สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่กำลังอยู่ในช่วงการเรียนไม่ว่าชั้นใดก็ตาม หรือจะเป็นในส่วนของกลุ่มคนวัยทำงานก็ตามแต่ที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม การหาความรู้จากหนังสือเป็นวิธีการหนึ่งที่เห็นผล ที่เราสามารถลงมือเอง ลุยอ่านเอง และได้ความรู้มาแบบง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงเรียนคอร์ส แต่เชื่อว่าใครหลายคนมักอ่านไปแล้วกลับลืมเสียเป็นส่วนใหญ่ แล้วพอจะกลับมาใช้ก็กลายว่าลืมหมดไปแล้ว เราจึงจะมาแนะนำ เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่าย ให้กับทุกท่านได้ทราบกัน เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่ายและเห็นผลได้จริง ก่อนการอ่านหนังสือเพื่อ การศึกษา หรือเพื่อความบันเทิงทุกครั้งเทคนิคการอ่านหนังสือควรที่จะทำสมาธิ ตั้งสติเพื่อให้โฟกัสกับการอ่านหนังสือ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนไม่ว่าจะเป็นโซเชียล เสียงที่รบกวนที่ทำให้หลุดจากโฟกัส หรือถ้าใครมีเรื่องไม่สบายใจ พยายามหยุดคิด หรือเขียนความไม่สบายใจเหล่านั้นลงในกระดาษ เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่วนอยู่กับความคิด แล้วเมื่ออ่านหนังสือจบก็ค่อยมาแก้ความกังวลใจนั้นได้อีกรอบ โดยเทคนิคการอ่านหนังสือมีดังนี้ เปิดอ่านสารบัญของหนังสือเล่มนี้ ก่อนการอ่านหนังสือทุกเล่มควรเลือกอ่านสารบัญก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเนื้อหาในเล่มทั้งหมดมีประเด็นสำคัญอะไรที่นำเสนอบ้าง เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจภาพรวมของหนังสือก่อน ไล่อ่านทีละบทตรงไหนสำคัญให้ไฮไลท์เอาไว้ เริ่มไล่อ่านทีละบทโดยดูเนื้อหาหัวข้อแต่ละหัวข้อไปก่อน และเมื่อหัวข้อนั้น เจอคำอธิบายที่สำคัญให้ทำการไฮไลท์จุดๆนั้นไว้ อ่านทวนตรงที่ให้ไฮไลท์แล้วลองเล่าเป็นภาษาตัวเอง เมื่ออ่านจบครบ 1 บท ลองไล่อ่านตรงที่เป็นไฮไลท์อีกที แล้วลองอธิบายเป็นภาษาเราให้เข้าใจง่ายๆ โดยอาจนึกว่าเลือกอ่านให้เพื่อนฟังก็ได้ สำหรับเทคนิคการอ่านหนังสือที่แนะนำเบื้องต้นสามารถนำไปปรับใช้ตามความต้องการของแต่ละคนได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้อ่านหนังสือประเภทไหนก็ตาม แต่ไม่มีการนำไปใช้หรือการแสดงออกแบบ Output ก็จะไม่ช่วยในการจดจำให้เราเท่าไหร่นัก แนะนำว่าอ่านเสร็จแต่ละบท แล้วลองนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงกันเลยจะดีกว่า และสุดท้ายและท้ายสุดในวันนี้เราจะมาแนะนำสิ่งดีๆ…
การอ่านหนังสือเป็นสิ่งพื้นฐานในการเรียนรู้ของคนเราเลยก็ว่าได้ เราเริ่มฝึกพูด อ่าน เขียนตั้งแต่เด็กทำให้หลายๆคนคงรู้จักดีกับการอ่านหนังสือ ยิ่งในยุคปัจจุบันในการเรียนการสอนทุกๆโรงเรียนหรือมหาลัยมีการสอบตลอดเวลาเพราะการศึกษาของไทยนั้น คือ การเรียนแล้วนำไปสอบเพื่อวัดความรู้ของนักเรียนเลยก็ว่าได้ หลายๆคนอาจมีเทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่แตกต่างกันไปตามสไตล์ของตัวเองซึ่งบางคนอาจจะจำได้ดีหรือบางคนอาจจะไม่เข้าใจและจำไม่ได้เลย ซึ่ง เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ ที่นักเขียนจะแนะนำนั้นจะช่วยให้เหล่านักเรียนไทยสามารถจำได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบ แนะนำ 3 เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ 1.วางแผนในการอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรจะทำก่อนจะเริ่มอ่านหนังสือก็คือ การจัดสรรเวลาในการอ่านเพื่อให้อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาได้ทันก่อนเวลาสอบ ซึ่งอาจจะกำหนดว่าวันนี้ต้องอ่านวิชาอะไรบ้างเป็นเวลากี่ชั่วโมงและสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะทำก็คือ กำหนดเวลาพักให้ตัวเองบ้างเพราะสมองคนเราสามารถรับได้จำกัดเมื่อถึงขีดจำกัดก็จะไม่สามารถรับข้อมูลอะไรเพิ่มได้อีก ซึ่งแต่ละคนควรหาช่วงเวลาในการอ่านและพักที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น บางคนอาจจะอ่านตอนเช้าได้ดีกว่าอ่านตอนกลางคืน หรือ ควรอ่านหนังสือ 1 ชั่วโมงแล้วพัก 10 นาที เป็นต้น เทคนิคการอ่านหนังสือสอบแบบนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจำได้ดียิ่งขึ้น 2.อ่านออกเสียง หรือ จำเป็นภาพ เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ การอ่านออกเสียงไปด้วยระหว่างอ่านหนังสือเหมือนเป็นการพูดทวนทำความเข้าใจกับตัวเองทำให้จำได้ดีขึ้น หรือ การจำเป็นภาพอาจจะนึกภาพต่างๆเพื่อโยงถึงเนื้อหาที่เราอ่านทำให้สามารถจำได้ดีขึ้น 3.การใช้ปากกาไฮไลท์และสรุปเนื้อหาสำคัญ การใช้ปากกาไฮไลท์เป็นเทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่หลายๆคนนิยมทำ เพราะการไฮไลท์สีบนข้อความสำคัญต่างๆมีส่วนช่วยในการจำได้ดีและ การสรุปเนื้อหาสำคัญเมื่ออ่านจบเป็นการทบทวนเนื้อหาที่อ่านโดยใช้ความเข้าใจของตัวเองนอกจากนี้ยังสามารถนำสรุปมาอ่านทวนได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วยค่ะ ถ้าหากตอนนี้คุณกำลังมองหา เว็บไซต์ที่รวบเรื่องราว การศึกษา และความรู้ kor-kai.com มีข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและความรู้ที่ความหลากหลาย ไว้ให้คุณได้ค้นคว้าและค้นหาแล้ว และถ้าคุณได้รับข้อมูล และความรู้กันไปตามที่ต้องการแล้ว ถ้ากำลังมองหาเกมออนไลน์ เล่นเพื่อคลายสมอง pp slot…
ตั้งแต่ช่วงสถานการณ์ covid 19 ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยนั้นก็ทำให้วงการการศึกษานั้นได้รับผลกระทบเข้าไปด้วยแบบต่างๆเช่นเดียวกับวันนี้กลับมาพบกันอีกครั้งนักเขียนก็ได้เตรียม วิธีเตรียมตัวสอบยุคเรียนออนไลน์ มาฝากเพื่อนๆชาววงการศึกษาได้นำเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้ในช่วงเรียนออนไลน์แบบนี้กัน ต้องบอกเลยว่าการเตรียมตัวช่วงสอบออนไลน์นี้บางคนอาจจะคิดว่าค่อนข้างยากเพราะอาจจะยังไม่รู้จะกลับฟังก์ชั่นต่างๆของแอปเรียนออนไลน์หรือไม่สามารถไปเจอกับเพื่อนนัดเจอกันอ่านหนังสือได้ ซึ่งเราจะมาดูวิธีง่ายๆเหล่านี้ที่จะเป็นตัวช่วยในยุคเรียนออนไลน์กันค่ะ วิธีเตรียมตัวสอบยุคเรียนออนไลน์ ต้องความพร้อมให้พร้อมในทุกด้าน ทำความรู้จักกับฟังก์ชันต่างๆภายในอุปกรณ์เรียนออนไลน์ ต้องบอกเลยว่าข้อนี้สำคัญเป็นอย่างมากเลยนะคะ สำหรับการทำความรู้จักส่วนต่างๆของการเรียนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Class materials หรือ โฟลเดอร์ส่งงานและช่องทางการจอยเข้าชั้นเรียน เพื่อนๆจำเป็นต้องรู้จักสิ่งเหล่านี้และเข้าใช้งานเป็นเพราะในการสอบออนไลน์ก็จะมีการเข้าใช้จอยเข้าชั้นเรียนเพื่อเข้าสอบแบบเปิดกล้องร่วมกันกับเพื่อนๆ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสังคมการศึกษาของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมากเลยนะคะสำหรับวิธีเตรียมตัวสอบยุคเรียนออนไลน์ นี้ เตรียมตัวอ่านหนังสือจากทางเอกสารในแอป ต้องบอกเลยว่าหลังจากที่เราเข้ามาเรียนออนไลน์กันนั้นสิ่งที่สะดวกสุดๆสำหรับการเรียนออนไลน์เลยก็คือเพื่อนๆสามารถเปิดเรคคอร์ดเข้าฟังย้อนหลังได้หลังจากที่เพื่อนๆเรียนจบไป จึงเป็นตัวช่วยสำหรับ วิธีเตรียมตัวสอบยุคเรียนออนไลน์ ได้เป็นอย่างดีเลยนะคะเพื่อนๆ อีกทั้งเพื่อนๆยังเปิดอ่านเอกสารชีทที่คุณครูสอนได้ภายในแอปแบบง่ายๆโดยไม่ต้องไปปริ้นชีทให้เสียเงินเลยค่ะ สามารถจอยกรุ๊ปเข้ากับเพื่อนเพื่ออ่านหนังสือ ข้อนี้สำคัญเป็นอย่างมากเลยนะคะเพื่อนๆในช่วงมาตรการเฝ้าระวัง covid 19 นั้นเราคงจะไม่ได้ไปรวมตัวกันอ่านหนังสือแบบช่วงปกติแล้วใช่ไหมล่ะคะ แต่เพื่อนๆยังสามารถจอยกรุ๊ปเข้าทางออนไลน์เพื่อที่จะอ่านหนังสือหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทำความเข้าใจในการติวหนังสือกันได้ด้วยนะคะ เรียกได้ว่าเป็นวิธีและช่องทางที่สะดวกสุดๆเลยค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างคะเพื่อนๆสำหรับ วิธีเตรียมตัวสอบยุคเรียนออนไลน์ ที่นักเขียนได้นำมาฝากเพื่อนๆชาวเว็บการศึกษาและเพื่อนๆที่เรียนออนไลน์กันอยู่ในช่วงนี้ ต้องบอกเลยว่าวิธีเหล่านี้ที่นักเขียนนำมาแนะนำให้ฟังเป็นสิ่งสำคัญต่อการสอบออนไลน์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนหรือการ join Group กับเพื่อนๆเพื่อติวหนังสือ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญให้กับเพื่อนๆเตรียมตัวสอบออนไลน์ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ ก่อไก่ เว็บไซต์เกี่ยวกับ การศึกษา ที่รวบรวม ความรู้ในทุกๆ ด้าน ไว้ที่นี่ ให้ทุกท่านได้ค้นหา และถ้าใครที่กำลังค้นหาแหล่งทำเงิน ที่สามารถทำเงินออนไลน์ได้จริง joker6666…
ถ้าจะแนะนำเด็กที่ไม่สามารถทำคะแนนในรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้ดีพอ ด้วยการบอกให้ขยันมากขึ้น ทั้งเรื่องเรียนในห้องและการอ่านหนังสือเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ก็ต้องแย้งว่าบางคนได้ทำอย่างเต็มที่แล้วจริงๆ แต่ก็ยัง ทำโจทย์ไม่ได้ อยู่ดี ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่ขยัน แต่อาจเป็นเพราะวิธีการแก้ไขยังไม่เหมาะสมกับพวกเขามากพอ ดังนั้นแทนที่จะทุ่มเทอ่านหนังสือและทำโจทย์แบบเดิม ควรลองเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาตัวเองดูดีกว่า วิธีการแก้ไข ปัญหาอ่านหนังสือจนจบบทแล้วแต่ ทำโจทย์ไม่ได้ อย่างแรกคือให้วิเคราะห์ตัวเองว่าเราเข้าใจเนื้อหามากแค่ไหน การอ่านหนังสือจบบทที่ต้องการแล้วทำโจทย์ไม่ได้ มันก็มีเหตุผลอยู่ 2 อย่าง คือเราอ่านแล้วแต่ไม่ได้ทำความเข้าใจ เพียงแค่อ่านให้จบไปเท่านั้นเอง หรือเราเข้าใจทุกส่วนดีพอ แต่โจทย์ที่มีไม่สอดคล้องกับเนื้อหา อันนี้ก็มีให้เห็นบ้างกับหนังสือบางเล่ม คือสอนอย่างหนึ่งแต่เวลาเอาโจทย์มาให้ลองทำกลับเป็นโจทย์ประยุกต์ที่ต้องใช้ความรู้อื่นเพิ่มเติม แบบนี้จะทำไม่ได้ก็เป็นเรื่องปกติ ต่อมาให้ลองเปลี่ยนหนังสือดูก่อน อ่านเนื้อหาจากเล่มอื่นๆ ในเรื่องเดียวกัน แล้วดูว่ามีอะไรตกหล่นไปบ้าง จากนั้นค่อยกลับมาทำโจทย์อีกครั้ง ถ้าตอนนี้ทำโจทย์ไม่ได้อีก เราต้องหาตัวช่วยเสริม เพราะเราอาจตีความนิยามจากหนังสือได้ไม่ถูกต้องนัก ให้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมชั้นที่มีความถนัดในวิชานั้นก่อน อาจจะนำโจทย์ที่เราติดปัญหาไปให้เพื่อนลองทำก็ได้ แล้วให้สังเกตขั้นตอนการแก้โจทย์ของเพื่อนว่าแตกต่างกับเราอย่างไร สุดท้ายคือให้อ่านเนื้อหาส่วนอื่นไปเลยโดยไม่ต้องสนใจประเด็นที่ทำโจทย์ไม่ได้ เพราะบางครั้งก็ต้องใช้การผสมผสานเนื้อหาหลายส่วน และเผลอๆ ก็อาจจะต้องใช้องค์ความรู้จากหลายวิชาอีกด้วย เรียกว่าเป็นโจทย์ประเภทบูรณาการนั่นเอง อย่างไรก็ตาม โจทย์ประเภทนี้จะมีในแบบทดสอบท้ายบทเรียนไม่มาก ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หมายความว่าอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ…
การจะเรียนเก่งประการหนึ่งต้องเข้าใจเนื้อหาในหนังสือหรือตำราที่เรียนด้วย แต่นักเรียน นักศึกษาหลายคนมีปัญหาการอ่านด้านจับใจความ อ่านจบแล้วไม่เข้าใจแจ่มแจ้งหรือไม่รู้ว่าประเด็นสำคัญคืออะไร ดังนั้นมาฝึกฝน การอ่านจับใจความ ที่จริงๆ แล้วง่ายนิดเดียวกันดีกว่า… การอ่านจับใจความ ใช้เทคนิคอย่างนี้ เรียนดีแน่ โปรแกรมคร่าวๆ ก่อน เราย่อมรู้ว่าสิ่งที่จะอ่านคือวิชาอะไร จะได้พบเจออะไรในหนังสือบ้าง ให้โปรแกรมสิ่งนั้นสู่สมองคร่าวๆ เพื่อตีวงความเข้าใจและทำให้สมาธิพุ่งตรงไปที่การอ่านด้วย อ่านไล่เล่นๆ การอ่านจับใจความไม่ใช่การอ่านหนังสือหน้าชั้นเรียน ดังนั้นไม่ต้องอ่านออกเสียงหรือค่อยๆ สะกดไปทีละตัว ให้อ่านไล่เร็วๆ ไปเนื่องจากสมองของเราจะมองภาพรวมแบบอัตโนมัติ (จะสังเกตว่าการอ่านเร็วๆ แม้มีคำผิดเราก็ยังอ่านคำนั้นได้ถูกอยู่ดี) สังเกตย่อหน้า วิธีการเขียนหนังสือของแต่ละคนแตกต่างกัน แต่พบว่าผู้เขียนมักวางใจความสำคัญหรือประเด็นสำคัญไว้ที่แต่ละย่อหน้าแล้วตามด้วยการบรรยายรายละเอียดต่างๆ ทำให้อ่านเข้าใจง่าย รู้ได้ทันทีว่าอะไรคือส่วนสำคัญ ดังนั้นให้สังเกตที่ย่อหน้าก่อนเสมอว่ามีใจความสำคัญซุกซ่อนอยู่หรือไม่? ใจร้อนบ้างก็ได้ ผู้อ่านอาจขี้โกงเล็กน้อยด้วยการข้ามไปอ่านท้ายบทหรือท้ายหนังสือ ที่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นบทสรุปหรือประเด็นสำคัญที่เราค้นหาอยู่ สร้างภาพ… การอ่านจับใจความที่ดีควรจินตนาการเนื้อหาที่กำลังอ่านให้เป็นภาพเหมือนดูภาพยนตร์ นอกจากความเพลิดเพลินแล้วยังช่วยจดจำเนื้อหาไปตามลำดับซึ่งช่วยไม่ให้สับสนด้วย แต่ต้องจินตนาการแบบหนังสั้นที่มีประเด็นสำคัญ ไม่ลงรายละเอียดให้เสียเวลา หมายเอาไว้ ในที่นี้คือการขีดเส้นใต้หรือไฮไลต์ข้อความสำคัญที่พบเจอ หากอ่านซ้ำอีกจะได้เห็น จำไม่ได้ก็จะได้หาเจอด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งครั้งนี้สมชัยได้เป็นประธานนักเรียนเนื่องจากเขามีความเป็นผู้นำสูงเมื่อเทียบกับผู้ลงสมัครคนอื่นๆ (จะเห็นว่าส่วนที่ขีดเส้นใต้สำคัญที่สุด นอกนั้นเป็นคำพรรณนา) และเมื่ออ่านไปเจอคำว่าสมชัยก็อาจเป็นได้ว่าเนื้อหาในส่วนนั้นกล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานนักเรียนนั่นเอง โน้ตย่อก็ดี การจำไม่สู้การจด …
นักเรียน นักศึกษาหลายคนรู้วิธีอ่านจับใจความว่าต้องทำอย่างไร แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า การอ่านจับใจความ แท้จริงคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ดังนั้นตามมาทำความเข้าใจกันเถอะ… การอ่านจับใจความ คืออะไร? ก่อนอื่นต้องมองความจริงก่อนว่าในหนังสือหรือตำราวิชาการอะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ทุกบรรทัดทุกตัวอักษรจะสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะผู้เขียนมีสิ่งสำคัญที่อยากจะบอกและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่อยากจะอธิบายนั่นเอง ดังนั้นการอ่านข้อความหรือหนังสือสักเล่ม ผู้อ่านต้องกลั่นกรองให้ได้ว่าสิ่งใดสำคัญโดยใช้วิธีการอ่านจับใจความที่มุ่งหาสาระหรือใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง ซึ่งทำให้ทราบว่าที่เหลือเป็นใจความรองและรายละเอียดต่างๆ ขออธิบายเสริม ดังนี้ 1. ใจความสำคัญ คือ แก่นของแต่ละย่อหน้า ซึ่งแต่ละย่อหน้ามักมีใจความสำคัญประมาณ 1 – 2 ใจความ โดยใจความสำคัญจะมีลักษณะ ดังนี้ – สั้นกระชับ – สามารถเป็นประโยคเดี่ยวๆ ได้เลย – สามารถเป็นหัวข้อในแต่ละย่อหน้าได้ – ไม่จำเป็นต้องมีประโยคอื่นเสริมหรือประกอบก็เข้าใจได้ 2. ใจความรอง (พลความ) คือ ส่วนที่ช่วยขยายหรือสนับสนุนให้ใจความสำคัญมีความชัดเจนและเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ได้แก่ การเปรียบเทียบเปรียบเปรย การอธิบายเหตุผล การให้คำจำกัดความ และการยกตัวอย่างประกอบ (ซึ่งเราอาจไม่จำเป็นต้องใส่ใจหากมีเวลาอ่านน้อยหรือต้องการทราบเนื้อหาสำคัญเพียงคร่าวๆ) 3. รายละเอียด คือ …
