การตีเด็ก เป็นวิธีการหนึ่งที่สังคมไทยใช้มาอย่างยาวนานเพื่อลงโทษเด็กเมื่อกระทำผิด จนเคยมีคำกล่าวว่า “ไม้เรียวนั้นสร้างคนให้ได้ดีมานักต่อนัก” แต่ในปัจจุบันเริ่มมีแนวความคิดที่ต่างออกไป โดยมองว่าการตีนั้นไม่ได้ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังความรุนแรง นี่จึงการเป็นปัญหาที่ถูกถกเถียงว่าสุดท้ายแล้วการตีเด็กมันคือความรุนแรง หรือเพื่อการสั่งสอน
การตีเด็ก ดาบสองคม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
ประเด็นสำคัญนี้จะต้องย้อนไปถึงตัวพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นสำคัญว่าการตีของเรานั้นเป็นอย่างไร หาก การตีเด็ก ด้วยความโกรธ ยกอารมณ์หรือความพอใจของตัวเองอยู่เหนือเหตุผล และขาดการพูดสั่งสอนหรืออธิบาย นั่นจึงเข้าข่ายเป็นการตีเด็กที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งผลเสียของมันจะกระทบต่อเด็กโดยตรง เช่น เด็กจะซึมซับความรุนแรงตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กจะไม่กล้าคิดกล้าแสดงออกเพราะเกรงกลัวว่าจะโดนตี และหากร้ายแรงที่สุดคือ ถ้าเด็กเหล่านี้เติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น อาจทำให้เด็กเหล่านี้เกิดความอึดอัดใจ และต้องการหาพื้นที่ที่สบายใจมารองรับ โดยเฉพาะการหันไปพึ่งพิงพื้นที่สังคมนอกบ้านแทน เพื่อฉีกตัวออกห่างจากพ่อแม่ ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงอันตรายที่อาจทำให้เด็กเหล่านี้เดินทางชีวิตผิด
ประเด็นสำคัญที่จะต้องทบทวนใหม่หากยังต้อง การตีเด็ก เพื่อสั่งสอน คือ การใช้เหตุและผลให้มากที่สุด โดยพ่อแม่ จะต้องเป็นผู้นำมาใช้และสร้างให้เป็นบรรทัดฐานแก่เด็ก และเมื่อใดที่เด็กกระทำผิดก็ต้องมีการอบรมสั่งสอนด้วยการพูดอธิบาย ว่าผิดอย่างไรทำไมถึงจะต้องโดนตี การกระทำที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไร และตีสั่งสอนไป ซึ่งจะทำให้การตีเด็กมีผลดีกับตัวเด็กมากขึ้น อีกทั้งเด็กจะมีการเรียนรู้และปรับปรุงตัว เพื่อที่จะให้ตัวเองไม่โดนตีอีก นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือพ่อแม่ต้องปฏิบัติตัวเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กเพื่อให้สิ่งที่ได้สอนไปนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ฉะนั้นแล้วจึงจะเห็นได้ว่า การตีเด็ก มีลักษณะเหมือนดาบสองคม ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองยุคปัจจุบันจะต้องให้ความสำคัญหากยังมองว่าการตีเด็กจะต้องคงมีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งมีให้เลือกระหว่าง จะนำอารมณ์โกรธและความพึงพอใจส่วนตัวไปตีเด็ก หรือจะนำเหตุและผลไปสั่งสอนก่อนตีเด็ก
ติดตามบทความเกี่ยวกับ การศีกษาและการเรียนรู้ เคล็ดลับการสอบ เคล็ดลับการอ่านหนังสือ ข่าวราชการ ได้ที่นี้
แนะนำ 5 ทักษะ ที่จำเป็นต้องรู้! เพื่อช่วย สร้างการเรียนรู้ ได้อย่างรวดเร็ว