เคล็ดลับการอ่านหนังสือ

ทักษะการอ่าน ของคุณอยู่ระดับใด อยู่ในขั้นไหน ถ้าอยากรู้มาดูกัน

ทักษะการอ่าน ของคุณอยู่ระดับใด อยู่ในขั้นไหน ถ้าอยากรู้มาดูกัน

ใคร ๆ ก็อ่านหนังสือได้ แต่เราอยากจะเป็นคนที่อ่านได้แบบไหนกันล่ะ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ที่มีความจำเป็นจะต้องอ่านหนังสือ ให้มาก และอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าตนเองมีทักษะในการอ่านระดับใด ก็จะช่วยให้รู้ตัว ประเมินความสามารถของตนได้ และนำไปใช้พัฒนาปรับปรุง ทักษะการอ่าน ต่อไป ทักษะการอ่าน ของแต่ละคนมี 4 ระดับ ดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับพื้นฐาน : คนที่อ่านออก คือคนที่อ่านหนังสือแบบอ่านออก สะกดคำเป็น อ่านออกเสียถูก อ่านแล้วไม่ค่อยมีผิด แต่เป็นแค่ในระดับที่เพียงแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แม้จะสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในระดับลึก ๆ ได้ คล้าย ๆ กับการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมต้น ทักษะการอ่าน ระดับพอใช้ : คนที่อ่านแล้วเข้าใจ คือคนที่นอกจากจะอ่านได้ไม่มีผิดแล้ว ก็ยังเข้าใจรูปประโยคของสิ่งที่อ่านด้วย รวมทั้งยังพอสรุปใจความสำคัญ หรือย่อความได้ด้วย  และแม้จะพอวิเคราะห์ได้แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมปลายและมัธยมต้น ทักษะการอ่าน ระดับดี : คนที่อ่านแล้วรู้จักคิดวิเคาระห์…

ส่องเคล็ดไม่ลับ! กับ 5 วิธีเพิ่มเกรด 3.5+ ง่าย ๆ ฉบับคนขี้เกียจ

ส่องเคล็ดไม่ลับ! กับ 5 วิธีเพิ่มเกรด 3.5+ ง่าย ๆ ฉบับคนขี้เกียจ

               เนื่องจากในปัจจุบันทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า “การศึกษา” ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการประกอบอาชีพ นักเรียนนักศึกษาในประเทศไทยใช้เวลากว่า 8 ชั่วโมงในการเล่าเรียนเพื่อนำความรู้ไปต่อยอดในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป ทว่านักเรียนนักศึกษาหลายคนทุ่มเททั้งพลังกายพลังใจแต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่เป็นอย่างหวัง ผลการเรียนตก! เครียด! จะเพิ่มเกรดอย่างไร…? บทความนี้มี วิธีเพิ่มเกรด 3.5+ ง่าย ๆ ฉบับคนขี้เกียจมาแนะนำ แนะนำ วิธีเพิ่มเกรด 3.5+แบบง่าย ๆ ตั้งใจเรียนในห้องเรียน เป็นวิธีเพิ่มเกรด 3.5+แบบง่ายๆ ด้วยการฟังคุณครูสอนมาก ๆ ในห้องสามารถทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่ต้องอ่านหนังสือหนัก ๆ ก่อนสอบก็เชื่อมโยงเนื้อหาถึงกันได้และยังเป็นความรู้ความเข้าใจที่ฝังแน่นในสมองที่คงทนมาก ๆ ทบทวนความรู้ การทบทวนความรู้ในที่นี่ คือ หากในเวลาเรียนทุกคนยังไม่เข้าใจอย่างถี่ถ้วนให้กลับมาอ่านหรือทำโจทย์ปัญหาทบทวนมาก ๆ และควรทำวันต่อวันทันที เพราะนักเรียนต้องเรียนหนังสือทุกวัน แต่ละวันมีการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรตั้งใจทบทวนแต่ละวันให้ครบ ส่งงานให้ครบทุกรายวิชา ต้องบอกก่อนว่าภาระงานแต่ละชิ้นทุกคนอย่ามองข้าม! โดยอัตราส่วนการเก็บคะแนนจะแบ่งเป็นการสอบ 50 คะแนน ภาระงาน 50 คะแนน หากทุกคนสามารถกวาดคะแนนภาระงานได้ครบถ้วน ตั้งใจสอบอีก 30…

How to อ่านหนังสือ อย่างไร…ให้เข้าสมองใน 7 วัน

How to อ่านหนังสือ อย่างไร ? … ให้เข้าสมองได้ใน 7 วัน

               เบื่อกันไหม…? ท่องตำราเท่าไหร่ก็ไม่เข้าสมองสักที เชื่อว่าปัญหาการท่องหนังสือแล้วไม่เข้าใจนั้นทุกคนต้องเคยพบเจอมาอย่างแน่นอน ยิ่งในช่วงสอบอ่านดึกดื่นขนาดไหน สุดท้ายก็จำไม่ได้สักอย่าง! ดื่มเครื่องดื่มบำรุงสมองก็ไม่เห็นผลต้องทำอย่างไร บทความนี้มี 5 เทคนิคดี ๆ อ่านหนังสือ ให้เข้าใจเข้าสมองได้ใน  7 วัน โดยที่ไม่หักโหมจนเกินไป ดังนี้ เคล็ดลับ อ่านหนังสือ ให้เข้าสมอง ทำแผนการอ่านเนื้อหาสาระที่จะสอบล่วงหน้า  7 วัน ซึ่งการสอบจะสอบติดกันบางโรงเรียน 3 วันเลย ดังนั้นทุกคนต้องวางแผนว่าจะอ่านวิชาใดก่อน – หลัง แต่ละวิชามีเนื้อหามากหรือน้อยเพียงใด แล้วจัดการแบ่งเวลาให้พอเหมาะ ไม่อ่านเนื้อหาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากทุกคน อ่านหนังสือแล้วรู้สึกล้าก็ไม่ควรฟื้นร่างกายควรพักแล้วค่อยเริ่มอ่านใหม่ เพราะการฟื้นร่างกายสมองก็ไม่รับความรู้และยังเป็นการยืดเวลาสมองตันไปอีกจะดีที่สุด หากหยุดพักแล้วกลับมาอ่านใหม่ อ่านเนื้อหา 35 นาที พัก 5 นาที ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้การอ่านดีขึ้นและอ่านได้นานขึ้นด้วย เพราะจากการวิจัยคนปกติส่วนมากให้ความสนใจกับสิ่ง ๆ หนึ่งได้มากสุดราว 30 นาที ดังนั้นการอ่านหนังสือในช่วงเวลา 35…

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

3 สาเหตุหลัก ที่ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไร ที่นี้มีคำตอบ

               ความขยันก็พอมี ความตั้งใจก็เต็มเปี่ยม แต่พอหยิบหนังสือมาอ่านทีไรมันก็เบื่อหน่ายทุกที เพราะ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เลย ขนาดเป็นวิชาที่ใครๆ ก็บอกว่าค่อนข้างง่าย แต่เราอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ต้องวนกลับมาอ่านจุดเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เสียเวลามาก ยิ่งไปกว่านั้น หลายครั้งการอ่านซ้ำที่เดิมก็เพิ่มเติมความสับสนให้เรามากขึ้นอีก แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว มาสังเกตกันดูสิว่า เรามีปัญหาตรงจุดไหนใน 3 สาเหตุนี้บ้าง จะได้แก้ไขถูกจุด อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไรบ้าง ? 1. ไม่มีสมาธิในการอ่าน             นี่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ที่เด็กหลายคนเป็นกัน คือไม่มีสมาธิในระหว่างที่อ่าน ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง จับต้นชนปลายไม่ถูก เหมือนกับว่ากวาดสายตาผ่านตัวอักษรไปแบบนั้นเอง ทางแก้ก็คือ ก่อนเริ่มอ่านหนังสือให้นั่งอยู่นิ่งๆ เพื่อปรับความคิดก่อน อย่าเล่นมือถือหรือดูโทรทัศน์เสร็จก็มาอ่านเลย ต้องทำสมาธิให้หัวโล่งๆ ก่อนประมาณ 10-15 นาที รับรองว่าจะอ่านเข้าใจมากขึ้นแน่นอน 2. บรรยากาศไม่เหมาะสม             ต่อให้เป็นคนสมาธิดีแค่ไหน แต่ถ้าไปนั่งอ่านในตลาดสดก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อยก็ดึงความสนใจจนเรา อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ได้…