การอ่านหนังสือให้เก่ง ไม่ใช่ว่าแค่อ่านเฉย ๆ ไปเรื่อย ๆ เท่านั้น แต่คุณต้องรู้จักเรียนรู้เทคนิคการอ่านหนังสือด้วย เพื่อให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะหนังสือเรียน ตำรา หนังสืออ่านเล่น หรือสารต่าง ๆ คุณจึงจะสามารถรับข้อมูลได้มาก จดจำได้อย่างแม่นยำ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ซึ่ง เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ นั้นก็ไม่ได้ยากเย็นเลย เพียงแต่ต้องนำไปใช้อย่างจริงจังจึงจะเห็นผลชัดเจน แนะนำ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพชวนคนอื่นมาอ่านด้วย จะเป็นนักอ่านขั้นเทพได้ คุณก็ควรชักชวนให้คนรอบข้างหันมาชอบการอ่านหนังสืออย่างคุณด้วย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณ เต็มไปด้วยคนที่รักการอ่าน เช่น -ควรชวนพ่อแม่พี่น้อง หรือคนในครอบครัวให้หันมาอ่านหนังสือกันด้วย ยิ่งถ้าอ่านได้ทั้งบ้านก็จะทำให้เกิดบรรยากาศการอ่านที่ดี มีแต่จะชักชวนกันอ่าน และให้กำลังใจกันจนทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น นอกจากนี้ยังถือเป็นกิจกรรมสำหรับครอบครัวที่ดีด้วย -ชวนเพื่อให้อ่านหนังสือด้วย ได้ความรู้ ได้ฝึกนิสัยรักการอ่าน และดีกว่าไปทำเรื่องไม่ดี -ชวนคนที่อ่านหนังสือไม่เก่ง คุณจะได้ช่วยสอนเขา และช่วยฝึกฝนทักษะการอธิบายไปด้วย เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพต้องรู้จักอ่านในใจ นักอ่านขั้นเทพควรฝึกการอ่านในใจ แต่ต้องไม่ทำปากขมุบขมิบ ไม่ใช้นิ้วหรือปากกาจิ้มไปที่ตัวหนังสือทีละคำแบบเด็ก ๆ ซึ่งการแบบเด็กที่ต้องห้ามนี้ จะทำให้เกิดผลเสียคือ ทำให้ใจจดจ่อกับตัวหนังสือมากกว่าสารหรือข้อมูลในหนังสือ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพอย่าอ่านทุกคำ…
เด็กนักเรียนนักศึกษาที่ต้องอ่านหนังสือนาน ๆ ทำให้หลายๆ คนมักจะมีอาการหลังงอ ไหล่ห่อ และมีอาการปวดหลัง ปวดไหล่เป็นประจำ เนื่องจากต้องนั่งท่าเดิมนาน ๆ หลายชั่วโมง และด้วยความที่การอ่านหนังสือเรียนทำให้เครียดมาก ร่างกายเด็กจึงตึงเกร็งโดยไม่รู้ตัว ซึ่ง ท่าบริหารลดอาการปวด ที่นำมาแนะนำนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดให้เด็กที่อ่านหนังสือนาน ๆ โดยจะเน้นช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง คลายอาการปวดหลัง และยังทำให้กระดูกหลังไม่เกิดแรงกดดันมากด้วย แนะนำ ท่าบริหารลดอาการปวด เหมาะสำหรับเด็ก ท่าบริหารลดอาการปวดศีรษะสำหรับนักเรียน นักศึกษา -เริ่มจากท่ายืนตรง หรือจะนั่งพื้นหรือเก้าอี้ก็ได้ -นำมือซ้ายมาจับที่ศีรษะฝั่งขวาด้านบน ตรงช่วงกระหม่อม -จากนั้นใช้มือข้างซ้ายนั้นออกแรงบิดศีรษะมาทางด้านซ้ายเบาๆ อย่าเกร็งศีรษะ พร้อมกับค้างไว้ นับ 1-20 จึงกลับสู่ท่าเดิม -จากนั้นเปลี่ยนมาใช้มือข้างขวาจับที่ศีรษะฝั่งซ้ายด้านบน แล้วทำเช่นเดิม ท่าบริหารลดอาการปวดไหล่สำหรับเด็กวัยเรียน –เริ่มจากยืนตรง หรือนั่งเก้าอี้ก็ได้ -จากนั้นเอามือไพล่หลัง โดยให้ใช้มือขวาจับที่ข้อมือซ้าย -แล้วออกแรงที่มือขวา พยายามดึงมือซ้ายแรง จนรู้สึกว่าบ่าและไหล่ตึง -ค้างท่านี้ไว้สัก 15 วินาที -จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นใช้มือซ้ายจับที่ข้อมือขวา แล้วทำเช่นเดิมอีก ท่าบริหารลดอาการปวดที่หลังสำหรับนักเรียน…
