เคล็ดลับการอ่านหนังสือ

เทคนิคการอ่านหนังสือ

เทคนิคการอ่านหนังสือ อ่านอย่างไร? ให้เข้าใจได้ง่าย

สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่กำลังอยู่ในช่วงการเรียนไม่ว่าชั้นใดก็ตาม หรือจะเป็นในส่วนของกลุ่มคนวัยทำงานก็ตามแต่ที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม การหาความรู้จากหนังสือเป็นวิธีการหนึ่งที่เห็นผล ที่เราสามารถลงมือเอง ลุยอ่านเอง และได้ความรู้มาแบบง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงเรียนคอร์ส แต่เชื่อว่าใครหลายคนมักอ่านไปแล้วกลับลืมเสียเป็นส่วนใหญ่ แล้วพอจะกลับมาใช้ก็กลายว่าลืมหมดไปแล้ว เราจึงจะมาแนะนำ เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่าย ให้กับทุกท่านได้ทราบกัน เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่ายและเห็นผลได้จริง ก่อนการอ่านหนังสือเพื่อ การศึกษา หรือเพื่อความบันเทิงทุกครั้งเทคนิคการอ่านหนังสือควรที่จะทำสมาธิ ตั้งสติเพื่อให้โฟกัสกับการอ่านหนังสือ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนไม่ว่าจะเป็นโซเชียล เสียงที่รบกวนที่ทำให้หลุดจากโฟกัส หรือถ้าใครมีเรื่องไม่สบายใจ พยายามหยุดคิด หรือเขียนความไม่สบายใจเหล่านั้นลงในกระดาษ เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่วนอยู่กับความคิด แล้วเมื่ออ่านหนังสือจบก็ค่อยมาแก้ความกังวลใจนั้นได้อีกรอบ โดยเทคนิคการอ่านหนังสือมีดังนี้ เปิดอ่านสารบัญของหนังสือเล่มนี้ ก่อนการอ่านหนังสือทุกเล่มควรเลือกอ่านสารบัญก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเนื้อหาในเล่มทั้งหมดมีประเด็นสำคัญอะไรที่นำเสนอบ้าง เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจภาพรวมของหนังสือก่อน ไล่อ่านทีละบทตรงไหนสำคัญให้ไฮไลท์เอาไว้ เริ่มไล่อ่านทีละบทโดยดูเนื้อหาหัวข้อแต่ละหัวข้อไปก่อน และเมื่อหัวข้อนั้น เจอคำอธิบายที่สำคัญให้ทำการไฮไลท์จุดๆนั้นไว้ อ่านทวนตรงที่ให้ไฮไลท์แล้วลองเล่าเป็นภาษาตัวเอง เมื่ออ่านจบครบ 1 บท ลองไล่อ่านตรงที่เป็นไฮไลท์อีกที แล้วลองอธิบายเป็นภาษาเราให้เข้าใจง่ายๆ โดยอาจนึกว่าเลือกอ่านให้เพื่อนฟังก็ได้ สำหรับเทคนิคการอ่านหนังสือที่แนะนำเบื้องต้นสามารถนำไปปรับใช้ตามความต้องการของแต่ละคนได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้อ่านหนังสือประเภทไหนก็ตาม แต่ไม่มีการนำไปใช้หรือการแสดงออกแบบ Output ก็จะไม่ช่วยในการจดจำให้เราเท่าไหร่นัก แนะนำว่าอ่านเสร็จแต่ละบท แล้วลองนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงกันเลยจะดีกว่า และสุดท้ายและท้ายสุดในวันนี้เราจะมาแนะนำสิ่งดีๆ…

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ ที่ยังไงก็ทำจำได้ และทำข้อสอบได้ อย่างแน่นอน