เทคนิคเพิ่มเกรด ด้วยการเลือก ช่องเก็บคะแนน ตั้งแต่ต้นเทอม

เทคนิคเพิ่มเกรด ด้วยการเลือก ช่องเก็บคะแนน ตั้งแต่ต้นเทอม

            เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเพื่อนร่วมชั้นที่ได้เกรดดีๆ หลายคน ถึงดูไม่ค่อยตึงเครียดเหมือนกับเราในช่วงเวลาสอบ ราวกับว่ามันเป็นเรื่องง่ายดายเหลือเกิน ขณะที่เราอยากจะเพิ่มเกรดให้ดีกว่าเดิม ก็ตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือมากขึ้น ติวกับเพื่อนมากขึ้น อดหลับอดนอนมากขึ้น สุดท้ายคะแนนก็ไม่ทิ้งห่างจากที่เคย มิหนำซ้ำบางวิชายังคะแนนต่ำกว่ามาตรฐานของตัวเองไปอีก ถ้าทุ่มสุดตัวขนาดนี้แล้วยังไม่ได้ผล ก็คงต้องมี เทคนิคเพิ่มเกรด และมาวางแผนแบบที่เด็กเก่งเขาทำกันบ้างแล้วนะ แนะนำ เทคนิคเพิ่มเกรด ให้กับเด็กๆ ที่จริงจังกับการเรียน                จุดสำคัญที่มีเด็กไม่กี่คนทำอย่างจริงจังในการเพิ่มเกรดก็คือ เทคนิคเพิ่มเกรด ด้วยการให้น้ำหนักกับคอร์สเซเลบัส หรือแผนการเรียนตลอดทั้งเทอม ปกติแล้วครูจะแจกให้ในวันแรกของการเรียน เราจะได้รู้ว่ามีเนื้อหาเรื่องอะไรบ้าง จะแบ่งวิธีการเก็บคะแนนเป็นอย่างไร และนี่แหละคือเคล็ดลับที่ช่วยให้เราไม่ต้องทำงานหนักเกินไป เพียงแค่รู้จักวางแผนให้เหมาะสมกับเป้าหมาย แล้วก็ทำตามแผนนั้นอย่างเคร่งครัด                ตัวอย่างใน เทคนิคเพิ่มเกรด จากการวิเคราะห์คอร์สเซเลบัสก็คือ ให้ดูว่ามีการเก็บคะแนนยิบย่อยรายทางมากน้อยแค่ไหน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วประเมินควบคู่ไปกับความยากง่ายของเนื้อหา เราจะเก็บได้มากแค่ไหน ตรงนี้ยิ่งได้มากก็จะผ่อนแรงตอนสอบไปเยอะ หลายคนได้เกรด 3 ก่อนถึงวันสอบด้วยซ้ำไป การสอบกลางภาคก็สำคัญ ต้องดูว่าเนื้อหาส่วนไหนจะออกสอบบ้าง เราก็ตั้งใจเรียนและทำความเข้าใจบทนั้นแต่เนิ่นๆ                อีกอย่างหนึ่งคือ ให้รู้ว่า เทคนิคเพิ่มเกรด…