เด็กนักเรียนนักศึกษามักจะมีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือแล้ว จำไม่ค่อยได้ อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือจำได้แต่ก็ไม่เก่งพอจะประยุกต์ใช้ ดังนั้นมาลองดู เทคนิคการอ่านหนังสือ ที่จะแนะนำต่อไปนี้ แล้วคุณจะรู้ว่าการอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องยากเย็น แค่ต้องเปลี่ยนมุมมองการอ่านเสียใหม่ เพียงเท่านี้คุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการเรียนอีกต่อไป แนะนำ 4 เทคนิคการอ่านหนังสือ อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการอ่านหนังสือเพื่อสอบอ่านแบบเร็ว ๆ การอ่านหนังสือเพื่อสอบ หากอ่านหนังสือเล่มหนามากทุกวิชาคงไม่ไหว ดังนั้นการอ่านแบบเร็ว ๆ ข้าม ๆ เลือกดูเฉพาะจุดที่คิดว่าสำคัญก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องพะวงเสียเวลากับข้อมูลที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะวิชาภาอังกฤษการอ่านข้าม ๆ ก็จะทำให้เกิดทักษะในการสะกดคำหรือการอ่านได้ไปเอง โดยที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า คำนั้นสะกดคำอย่างไร แต่เมื่อเราลองเขียนก็มักจะเขียนได้ถูกต้อง หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียง ซึ่งการฝึกทักษะนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ เพราะสมองของเด็กจะเรียนรู้ได้ไว คือจะเกิดการเรียนรู้ไปเองทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้หลักการการอ่านด้วยซ้ำ เช่น ในภาษาฝรั่งเศส bonjour แปลว่าสวัสดียามเช้า อ่านว่า บง-ชูร์ จากนั้นเมื่อเราได้รู้แล้วว่าคำนี้อ่านเช่นนี้ เมื่อเราไปเจอศัพท์อีกคำที่สะกดคล้ายกัน เราก็จะอ่านได้เองโดยอัตโนมัติ เช่น เราไปเจอคำว่า Mouchoir ที่แปลว่าผ้าเช็ดหน้า…
ใคร ๆ ก็อ่านหนังสือได้ แต่เราอยากจะเป็นคนที่อ่านได้แบบไหนกันล่ะ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ที่มีความจำเป็นจะต้องอ่านหนังสือ ให้มาก และอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าตนเองมีทักษะในการอ่านระดับใด ก็จะช่วยให้รู้ตัว ประเมินความสามารถของตนได้ และนำไปใช้พัฒนาปรับปรุง ทักษะการอ่าน ต่อไป ทักษะการอ่าน ของแต่ละคนมี 4 ระดับ ดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับพื้นฐาน : คนที่อ่านออก คือคนที่อ่านหนังสือแบบอ่านออก สะกดคำเป็น อ่านออกเสียถูก อ่านแล้วไม่ค่อยมีผิด แต่เป็นแค่ในระดับที่เพียงแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แม้จะสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในระดับลึก ๆ ได้ คล้าย ๆ กับการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมต้น ทักษะการอ่าน ระดับพอใช้ : คนที่อ่านแล้วเข้าใจ คือคนที่นอกจากจะอ่านได้ไม่มีผิดแล้ว ก็ยังเข้าใจรูปประโยคของสิ่งที่อ่านด้วย รวมทั้งยังพอสรุปใจความสำคัญ หรือย่อความได้ด้วย และแม้จะพอวิเคราะห์ได้แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมปลายและมัธยมต้น ทักษะการอ่าน ระดับดี : คนที่อ่านแล้วรู้จักคิดวิเคาระห์…