การอ่านหนังสือเป็นสิ่งพื้นฐานในการเรียนรู้ของคนเราเลยก็ว่าได้ เราเริ่มฝึกพูด อ่าน เขียนตั้งแต่เด็กทำให้หลายๆคนคงรู้จักดีกับการอ่านหนังสือ ยิ่งในยุคปัจจุบันในการเรียนการสอนทุกๆโรงเรียนหรือมหาลัยมีการสอบตลอดเวลาเพราะการศึกษาของไทยนั้น คือ การเรียนแล้วนำไปสอบเพื่อวัดความรู้ของนักเรียนเลยก็ว่าได้ หลายๆคนอาจมีเทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่แตกต่างกันไปตามสไตล์ของตัวเองซึ่งบางคนอาจจะจำได้ดีหรือบางคนอาจจะไม่เข้าใจและจำไม่ได้เลย ซึ่ง เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ ที่นักเขียนจะแนะนำนั้นจะช่วยให้เหล่านักเรียนไทยสามารถจำได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบ แนะนำ 3 เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ 1.วางแผนในการอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรจะทำก่อนจะเริ่มอ่านหนังสือก็คือ การจัดสรรเวลาในการอ่านเพื่อให้อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาได้ทันก่อนเวลาสอบ ซึ่งอาจจะกำหนดว่าวันนี้ต้องอ่านวิชาอะไรบ้างเป็นเวลากี่ชั่วโมงและสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะทำก็คือ กำหนดเวลาพักให้ตัวเองบ้างเพราะสมองคนเราสามารถรับได้จำกัดเมื่อถึงขีดจำกัดก็จะไม่สามารถรับข้อมูลอะไรเพิ่มได้อีก ซึ่งแต่ละคนควรหาช่วงเวลาในการอ่านและพักที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น บางคนอาจจะอ่านตอนเช้าได้ดีกว่าอ่านตอนกลางคืน หรือ ควรอ่านหนังสือ 1 ชั่วโมงแล้วพัก 10 นาที เป็นต้น เทคนิคการอ่านหนังสือสอบแบบนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจำได้ดียิ่งขึ้น 2.อ่านออกเสียง หรือ จำเป็นภาพ เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ การอ่านออกเสียงไปด้วยระหว่างอ่านหนังสือเหมือนเป็นการพูดทวนทำความเข้าใจกับตัวเองทำให้จำได้ดีขึ้น หรือ การจำเป็นภาพอาจจะนึกภาพต่างๆเพื่อโยงถึงเนื้อหาที่เราอ่านทำให้สามารถจำได้ดีขึ้น 3.การใช้ปากกาไฮไลท์และสรุปเนื้อหาสำคัญ การใช้ปากกาไฮไลท์เป็นเทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่หลายๆคนนิยมทำ เพราะการไฮไลท์สีบนข้อความสำคัญต่างๆมีส่วนช่วยในการจำได้ดีและ การสรุปเนื้อหาสำคัญเมื่ออ่านจบเป็นการทบทวนเนื้อหาที่อ่านโดยใช้ความเข้าใจของตัวเองนอกจากนี้ยังสามารถนำสรุปมาอ่านทวนได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วยค่ะ ถ้าหากตอนนี้คุณกำลังมองหา เว็บไซต์ที่รวบเรื่องราว การศึกษา และความรู้ kor-kai.com มีข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและความรู้ที่ความหลากหลาย ไว้ให้คุณได้ค้นคว้าและค้นหาแล้ว และถ้าคุณได้รับข้อมูล และความรู้กันไปตามที่ต้องการแล้ว ถ้ากำลังมองหาเกมออนไลน์ เล่นเพื่อคลายสมอง pp slot…

วิธีแก้ไขปัญหา ทำโจทย์ไม่ได้

ทำโจทย์ไม่ได้ ทั้งๆ ที่อ่านหนังสือ จนจบบทแล้ว มีวิธีแก้ไขยังไงดี?