เทคนิคในเชิงจิตวิทยา เพื่อแก้ปัญหาคน ขี้เกียจอ่านหนังสือ

เทคนิคในเชิงจิตวิทยา เพื่อแก้ปัญหาคน ขี้เกียจอ่านหนังสือ

               แค่เห็นกองหนังสือตรงหน้าก็รู้สึกเหนื่อยแล้วใช่ไหม ไม่ต้องเปิดสักหน้าก็รู้เลยว่ามันน่าเบื่อขนาดไหน หลายคนมีอาการ ขี้เกียจอ่านหนังสือ เสมอๆ เวลาที่รู้ว่าจำเป็นต้องอ่าน เช่น ช่วงเตรียมตัวก่อนสอบ เป็นต้น แล้วสุดท้ายก็ตีความไปว่าตัวเองเป็นคนขี้เกียจ ไม่สามารถตั้งสมาธิให้อ่านหนังสือได้เลย ทั้งที่เวลาอ่านนิยายหรือการ์ตูนที่ชอบก็สามารถอ่านต่อเนื่องเป็นวันๆ ได้เฉยเลย พฤติกรรม ขี้เกียจอ่านหนังสือ แก้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้                ข้อเท็จจริงก็คือไม่มีสักคนบนโลกที่มีพื้นฐานเป็นคน ขี้เกียจอ่านหนังสือ เพียงแค่มันไม่มีความชอบในสิ่งที่จะอ่านเท่านั้นเอง และการศึกษาในบ้านเราก็ยิ่งบังคับให้เกิดความจำเป็นต้องอ่าน มากกว่าสร้างความรู้สึกอยากอ่านเสียด้วย มันเลยเป็นปัญหาคาราคาซังเรื่อยไปแบบนี้ บ่มเพาะนิสัยเบื่อหน่ายการเรียนรู้เพิ่มเติมเมื่อเข้าสู่วัยทำงานอีกด้วย ประมาณว่าเรียนมานานแล้ว ไม่อยากเรียนอะไรอีกแล้วนั่นเอง                เพื่อไม่ให้สิ่งนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อไป เราลองมาใช้เทคนิคตามหลักจิตวิทยาเพื่อปรับพฤติกรรม ขี้เกียจอ่านหนังสือ กันดีกว่า ก่อนอื่นเลยคือการปรับความคิด ให้เลิกคิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องอ่าน เพราะเมื่อเริ่มจากความคิดแบบนั้นก็จะรู้สึกถูกบังคับโดยอัตโนมัติ ธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ชอบการบังคับอยู่แล้ว จึงต่อต้านโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ให้คิดว่าอ่านแล้วได้ประโยชน์อะไร ทำไมถึงควรอ่าน และจะอ่านเมื่อไรก็ได้ที่พร้อมเท่านั้น ทั้งหมดเป็นการลดกำแพงในใจ และทำให้มุมมองที่มีต่อหนังสือเล่มนั้นดีขึ้น                ต่อมาคือลดความ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ด้วยการเริ่มจากน้อยๆ เสมอ เคยมีการทดสอบแล้วการหากร้องขออะไรที่เป็นเรื่องเล็กน้อยได้สำเร็จ โอกาสในการขอสิ่งที่ใหญ่ขึ้นก็จะสำเร็จตามไปด้วย…

