งนับว่าจะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่กิจกรรมสำคัญนี้สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 ที่จะมีโอกาสเป็นผู้กำกับและลงมือทำด้วยตนเอง น้องๆในรุ่นนี้จะไม่มีโอกาสได้ทำและได้ประสบการณ์ดีๆจากมัน กิจกรรม open house  คือกิจกรรมต่อมาที่น้องๆหลายคนยังไม่มีโอกาสไปสัมผัส เพราะมีเพียงไม่กี่มหาลัยเท่านั้นที่จัดก่อนโควิด-19 จะระบาดรอบใหม่ ทำให้นับจากนี้หากน้องๆนักเรียนชั้น ม.6 คนไหนที่ยังไม่ได้ไป open house ก็คงไม่มีโอกาสอีกแล้ว เพราะด้วยสถานการณ์เช่นนี้ที่น่าต้องใช้เวลาอีกแรมเดือนหรือนานกว่านั้นกว่าที่ทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติที่ไม่เสี่ยงอันตราย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้องๆนักเรียน ม.6 อาจจบการศึกษาแล้ว กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ในภาวะปกติเมื่อน้องๆนักเรียน ม.6 ใกล้จบ จะมีงานอำลาหรือที่เรียกว่าปัจฉิมนิเทศ แต่ในยุคโควิด19แบบนี้ การจะมามอบดอกไม้ รวมตัวกันถ่ายรูป…

ความรู้นอกตำรา ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน จริงหรือไม่

ความรู้นอกตำรา ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน จริงหรือไม่

หลายคนอาจจะทราบกันดีว่า อีสาน คือดินแดนที่อยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่วนลาว คือประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกับไทยทางฟากขวาของแม่น้ำโขง แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้ว ลาว VS อีสาน กลุ่มคนทั้งสองพื้นที่นี้ แท้จริงแล้ว คือกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ความรู้นอกตำรา ที่น่าสนใจ ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน ก่อนอื่นที่จะเข้าเรื่องราวของลาว VS อีสานต้องเริ่มจากในยุคที่มีเพียงอาณาจักรและนครรัฐ ซึ่งยังไม่มีประเทศและเขตแดนบนแผนที่ ตามแนวคิดอย่างชาติตะวันตก จวบจนชาติตะวันตกเข้ามายังดินแดนแห่งนี้เพื่อล่าอาณานิคมและบังคับให้สยามต้องร่างแผนที่เพื่อแบ่งปันเขตแดนให้เป็นสัดส่วน โดยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสได้คืบคลานเข้ามาจากฝั่งเวียดนามและกัมพูชาจนมาถึงลาวบริเวณแม่น้ำโขง ซึ่งฝรั่งเศสต้องการครอบครองแม่น้ำสายนี้เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่การุกรานจีน สุดท้ายสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงปักปันเขตแดนต่อกันแล้วใช้แม่น้ำเป็นตัวกันระหว่างเขตแดน ในสมัยรัชกาลที่5 ภายหลังการได้ลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยาม ได้กลายเป็นโจทย์สำคัญของรัชกาลที่ 5 ที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อหลอมรวมกลุ่มลาวให้กลายเป็นไทย เพราะอุปสรรคในเรื่องของชื่อ ที่ในบางมุมเหมือนมีลักษณะเหยียดหยาม และลักษณะของชาติพันธุ์ลาวที่ถูกสร้างอัตลักษณ์จนมีความแตกต่างกับสยาม ในกรุงเทพฯ นี่จึงเป็นงานสำคัญที่หากปล่อยผ่านไปอาจเกิดลักษณะการสร้างรัฐที่ไม่แข็งแรง จนอาจเกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน สุดท้ายรัชกาลที่ 5 จึงเลือกทลายชื่อเดิมที่นิยมเรียกกันว่า “ลาว” แล้วนิยามชื่อใหม่ให้กับให้กับพวกเขาว่า “ชาวอีสาน” และบรรจุให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของไทย จนเมื่อเวลาผ่านไปช่องว่างที่มีต่อก็เรียบสนิทขึ้น แม้อัตลักษณ์ความเป็นลาว VS…

จริงหรือไม่ ! ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น คนในชาตินั้นจะ เก่งภาษาอังกฤษ

จริงหรือไม่ ! ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น คนในชาตินั้นจะ เก่งภาษาอังกฤษ

ประเทศที่ตกเป็นอาณานิคม สวนมาก เก่งภาษาอังกฤษ จริงหรือ

5 ข้อต้องพิจารณา ก่อนเลือก เรียนภาษาที่ 3 เพื่อประโยชน์ กับตัวเองในระยะยาว

5 ข้อต้องพิจารณา ก่อนเลือก เรียนภาษาที่ 3 เพื่อประโยชน์ กับตัวเองในระยะยาว

ภาษาอังกฤษเป็นสากลที่ควรสื่อสารได้ แต่ในปัจจุบันการ เรียนภาษาที่ 3 นับได้ว่าทักษะที่ควรจะเรียนรู้ไว้เพื่อเพิ่มมิติกับตัวเองและเพื่อโอกาสที่มากขึ้นในโลกของการทำงาน ก่อนเลือก เรียนภาษาที่ 3 ต้องพิจารณาอะไรบ้าง? 1.พิจารณาเลือกเรียนภาษาที่ 3 โดยคำนึงถึง โอกาสที่จะได้ใช้ การเรียนภาษาโดยดูจากโอกาสที่จะใช้ ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เช่น จะสามารถหางานได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ภาษานี้มีบุคลากรขาดแคลนหรือเปล่า เพราะถ้าหากเรียนแล้วแต่งานรองรับน้อยก็จะทำให้ได้ไม่คุ้มเสียกับการลงแรงเรียนไป 2.พิจารณาเลือกเรียนภาษาที่ 3 ด้วยความยาก-ง่าย ลักษณะของภาษา หากเราพิจารณาจากข้อแรกแล้วข้อนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเรียนภาษามีความยากง่ายไม่เท่ากัน เช่น ภาษาจีน หรือญี่ปุ่น อาจต้องใช้เวลาเรียนนานมากกว่า 5 ปี ถึงจะชำนาญ ซึ่งถ้าเทียบกับภาษามลายูหรืออินโดนีเซีย อาจใช้เวลาสั้นกว่าเพียง 2-3 ปี ก็ชำนาญได้ 3.พิจารณาเลือกเรียนภาษาที่ 3 ดูจาก ระยะทาง จากประเทศไทยไปประเทศนั้น แน่นอนว่าเรื่องนี้ก็นับเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราเลือกเรียนภาษานั้นไปแล้ว ก็เสมือนว่าเราจะต้องใกล้ชิดกับประเทศนั้นด้วย ซึ่งเราก็ไม่มีทางทราบได้ว่าอนาคตจะต้องไปทำงานในประเทศนั้นหรือไม่ โดยหากใครชื่นชอบประเทศนั้นอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าใครไม่ชอบเดินทางไกล หรือไม่ชอบห่างบ้านนาน ๆ…

ว่าด้วยเรื่อง ประวัติของแคน สรุปแล้วแคน มีที่มาจากไหน ?

ว่าด้วยเรื่อง ประวัติของแคน สรุปแล้วแคน มีที่มาจากไหน

แคน นับเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่ถูกกล่าวขานถึงเสียงที่ไพเราะ ยามในที่ได้ยินก็จะทำให้นึกถึงบรรยากาศท้องทุ่งและภูมิทัศน์อันเงียบสงบ ทำให้แคนกลายเป็นเครื่องดนตรีดั่งสัญลักษณ์ของภาคอีสาน และของประเทศลาว แต่มีใครรู้ไม่ว่าแท้จริงแล้ว ประวัติของแคน อาจไม่ได้ถือกำเนิดมาจากสองประเทศดังกล่าว แม้จะมีหลักฐานจากการขุดพบแคนจากหลุมฝั่งศพ เพราะมีหลักฐานชิ้นสำคัญที่เก่าแก่กว่านั้น ทำความรู้จัก ประวัติของแคน เครื่องดนตรี คู่ถิ่นอีสาน ประวัติของแคน ที่น่าสนใจ ตามวัฒนธรรมดองซอน คือ กลุ่มอารยธรรมเก่าแก่ ที่มีศูนย์กลางอยู่ในแถบภาคกลางของเวียดนามและแผ่กว้างไปถึงจีนตอนใต้ ลาว และบริเวณภาคอีสานของไทย สำหรับหลักฐานสำคัญที่พบเป็นขวานหิน โดยที่ด้ามขวานมีรอยสลักเป็นรูปผู้หญิงกำลังเป่าแคนอยู่ ทำให้หลักฐานชิ้นนี้ค่อนข้างสำคัญและตอกย้ำถึงทฤษฎีที่มีมาก่อนหน้านี้ว่าการเป่าแคนเมื่อ 2-3 พันปีก่อน ในยุคที่ยังนับถือศาสนาผี ผู้หญิงคือเพศที่มีความสำคัญ มีอภิสิทธิ์ทางสังคมเหนือกว่าผู้ชายในหลายบริบท ที่แม้แต่การเป่าแคนเพื่อเรียกผีมาทำพิธีกรรม ยังต้องเป็นหน้าที่ของผู้หญิง กรทั่งจุดเปลี่ยนสำคัญ คือเมื่อศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพุทธเข้ามา ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดทางสังคม จนแปรเปลี่ยนเป็นการเชิดชูและให้อำนาจทางเพศแก่เพศชาย จวบจนปัจจุบัน ตาม ประวัติของแคน จากเครื่องมือที่ใช้เป่าเพื่อเรียกผี ได้ถูกวิวัฒนาการจนกลายเป็นเครื่องดนตรีในที่สุด ซึ่งมีกรรมวิธีที่ต้องใช้ความละเอียดและประณีตของช่างแคน กระทั่งกลายเป็นดนตรีสัญลักษณ์ประจำถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในตอนกลางของลาว ส่วนในเวียดนามพื้นที่ต้นทาง ไม่หลงเหลือวัฒนธรรมดนตรีแคนอีกแล้ว สำหรับแคนมีการปรับตัวให้เข้ากับดนตรีสากลด้วยการมีโน้ต ที่สามารถจำแนกออกมาได้ 5…

ไขความรู้นอกตำรา ทำไม ภาษาอังกฤษ ถึงไม่มี คำว่า กู-มึง ?

ไขความรู้นอกตำรา ทำไม ภาษาอังกฤษ ถึงไม่มี คำว่า กู-มึง ?

ใครหลายๆคนอาจจะสังเกตได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่เราเขียนหรือสื่อสารภาษาไทยคำว่า กู ข้า ข้าพเจ้า ฉัน หรือเรา เมื่อนำไปเทียบแปลกับภาษาภาษาอังกฤษ จะได้คำว่า I (ฉัน) คำเดียวเท่านั้น หรือกลับกันคำว่า มึง แก เอ็ง เธอ คุณ เมื่อนำไปเทียบแปลกับภาษาอังกฤษก็จะได้แค่คำว่า You (เธอ) เท่านั้นเหมือนกัน ซึ่งเคยสงสัยกันไหมว่าทำไม ภาษาอังกฤษ ถึงไม่มีคำอื่นบ้าง และทำไมถึงมีแค่นี้  ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ในทวีปยุโรป มีระดับของคำ ที่ใช้เรียกกลุ่มคนต่าง ๆ ก่อนอื่นต้องกล่าวก่อนว่าในอดีต ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ในทวีปยุโรปก็มีระดับของคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนต่าง ๆ เหมือนเฉกเช่นภาษาของพวกเรา แต่สังคมยุโรปในยุคเปลี่ยนผ่านจากสังคมชนชั้นศักดินาเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ซึ่งเป็นการเข้าสู่ยุคระบบสังคมแบบใหม่ที่ให้คุณค่าความเป็นปัจเจกชนว่าทุกคนเท่าเทียมกัน นั้นจึงทำให้หลายสิ่งหลายอย่างในสังคมเปลี่ยนแปลงตามไป ไล่ตั้งแต่ระบบครอบครัวที่เกิดค่านิยมการย้ายออกไปมีบ้านเป็นของตัวเอง ทุกคนสามารถมีของใช้เป็นของตัวเองได้ด้วยการซื้อ รวมถึงที่กำลังกล่าวถึงในหัวเรื่องนี้ นั่นคือระดับภาษาที่ถูกปรับเปลี่ยนจนเป็นอย่างที่เราเห็น ส่วนในระบบสังคมเอเชีย เราไม่เคยเผชิญกับยุคการเปลี่ยนผ่านสังคมขนานใหญ่แบบยุโรป นั่นจึงทำให้พวกเราไม่ได้ซัมซับตามระบบบรรทัดฐานแบบยุโรป…