ถ้าจะแนะนำเด็กที่ไม่สามารถทำคะแนนในรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ดีพอ ด้วยการบอกให้ขยันมากขึ้น ทั้งเรื่องเรียนในห้องและการอ่านหนังสือเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ก็ต้องแย้งว่าบางคนได้ทำอย่างเต็มที่แล้วจริงๆ แต่ก็ยัง ทำโจทย์ไม่ได้ อยู่ดี ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่ขยัน แต่อาจเป็นเพราะวิธีการแก้ไขยังไม่เหมาะสมกับพวกเขามากพอ ดังนั้นแทนที่จะทุ่มเทอ่านหนังสือและทำโจทย์แบบเดิม ควรลองเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาตัวเองดูดีกว่า วิธีการแก้ไข ปัญหาอ่านหนังสือจนจบบทแล้วแต่ ทำโจทย์ไม่ได้ อย่างแรกคือให้วิเคราะห์ตัวเองว่าเราเข้าใจเนื้อหามากแค่ไหน การอ่านหนังสือจบบทที่ต้องการแล้วทำโจทย์ไม่ได้ มันก็มีเหตุผลอยู่ 2 อย่าง คือเราอ่านแล้วแต่ไม่ได้ทำความเข้าใจ เพียงแค่อ่านให้จบไปเท่านั้นเอง หรือเราเข้าใจทุกส่วนดีพอ แต่โจทย์ที่มีไม่สอดคล้องกับเนื้อหา อันนี้ก็มีให้เห็นบ้างกับหนังสือบางเล่ม คือสอนอย่างหนึ่งแต่เวลาเอาโจทย์มาให้ลองทำกลับเป็นโจทย์ประยุกต์ที่ต้องใช้ความรู้อื่นเพิ่มเติม แบบนี้จะทำไม่ได้ก็เป็นเรื่องปกติ ต่อมาให้ลองเปลี่ยนหนังสือดูก่อน อ่านเนื้อหาจากเล่มอื่นๆ ในเรื่องเดียวกัน แล้วดูว่ามีอะไรตกหล่นไปบ้าง จากนั้นค่อยกลับมาทำโจทย์อีกครั้ง ถ้าตอนนี้ทำโจทย์ไม่ได้อีก เราต้องหาตัวช่วยเสริม เพราะเราอาจตีความนิยามจากหนังสือได้ไม่ถูกต้องนัก ให้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้นที่มีความถนัดในวิชานั้นก่อน อาจจะนำโจทย์ที่เราติดปัญหาไปให้เพื่อนลองทำก็ได้ แล้วให้สังเกตขั้นตอนการแก้โจทย์ของเพื่อนว่าแตกต่างกับเราอย่างไร สุดท้ายคือให้อ่านเนื้อหาส่วนอื่นไปเลยโดยไม่ต้องสนใจประเด็นที่ทำโจทย์ไม่ได้ เพราะบางครั้งก็ต้องใช้การผสมผสานเนื้อหาหลายส่วน และเผลอๆ ก็อาจจะต้องใช้องค์ความรู้จากหลายวิชาอีกด้วย เรียกว่าเป็นโจทย์ประเภทบูรณาการนั่นเอง อย่างไรก็ตาม โจทย์ประเภทนี้จะมีในแบบทดสอบท้ายบทเรียนไม่มาก ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หมายความว่าอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ…

เทคนิค การอ่านจับใจความ จับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความ ง่ายนิดเดียว อยู่ที่การฝึกฝน ถ้าทำได้ก็เรียนเก่ง