การอ่านหนังสือ ขึ้นอยู่กับความชอบ และความสนใจ ของแต่ละคน

การอ่านหนังสือ ขึ้นอยู่กับความชอบ และความสนใจ ของแต่ละคน

การอ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่เราต้องทำกันตั้งแต่ตอนที่เรายังเรียนอยู่ในโรงเรียน ซึ่งช่วงเวลาที่เราอ่านหนังสือมากที่สุดก็จะเป็นช่วงเวลาก่อนสอบเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ เพื่อที่จะเตรียมตัวกับการสอบที่จะมาถึงการทบทวนเนื้อหาต่างๆในหนังสือถือเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่หลังจากที่เราเรียนหนังสือจบมาแล้วไม่ว่าจะเป็นในระดับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นเชื่อว่าหลายๆคนร้านอ่านหนังสือน้อยลงอย่างแน่นอน การอ่านหนังสือ จะยากหรือง่าย อยู่ที่ความชอบ การอ่านหนังสือ เป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆคนจริงๆนะสำหรับผู้เขียนก็เช่นเดียวกันสมัยที่เรียนหนังสืออยู่ การอ่านหนังสือนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะเกิดขึ้นเพราะว่าเพียงแค่หยิบหนังสือขึ้นมาเปิดหนังสืออ่านเพียงแค่ 2-3 หน้าก็เหมือนยานอนหลับ พอเริ่มอ่านไปได้เพียงแค่สักพักเดียวหนังสือก็ตกใส่หัวซะแล้ว เรียกแล้วว่าอ่านไม่นานก็ง่วงเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า และเหตุการณ์ที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้ก็คงจะเกิดกับใครหลายคนเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยเคยมีการทำวิจัยมาแล้วว่าคนไทยอ่านหนังสือจำนวนน้อยมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการนำโซเชียลมีเดียเข้ามาในประเทศทำให้การอ่านหนังสือยิ่งน้อยลงไปอีก จริง ๆ แล้วการอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องที่ยากมากมายอะไร เพียงแค่เราได้อ่านหนังสือที่เราไม่ได้ชอบเพียงแค่นั้นเอง สมัยเรียนอยู่คงมีเพื่อนๆของผู้อ่านหลายคนอ่านหนังสือนิยายเป็นเล่ม ๆ โดยที่ไม่รู้สึกเบื่อ พอถึงเวลาว่างก็จะหยิบหนังสือนิยายขึ้นมาอ่าน ใช่แล้วครับสิ่งที่ผู้เขียนกำลังจะบอกก็คือการอ่านหนังสือเรียนนั้นเป็นสิ่งที่นักเรียนไม่ชอบแต่ถ้านักเรียนได้มาอ่านหนังสือที่ตัวเองชอบอย่างหนังสือนิยายก็จะสามารถอ่านจบภายในระยะเวลาอันรวดเร็วแถมยังจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำอีกด้วย สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เรียกว่าความสนใจของแต่ละคน หากว่าสนใจในสิ่งไหนสิ่งนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้จดจำรายละเอียดได้ดียิ่งขึ้น  พอผู้เขียนได้มาเขียนบทความหรือว่า การอ่านหนังสือ นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องของความชอบมากกว่า หากว่าได้อ่านหนังสือเล่มที่ชอบแม้หนังสือจะยาวขนาดไหนก็อ่านมันทุกหน้า แต่เมื่อเป็นหนังสือที่ไม่ได้ชอบแค่บทนำก็ยังไม่อยากอ่านเลย  ย้อนกลับสมัยที่เรียนหนังสือสาเหตุที่เราไม่ได้ชอบอ่านหนังสือเรียนก็คงจะเป็นเพราะว่ามันไม่ได้มีความน่าสนใจในหนังสือเรียนมากเท่าไหร่ ถ้าหากว่ามีการปรับเปลี่ยนให้มีเนื้อหาที่ได้รับความสนใจจากนักเรียนแล้วการอ่านหนังสือก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าสนุกน่าดู  ติดตามบทความ การศีกษา เคล็ดลับการอ่านหนังสือ การสอบ ข่าวการศึกษา ได้ที่นี้ แนะนำ เทคนิคการอ่านหนังสือ อ่านยังไงให้สอบผ่านฉลุยทุกวิชา

เคล็ดลับ การเตรียมตัวสอบที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง และมีดีกว่าที่คิด

เคล็ดลับ การเตรียมตัวสอบที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง และมีดีกว่าที่คิด