รู้หรือไม่ ? ลอกการบ้าน ของเพื่อน ก็สามารถ ทำให้เราเก่งขึ้นได้

รู้หรือไม่ ? ลอกการบ้าน ของเพื่อน ก็สามารถ ทำให้เราเก่งขึ้นได้

ชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนที่อยู่ในวัยมัธยมจะต้องมีบ้างกับประสบการณ์ขอเพื่อนลอกการบ้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทำการบ้านไม่ทัน ไม่เข้าใจเนื้อหา หรืออะไรก็ตามแต่ แม้ว่าจะมีการบอกกล่าวกันเป็นประจำว่าการลอกการบ้านนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำและควรอย่างยิ่งที่ต้องทำการบ้านด้วยตัวเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงหากน้อง ๆ ลอกไปแบบผ่าน ๆ นั่นย่อมไม่เกิดประโยชน์และจะเป็นโทษแก่น้อง ๆ เมื่อยามสอบ แต่สำหรับวันนี้เราจะมาคิดหักมุมกันว่า การลอกการบ้านนั้นก็มีประโยชน์หากเรามีวิธีคิดที่ถูกต้อง ซึ่งหลักการ ลอกการบ้าน แต่ละวิชาจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยมีตัวอย่างดังนี้ หลักการ ลอกการบ้าน แต่ละวิชาจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยมีตัวอย่างดังนี้ วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และที่เกี่ยวกับการคำนวณ วิชานี้จะมีหัวใจหลักคือการใช้สูตรที่ถูกต้องกับโจทย์ การทำโจทย์บ่อย ๆ จะทำให้น้อง ๆ ชำนาญว่าควรวางสูตรไหน ฉะนั้นเมื่อน้อง ๆ ได้ลอกการบ้านมาแล้ว น้อง ๆ จะต้องนำสิ่งที่ลอกมาดูซ้ำเพื่อสังเกตวิธีการคิดนวณของเพื่อน เมื่อเริ่มจับทางได้ น้อง ๆ ก็ต้องริเริ่มทำโจทย์ด้วยตัวเองและลดการลอกการบ้านลง จะทำอีกก็ต่อเมื่อเราไม่เข้าใจเพียงพอ วิชาภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ วิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาอาจมีตัวบ่งชี้ว่าถูกหรือผิด แต่มันก็มีอีกมุมที่ต้องมาดูบริบทว่าการใช้คำและรูปประโยคนั้นเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยหรือไม่ ฉะนั้นเมื่อน้อง ๆ…

ความรู้นอกตำราว่าด้วย พื้นที่แบบไหนที่ เจ้าอาณานิคม อยากยึดมากที่สุด

ความรู้นอกตำราว่าด้วย พื้นที่แบบไหนที่ เจ้าอาณานิคม อยากยึดมากที่สุด

ในระบบการศึกษาไทย เรามักจะภูมิใจเสมอที่ชาติไทยของเราไม่ตกเป็น “อาณานิคม” จากชาติตะวันตก และมักถูกปลูกฝังให้มองว่า เจ้าอาณานิคม คือสิ่งที่เลวร้ายและมีแต่ความเสียหาย แล้วหากเรามองในมุมของเจ้าอาณานิคมบ้างล่ะ พวกเรามีความคิดว่าจะพวกเขาจะต้องยึดดินแดนทั้งหมดที่ขวางหน้าเหมือนที่เราคิดหรือเปล่า? เจ้าอาณานิคม ต้องการยึดพื้นที่แบบไหน มากที่สุด ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการคมนาคมในสมัยนั้นที่ใช้การเดินทางด้วยเรือเป็นหลัก ทำให้ท่าเรือและเมืองที่ติดทะเลกลายเป็นพื้นที่ดั่งทำเลทอง นั่นจึงทำให้ เจ้าอาณานิคม เข้ามาติดต่อค้าขาย และเมื่อนานวันก็มีพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้พื้นที่ทำเลทองมานี้เป็นของตน มะละกา สิงคโปร์ ปีนัง เกาะสุมาตราตอนเหนือ เกาะชวา และเกาะทางเหนือของฟิลิปปินส์ จึงถูกยึดครองโดย เจ้าอาณานิคม โปรตุเกส อังกฤษ และดัตช์ ส่วนฝรั่งเศสที่มาทีหลัง ทำเลทองถูกยึดครองไปหมดแล้ว ทำให้ต้องหาพื้นที่ใหม่ที่ยังไม่ถูกครอบครอง ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสเลือกยุทธวิธีล่องเรือไปตามแม่น้ำโขงเพื่อเข้าไปตีเมืองจีน ทำให้ต้องไปยึดครองเวียดนาม กัมพูชาและลาว โดยสองประเทศหลังมีความยินดีที่จะอยู่ใต้อาณานิคมฝรั่งเศส แต่ท้ายที่สุดการยึดครองของฝรั่งเศสก็ไม่เกิดผล เพราะแม่น้ำโขงตื้นเขินและมีเศษตะกอนใต้น้ำเยอะ ทำให้เรือลำใหญ่ของกองทัพไม่สามารถล่องไปได้ แล้วประเทศไทยของเราล่ะ มีบทบาทสำคัญอย่างไรในยุคนั้น สำหรับไทยมีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของภาคพื้นทวีป ซึ่งไกลจากเส้นทางคมนาคมเรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคพื้นสมุทร นั่นจึงทำให้ไทยเป็นทำเลที่ไม่ใช่จุดหมายปองของชาติตะวันตก แต่มักจะใช้ไทยเป็นรัฐกันชน โดยเฉพาะระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองจะใช้วิธีการกดดันไทย ด้วยการยึดดินแดนบริเวณชายแดนและนำดินแดนส่วนอื่นมาแลกสลับกันไปมา ฉะนั้นนี่จึงเป็นประเด็นสำคัญ ที่กำลังจะบอกว่าการศึกษาไทยพยายามจะชี้ชวนไปว่าไทยมีความเก่งกล้าสามารถในการต้านทานชาติตะวันตกไว้ได้ชาติเดียวในภูมิภาค…