การจะเรียนเก่งประการหนึ่งต้องเข้าใจเนื้อหาในหนังสือหรือตำราที่เรียนด้วย  แต่นักเรียน  นักศึกษาหลายคนมีปัญหาการอ่านด้านจับใจความ  อ่านจบแล้วไม่เข้าใจแจ่มแจ้งหรือไม่รู้ว่าประเด็นสำคัญคืออะไร  ดังนั้นมาฝึกฝน การอ่านจับใจความ ที่จริงๆ แล้วง่ายนิดเดียวกันดีกว่า… การอ่านจับใจความ ใช้เทคนิคอย่างนี้ เรียนดีแน่ โปรแกรมคร่าวๆ ก่อน เราย่อมรู้ว่าสิ่งที่จะอ่านคือวิชาอะไร  จะได้พบเจออะไรในหนังสือบ้าง  ให้โปรแกรมสิ่งนั้นสู่สมองคร่าวๆ เพื่อตีวงความเข้าใจและทำให้สมาธิพุ่งตรงไปที่การอ่านด้วย อ่านไล่เล่นๆ การอ่านจับใจความไม่ใช่การอ่านหนังสือหน้าชั้นเรียน  ดังนั้นไม่ต้องอ่านออกเสียงหรือค่อยๆ สะกดไปทีละตัว  ให้อ่านไล่เร็วๆ ไปเนื่องจากสมองของเราจะมองภาพรวมแบบอัตโนมัติ  (จะสังเกตว่าการอ่านเร็วๆ แม้มีคำผิดเราก็ยังอ่านคำนั้นได้ถูกอยู่ดี) สังเกตย่อหน้า วิธีการเขียนหนังสือของแต่ละคนแตกต่างกัน  แต่พบว่าผู้เขียนมักวางใจความสำคัญหรือประเด็นสำคัญไว้ที่แต่ละย่อหน้าแล้วตามด้วยการบรรยายรายละเอียดต่างๆ  ทำให้อ่านเข้าใจง่าย  รู้ได้ทันทีว่าอะไรคือส่วนสำคัญ  ดังนั้นให้สังเกตที่ย่อหน้าก่อนเสมอว่ามีใจความสำคัญซุกซ่อนอยู่หรือไม่?  ใจร้อนบ้างก็ได้ ผู้อ่านอาจขี้โกงเล็กน้อยด้วยการข้ามไปอ่านท้ายบทหรือท้ายหนังสือ  ที่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นบทสรุปหรือประเด็นสำคัญที่เราค้นหาอยู่ สร้างภาพ… การอ่านจับใจความที่ดีควรจินตนาการเนื้อหาที่กำลังอ่านให้เป็นภาพเหมือนดูภาพยนตร์  นอกจากความเพลิดเพลินแล้วยังช่วยจดจำเนื้อหาไปตามลำดับซึ่งช่วยไม่ให้สับสนด้วย  แต่ต้องจินตนาการแบบหนังสั้นที่มีประเด็นสำคัญ  ไม่ลงรายละเอียดให้เสียเวลา หมายเอาไว้ ในที่นี้คือการขีดเส้นใต้หรือไฮไลต์ข้อความสำคัญที่พบเจอ  หากอ่านซ้ำอีกจะได้เห็น  จำไม่ได้ก็จะได้หาเจอด้วย  ยกตัวอย่างเช่น  ในการเลือกตั้งครั้งนี้สมชัยได้เป็นประธานนักเรียนเนื่องจากเขามีความเป็นผู้นำสูงเมื่อเทียบกับผู้ลงสมัครคนอื่นๆ  (จะเห็นว่าส่วนที่ขีดเส้นใต้สำคัญที่สุด  นอกนั้นเป็นคำพรรณนา) และเมื่ออ่านไปเจอคำว่าสมชัยก็อาจเป็นได้ว่าเนื้อหาในส่วนนั้นกล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานนักเรียนนั่นเอง โน้ตย่อก็ดี การจำไม่สู้การจด …

การอ่านจับใจความ สิ่งสำคัญในการอ่านหนังสือ

การอ่านจับใจความ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง มาดูกัน!

นักเรียน  นักศึกษาหลายคนรู้วิธีอ่านจับใจความว่าต้องทำอย่างไร  แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า การอ่านจับใจความ แท้จริงคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง  ดังนั้นตามมาทำความเข้าใจกันเถอะ…  การอ่านจับใจความ คืออะไร? ก่อนอื่นต้องมองความจริงก่อนว่าในหนังสือหรือตำราวิชาการอะไรก็แล้วแต่  ไม่ใช่ทุกบรรทัดทุกตัวอักษรจะสำคัญเท่าเทียมกัน  เพราะผู้เขียนมีสิ่งสำคัญที่อยากจะบอกและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่อยากจะอธิบายนั่นเอง  ดังนั้นการอ่านข้อความหรือหนังสือสักเล่ม  ผู้อ่านต้องกลั่นกรองให้ได้ว่าสิ่งใดสำคัญโดยใช้วิธีการอ่านจับใจความที่มุ่งหาสาระหรือใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง  ซึ่งทำให้ทราบว่าที่เหลือเป็นใจความรองและรายละเอียดต่างๆ  ขออธิบายเสริม  ดังนี้  1.  ใจความสำคัญ  คือ  แก่นของแต่ละย่อหน้า  ซึ่งแต่ละย่อหน้ามักมีใจความสำคัญประมาณ  1  –  2  ใจความ  โดยใจความสำคัญจะมีลักษณะ  ดังนี้ –  สั้นกระชับ  –  สามารถเป็นประโยคเดี่ยวๆ ได้เลย –  สามารถเป็นหัวข้อในแต่ละย่อหน้าได้  –  ไม่จำเป็นต้องมีประโยคอื่นเสริมหรือประกอบก็เข้าใจได้ 2.  ใจความรอง  (พลความ)  คือ  ส่วนที่ช่วยขยายหรือสนับสนุนให้ใจความสำคัญมีความชัดเจนและเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  ได้แก่  การเปรียบเทียบเปรียบเปรย  การอธิบายเหตุผล  การให้คำจำกัดความ  และการยกตัวอย่างประกอบ  (ซึ่งเราอาจไม่จำเป็นต้องใส่ใจหากมีเวลาอ่านน้อยหรือต้องการทราบเนื้อหาสำคัญเพียงคร่าวๆ) 3.  รายละเอียด  คือ …

เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ อ่านให้เก่ง

เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ เหมาะกับเด็กนักเรียนนักศึกษา ที่อยากเก่งไว ๆ

การอ่านหนังสือให้เก่ง ไม่ใช่ว่าแค่อ่านเฉย ๆ ไปเรื่อย ๆ เท่านั้น แต่คุณต้องรู้จักเรียนรู้เทคนิคการอ่านหนังสือด้วย เพื่อให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะหนังสือเรียน ตำรา หนังสืออ่านเล่น หรือสารต่าง ๆ คุณจึงจะสามารถรับข้อมูลได้มาก จดจำได้อย่างแม่นยำ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ซึ่ง เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ นั้นก็ไม่ได้ยากเย็นเลย เพียงแต่ต้องนำไปใช้อย่างจริงจังจึงจะเห็นผลชัดเจน แนะนำ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพชวนคนอื่นมาอ่านด้วย จะเป็นนักอ่านขั้นเทพได้ คุณก็ควรชักชวนให้คนรอบข้างหันมาชอบการอ่านหนังสืออย่างคุณด้วย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณ เต็มไปด้วยคนที่รักการอ่าน เช่น -ควรชวนพ่อแม่พี่น้อง หรือคนในครอบครัวให้หันมาอ่านหนังสือกันด้วย ยิ่งถ้าอ่านได้ทั้งบ้านก็จะทำให้เกิดบรรยากาศการอ่านที่ดี มีแต่จะชักชวนกันอ่าน และให้กำลังใจกันจนทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น นอกจากนี้ยังถือเป็นกิจกรรมสำหรับครอบครัวที่ดีด้วย -ชวนเพื่อให้อ่านหนังสือด้วย ได้ความรู้ ได้ฝึกนิสัยรักการอ่าน และดีกว่าไปทำเรื่องไม่ดี -ชวนคนที่อ่านหนังสือไม่เก่ง คุณจะได้ช่วยสอนเขา และช่วยฝึกฝนทักษะการอธิบายไปด้วย เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพต้องรู้จักอ่านในใจ นักอ่านขั้นเทพควรฝึกการอ่านในใจ แต่ต้องไม่ทำปากขมุบขมิบ ไม่ใช้นิ้วหรือปากกาจิ้มไปที่ตัวหนังสือทีละคำแบบเด็ก ๆ ซึ่งการแบบเด็กที่ต้องห้ามนี้ จะทำให้เกิดผลเสียคือ ทำให้ใจจดจ่อกับตัวหนังสือมากกว่าสารหรือข้อมูลในหนังสือ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพอย่าอ่านทุกคำ…

“Brain Gym” ท่าบริหารสมอง คลายความเครียด จากการอ่านหนังสือสอบ หรือเรียนหนัก

“Brain Gym” ท่าบริหารสมอง คลายความเครียด จากการอ่านหนังสือสอบ หรือเรียนหนัก

ดร. พอล เดนนิสัน เป็นนักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นท่าบริหารสมอง หรือที่เรียกว่า Brain Gym ขึ้น เพื่อให้การออกกำลังกายท่าต่าง ๆ หรือการเคลื่อนไหว ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้ทำงานดีขึ้น ทำให้การเรียนรู้ดีจึงเหมาะกับเด็กวัยเรียน นอกจากนี้ยังเป็นท่าที่ช่วยให้คลายเครียด และมีสมาธิมากขึ้นด้วย Brain Gym ท่าบริหารสมอง ที่ดีที่สุด ท่าบริหารสมองสำหรับเด็กวัยเรียน : ท่าหมุนมือ ประโยชน์ของท่าบริหารสมอง Brain Gymท่าบริหารสมอง ท่าหมุนมือ เป็นท่ากายบริหารที่ช่วยให้การทำงานของสมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย ถ่ายโยงข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีบริหาร -ให้เริ่มจากท่ายืน ปลายเท้าห่างกันพอประมาณ -ยื่นแขนทั้งสองไปด้านหน้าให้ขนานกันและเหยียดตรง -จากนั้นให้กำหมัด และคว่ำหมัดลง -เริ่มหมุนหมัดเป็นวงกลม โดยหมุนในทิศทางเข้าหาตรงกลาง ก็จะเหมือนกับการวาดวงกลม 2 อันมาต่อกันจนกลายเป็นเลข 8 ท่าบริหารสมองสำหรับเด็กนักเรียนนักศึกษา : ท่านั่งไขว่ห้าง ประโยชน์ของท่าบริหารสมอง Brain Gymท่าบริหารสมอง ท่านั่งไขว่ห้าง เป็นท่าการบริหารที่จะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองหน้า และสมองส่วนหลัง…

เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่าย จำได้ไม่ลืม และรู้จักประยุกต์ใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่าย จำได้ไม่ลืม และรู้จักประยุกต์ใช้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เด็กนักเรียนนักศึกษามักจะมีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือแล้ว จำไม่ค่อยได้ อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือจำได้แต่ก็ไม่เก่งพอจะประยุกต์ใช้ ดังนั้นมาลองดู เทคนิคการอ่านหนังสือ ที่จะแนะนำต่อไปนี้ แล้วคุณจะรู้ว่าการอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องยากเย็น แค่ต้องเปลี่ยนมุมมองการอ่านเสียใหม่ เพียงเท่านี้คุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการเรียนอีกต่อไป                แนะนำ 4 เทคนิคการอ่านหนังสือ อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการอ่านหนังสือเพื่อสอบอ่านแบบเร็ว ๆ การอ่านหนังสือเพื่อสอบ หากอ่านหนังสือเล่มหนามากทุกวิชาคงไม่ไหว ดังนั้นการอ่านแบบเร็ว ๆ ข้าม ๆ เลือกดูเฉพาะจุดที่คิดว่าสำคัญก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องพะวงเสียเวลากับข้อมูลที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะวิชาภาอังกฤษการอ่านข้าม ๆ ก็จะทำให้เกิดทักษะในการสะกดคำหรือการอ่านได้ไปเอง โดยที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า คำนั้นสะกดคำอย่างไร แต่เมื่อเราลองเขียนก็มักจะเขียนได้ถูกต้อง หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียง ซึ่งการฝึกทักษะนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ  เพราะสมองของเด็กจะเรียนรู้ได้ไว คือจะเกิดการเรียนรู้ไปเองทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้หลักการการอ่านด้วยซ้ำ เช่น ในภาษาฝรั่งเศส bonjour แปลว่าสวัสดียามเช้า อ่านว่า บง-ชูร์ จากนั้นเมื่อเราได้รู้แล้วว่าคำนี้อ่านเช่นนี้ เมื่อเราไปเจอศัพท์อีกคำที่สะกดคล้ายกัน เราก็จะอ่านได้เองโดยอัตโนมัติ เช่น เราไปเจอคำว่า Mouchoir ที่แปลว่าผ้าเช็ดหน้า…

เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่าน ให้อ่านได้เร็ว อ่านดีมีประสิทธิภาพสูง ใช้ช่วงสอบ ตอบได้ทุกคำถาม

เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่าน ให้อ่านได้เร็ว อ่านดีมีประสิทธิภาพสูง ใช้ช่วงสอบ ตอบได้ทุกคำถาม