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอความรู้สึกแย่ เมื่อผลสอบที่เราตั้งใจไว้ออกมาไม่ตามที่เราคาดหวังไว้หรือออกมาไม่ดีพอ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเกิดจากการที่เราเตรียมตัวในการสอบไม่ดีมากพอหรือไม่ดีเท่าที่ควร เคยไหมที่เมื่อไม่ใกล้เวลาสอบ เราก็ไม่ยอมอ่านหนังสือหรือไม่วางแผนเตรียมตัวสอบสักที? เคยไหมที่เวลาอ่านหนังสือก็มักจะเล่นเกมส์หรือเล่นมือถือ? เชื่อได้เลยว่าใครหลายๆคนจะเป็นแบบนี้ ผลที่ตามมาก็จะทำให้เรารู้สึกไม่ดี รู้สึกแย่ต่อผลคะแนนสอบ บทความนี้จึงจะเป็นเหมือนแรงจูงใจใน การเตรียมตัวสอบที่ดี ว่าจะมีผลดีมากแค่ไหนกัน ดังนี้ แนะนำ เคล็ดลับ การเตรียมตัวสอบที่ดี เตรียมตัวดีผลสอบก็ย่อมดี เมื่อเรามี การเตรียมตัวสอบที่ดี มีการวางแผนที่ดี ก็ย่อมทำให้เรามีความรู้หรือหัวข้อที่จะสอบที่แน่นและเต็มที่ เมื่อเราทำการทดสอบเราจะทำมันออกมาได้ดี และสิ่งที่ตามมาก็คือผลคะแนนที่ดีและทำให้เรารู้สึกภูมิใจ ดีใจ คะแนนที่ดี การเตรียมตัวที่ดีนั้น จะทำให้เราทำข้อสอบได้และไม่รู้สึกกดดัน หรือวิตกกังวลในขณะที่สอบ เพราะถ้าเตรียมตัวมาไม่ดีพอ จะทำข้อสอบไม่ได้ ลองคิดดูว่าถ้าทำไม่ได้ตั้งแต่ข้อแรกๆ เราจะรู้สึกกังวล และมีคำถามอยู่ในหัวตลอดเวลา อาจจะทำข้ออื่นไมได้  มีเวลาในการพักผ่อนเยอะ เมื่อเรามี การเตรียมตัวสอบที่ดี และมีเวลาเหลือเฟือจากการเตรียมตัวที่ดีนั้นจะทำให้เรามีเวลาในการพักผ่อนหย่อนใจก่อนสอบ สิ่งนี้จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียดเยอะเกินไป ซึ่งถ้าหากเรามีเวลามากแต่เตรียมตัวไม่ดีพอ จะทำให้เรามีเวลาน้อยในการเตรียมตัว เมื่อเวลากระชั้นชิดยิ่งทำให้เราเครียดกว่าเดิม ซึ่งอาจจะทำให้เราทำการทดสอบได้ออกมาไม่ดีเท่าที่ควรได้ เพิ่มทักษะการวางแผน การเตรียมตัวสอบที่ดี นั้นทำให้เราได้รับประโยชน์หลายอย่าง อีกอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ทักษะของการวางแผน…