ข้อเท็จจริง การตีเด็ก คือความรุนแรง หรือ เพื่อการสั่งสอน ?

ข้อเท็จจริง การตีเด็ก คือความรุนแรง หรือ เพื่อการสั่งสอน ?

การตีเด็ก เป็นวิธีการหนึ่งที่สังคมไทยใช้มาอย่างยาวนานเพื่อลงโทษเด็กเมื่อกระทำผิด จนเคยมีคำกล่าวว่า “ไม้เรียวนั้นสร้างคนให้ได้ดีมานักต่อนัก” แต่ในปัจจุบันเริ่มมีแนวความคิดที่ต่างออกไป โดยมองว่าการตีนั้นไม่ได้ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังความรุนแรง นี่จึงการเป็นปัญหาที่ถูกถกเถียงว่าสุดท้ายแล้วการตีเด็กมันคือความรุนแรง หรือเพื่อการสั่งสอน การตีเด็ก ดาบสองคม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ประเด็นสำคัญนี้จะต้องย้อนไปถึงตัวพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นสำคัญว่าการตีของเรานั้นเป็นอย่างไร หาก การตีเด็ก ด้วยความโกรธ ยกอารมณ์หรือความพอใจของตัวเองอยู่เหนือเหตุผล และขาดการพูดสั่งสอนหรืออธิบาย นั่นจึงเข้าข่ายเป็นการตีเด็กที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งผลเสียของมันจะกระทบต่อเด็กโดยตรง เช่น เด็กจะซึมซับความรุนแรงตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กจะไม่กล้าคิดกล้าแสดงออกเพราะเกรงกลัวว่าจะโดนตี และหากร้ายแรงที่สุดคือ ถ้าเด็กเหล่านี้เติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อาจทำให้เด็กเหล่านี้เกิดความอึดอัดใจ และต้องการหาพื้นที่ที่สบายใจมารองรับ โดยเฉพาะการหันไปพึ่งพิงพื้นที่สังคมนอกบ้านแทน เพื่อฉีกตัวออกห่างจากพ่อแม่ ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงอันตรายที่อาจทำให้เด็กเหล่านี้เดินทางชีวิตผิด ประเด็นสำคัญที่จะต้องทบทวนใหม่หากยังต้อง การตีเด็ก เพื่อสั่งสอน คือ การใช้เหตุและผลให้มากที่สุด โดยพ่อแม่ จะต้องเป็นผู้นำมาใช้และสร้างให้เป็นบรรทัดฐานแก่เด็ก และเมื่อใดที่เด็กกระทำผิดก็ต้องมีการอบรมสั่งสอนด้วยการพูดอธิบาย ว่าผิดอย่างไรทำไมถึงจะต้องโดนตี  การกระทำที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไร และตีสั่งสอนไป ซึ่งจะทำให้การตีเด็กมีผลดีกับตัวเด็กมากขึ้น อีกทั้งเด็กจะมีการเรียนรู้และปรับปรุงตัว เพื่อที่จะให้ตัวเองไม่โดนตีอีก นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือพ่อแม่ต้องปฏิบัติตัวเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กเพื่อให้สิ่งที่ได้สอนไปนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ฉะนั้นแล้วจึงจะเห็นได้ว่า การตีเด็ก มีลักษณะเหมือนดาบสองคม…