การฝึกทักษะทางการอ่าน เพื่อให้อ่านได้เร็ว นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาแล้ว ก็ยังทำให้เรารู้จักเลือกตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วเลือกจับประเด็นที่มีความสำคัญ ทำให้สมองของเราพัฒนาได้มากขึ้น ซึ่ง เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่าน ให้อ่านเร็วจะช่วยให้สามารถอ่านหนังสือในช่วงสอบได้ดี และยังช่วยให้เข้าถึงสื่อที่ต้องใช้การอ่านได้ทุกประเภทด้วย  แนะนำ เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่าน เพื่อใช้ในช่วงสอบ ให้มีประสิทธิภาพสูง เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านเชื่อไหมว่าคนที่ชอบอ่านแล้วออกเสียงหรือพูดตามไปด้วยนั้น จะทำให้ถ่วงเวลาในการอ่านเร็ว เนื่องจากสมองต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ผิดกับคนที่อ่านในใจจะอ่านได้เร็วมากกว่า เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านให้เร็วที่สำคัญก็คือ เราต้องไม่มองหารายละเอียดทุกสิ่งแล้วจดจำ แต่มองหาเฉพาะข้อความที่สำคัญ หรือใจความสำคัญเท่านั้น ลองนึกภาพตอนที่เรามองหาชื่อของเราบนประกาศสิ แบบนั้นแหละ คือเราจะไม่อ่านทีละคำแต่เราจะกวาดตาให้เห็นสิ่งที่เราต้องการเท่านั้น และนั่นก็คือหัวใจของการอ่านเร็ว ซึ่งพอเราเห็นสิ่งสำคัญที่อยู่ในนั้นแล้ว เราก็จะเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไรนั่นเอง  เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านหลายคนที่ชอบทำเครื่องหมาย ไฮไลต์ หรือขีดเส้นใต้บางคำหรือบางใจความในหนังสือ นั่นแหละคือสิ่งที่จะช่วยให้การอ่านเร็วมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อเราค้นพบข้อความสำคัญในหน้านั้น ๆ แล้วเรากลัวลืม เราก็ควรทำสัญลักษณ์เอาไว้ พอเรากลับมาเปิดอ่านอีกรอบเราก็ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มอีก แต่อ่านเฉพาะตรงส่วนนั้นก็ได้ และทำให้เราสามารถสรุปใจความสำคัญได้ดีขึ้น แต่สำหรับการทำเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์นั้นก็ขอเตือนว่าอย่าพยายามทำมากจนเกินไป ในหน้าหนึ่งไม่ควรจะทำมากเสียจนกลายเป็นว่าทุกอย่างสำคัญหมด เราควรเลือกและรู้จักตัดประเด็นบางอย่างออกไปบ้าง แล้วเลือกเฉพาะที่สำคัญจริง ๆ เท่านั้น ก็จะทำให้เรารู้จักการคิดวิเคราะห์มากขึ้นด้วย เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านเมื่ออ่านนานและอ่านเร็ว ๆ บางครั้งก็อาจทำให้เมื่อยล้าสายตาได้…

ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนไหนของหนังสือต้องอ่านให้จำ เน้นย้ำเป็นพิเศษ

ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนไหนของหนังสือต้องอ่านให้จำ เน้นย้ำเป็นพิเศษ

ในการอ่านหนังสือสักเล่มโดยเฉพาะหนังสือเรียน ตำรา หรือหนังสือสอบ อย่างน้อยเราก็ควรจดจำส่วนต่าง ๆ ของหนังสือเล่มนั้นได้เป็นอย่างดี แต่จะมีบางส่วนที่จะต้องจำโดยใช้เทคนิคการอ่านหนังสือที่พิเศษสักหน่อย เพื่อทำให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพ อ่านแล้วไม่ใช่แค่จำได้ แต่เข้าใจอย่างแท้จริง  เราควรรู้ถึง ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ กันก่อน เพื่อการอ่านหนังสือ จะได้มีประสิทธิภาพ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ ที่ควรรู้ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนแรกคือ หัวเรื่อง หัวข้อ หรือพาดหัวของหนังสือ การจดจำหัวเรื่องหรือหัวข้อในหนังสือให้ได้นั้น จะช่วยให้เมื่อต้องทำสอบ เราจะนึกออกได้ทันทีว่าคำตอบที่เราต้องการอยู่ในหัวข้อนั้น ๆ ช่วยให้ความคิดของเราไม่กระจัดกระจาย สามารถตอบได้ตรงจุด ตรงคำถามมากขึ้น ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนที่สองคือ เนื้อหาของหนังสือ   เนื้อหาหรือข้อมูลในหนังสือทั่วไปเป็นส่วนที่มีปริมาณมากที่สุด แน่นอนว่าการจำทั้งหมดย่อมเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะกับตำราเล่มหนาปึ้ก ดังนั้นเราจึงต้องรู้จักเลือกจำบางอย่าง ปล่อยผ่านบางอย่าง โดยการคาดเดาจากอาจารย์ที่สอน ว่าท่านเน้นย้ำเนื้อหาใดเป็นพิเศษ ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือส่วนที่สามคือ ใจความสำคัญ หรือ main…