เตรียมตัวสอบไฟนอล อย่างไรให้ไม่ตาย และไม่ต้องอดนอน

เตรียมตัวสอบไฟนอล อย่างไรให้ไม่ตาย และไม่ต้องอดนอน

การสอบมิดเทอมพึ่งจะผ่านพ้นไป เชื่อว่าน้องๆ จำนวนไม่น้อยต้องอดหลับอดนอนสำหรับการอ่านหนังสือ ซึ่งหากทำบ่อยๆไม่น่าใช่เรื่องที่ดีต่อสุภาพในระยะยาวแน่นอน ฉะนั้นวันนี้จะมาแนะนำ เคล็ดลับ เตรียมตัวสอบไฟนอล อย่างไรให้ไม่ตาย และไม่ต้องอดนอน เคล็ดลับ เตรียมตัวสอบไฟนอล 1.เรียนจบทุกคาบ สรุปเนื้อหาทันที ใน 1 รายวิชา ในการเรียน 1  คาบ ย่อมมีเนื้อหาอัดแน่น น้องๆ หลายคนเมื่อจบคาบก็เก็บเลคเชอร์ไว้โดย ไม่ได้กลับมาเปิดอ่านอีก และสะสมแบบนี้ทุกอาทิตย์ มาเปิดอ่านและสรุปทีเดียวช่วงไฟนอล อีกทั้งถ้ามีหลายวิชาสอบติดกัน บอกได้เลยว่าน้อง ๆ ตายเรียบแน่นอน ฉะนั้นวิธีแก้ จบคาบเรียนสรุปเนื้อหาทันทีให้เสร็จในวันนั้น หรือทำในช่วงวันหยุด ให้อ่านแล้วกระชับแต่เข้าใจรายละเอียดที่สุด เมื่อถึงไฟนอลน้องๆ จะได้ไม่ต้องอ่านหนังสือย้อนหลังหนักเกินไป 2.วางแผนอ่านหนังสือล่วงหน้า ก่อนไฟนอล 1 เดือน ในช่วง 1 เดือนสุดท้าย ก่อนไฟนอล น้องๆ ต้อง เตรียมตัวสอบไฟนอล โดยการนำเนื้อหาที่เลคเชอร์ไว้มาอ่านอย่างละเอียด และอ่านสรุปที่ทำไว้ในทุกคาบมาอ่านประกอบด้วย ซึ่งการวางแผนล่วงหน้า 1…

เตรียมตัวสอบ อย่างไรถึงจะทำให้ได้คะแนน หรือผลการสอบดี

เตรียมตัวสอบ อย่างไร ถึงจะทำให้ได้คะแนน หรือผลการสอบดี

               การเตรียมตัวสอบ นั้นสำคัญต่อใครหลายๆคน ที่ไม่ใช่เฉพาะนักเรียนที่จะสอบในรายวิชานั้นๆ หรือนักเรียนม.6 ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ยังรวมไปถึงผู้ใหญ่หลายคนอีกด้วย เช่น ผู้ที่จะสอบวัดความรู้เพื่อเข้าทำงานในบริษัท ผู้ที่จะสอบวัดความรู้ในงานของตนเองประจำปี ผู้ที่สอบแข่งขันบรรจุเข้ารับราชการ เป็นต้น ซึ่งบทความนี้จะบอกเล่าถึงเทคนิคในการ เตรียมตัวสอบ กัน มีดังนี้ เทคนิคเตรียมตัวสอบให้ได้คะแนนดี วางแผนในการเตรียมตัว เมื่อเราจะสอบจะมีหัวข้อในการสอบอยู่ เราจะต้องวางแผนในการ เตรียมตัวสอบ ก่อน โดยคำนึงถึงระยะเวลาที่มีอยู่ก่อนสอบ จำนวนหัวข้อในการสอบ คะแนนในแต่ละหัวข้อ เพื่อดูว่าหัวข้อใดมีคะแนนที่เยอะกว่า เราจะต้องทุ่มเทในหัวข้อนั้นๆมากกว่าหัวข้อ เมื่อเรามีระยะเวลาที่ไม่มากพอ เมื่อเราทราบปัจจัยต่างๆแล้ว เราก็ควรจะวางแผนให้เหมาะสม ไม่หนักเกินไปหรือน้อยเกินความจำเป็น เพื่อที่จะให้ผลคะแนนออกมาดี ทีมอ่านหนังสือวนไป มีคนหลายประเภทที่เลือกจะอ่านหนังสือซ้ำๆวนไป จนกว่าจะถึงเวลาสอบ โดยจากการวางแผน เราจะรู้ว่าเรามีเวลาขนาดไหน และสามารถอ่านหนังสือซ้ำได้ถึงกี่รอบ ซึ่งการเตรียมตัวแบบนี้จะช่วยทำให้เราจำถึงรายละเอียดต่างๆได้แม่นยำ ทีม Short Note จากการที่เราเรียนหรืออ่านหนังสือ เราจะสรุปในส่วนสำคัญต่างๆ มาทำเป็นสรุปสั้นๆ เพื่อสะดวกในการจำและรู้ถึง Keyword ในแต่ละเรื่องแต่ละหัวข้อ ยิ่งถ้าหากเรามีการลำดับเนื้อหาได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย จะช่วยทำให้เรามีทักษะในการจัดการ…