มหาวิทยาลัย

รีวิว คณะวิทยาการจัดการ มรส. (มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี)

รีวิว คณะวิทยาการจัดการ มรส. (มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี)

        คุณกำลังมองหามหาลัยอยู่หรือไม่ คุณอยากเรียนในคณะและสาขาอะไร หรือหากคุณอยากเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในคณะวิยาการจัดการ แล้วล่ะก็บทความนี้ช่วยในการตัดสินใจของคุณได้ เพราะบทความนี้จะเป็นการรีวิว คณะวิทยาการจัดการ มรส. ว่าในคณะนี้มีสาขาอะไรบ้างเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต เราไปทำความรู้จักกับสาขาในคณะวิทยาการจัดการ กันก่อนเลยครับ ทำความรูจัก คณะวิทยาการจัดการ มรส. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต                สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ                               วิชาเอกการตลาด                               วิชาเอกการจัดการทั่วไป                               วิชาเอกการบริหารทรัพยากรมนุษย์                               วิชาเอกการเป็นผู้ประกอบการ                สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร                สาขาวิชาการจัดโลจิสติกส์                สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ                สาขาวิชาธุรกิจเกษตร                สาขาธุรกิจอาหาร                สาขาวิชาการการธุรกิจค้าปลีก หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต               …

รีวิว คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรส. (มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี)

รีวิว คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรส. (มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี)

        หากคุณกำลังมองหามหาลัยอยู่ เราขอแนะนำ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและหากคุณกำลังคิดอยู่ว่าจะเลือกเรียนคณะอะไร บทความนี้มีคำตอบมาให้คุณครับ บทความนี้จะเป็นการรีวิวคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในมหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีครับ เพราะเราหวังว่าบทความนี้อาจจะช่วยคุณได้ไม่มากก็น้อยในการเลือกที่เรียนและคณะที่ชื่นชอบ เราไปทำความรู้จักกันเลยว่า คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรส. นี้มีสาขาอะไรน่าสนใจบ้าง คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรส. สาขาที่น่าสนใจมีดังนี้ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาอนามัยและสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการภัยพิบัติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิตอล         วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร         วิชาเอกมัลติมีเดีย สาขาวิชาสาธารณะสุขศาสตร์         วิชาเอกสาธารณะสุขชุมชน         วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอมภัย สาขาวิชาเทคโนโลยีการประมง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต        วิชาเอกเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม         สำหรับ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรส. นี้ก็ถือว่าเป็นคณะที่มีสาขาให้เลือกเรียนได้หลายหลายมากครับ แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่าการได้รับการศึกษาในคณะนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว ต้องมีทั้งความเก่ง ความอดทนความตั้งใจมากพอสมควร เพราะในคณะนี้หลักสูตรจะอยู่ในด้านของการลงมือทำจริงมากกว่าการเรียนทฤษฎี เพราะผู้ที่จบมาจากคณะนี้ต้องมีความรู้ที่หลายหลายจึงต้องฝึกการทดลองอยู่เป็นประจำ…

รีวิว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

รีวิว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตอบคำถามที่คุณสงสัย

        คุณอยากรู้หรือไม่ว่ามีมหาลัยอะไรบ้างที่เปิดรับนักศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์ และในคณะนี้มีสาขาใดบ้าง บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีใน คณะพยาบาลศาสตร์ เราไปทำความรู้จักกับคณะนี้กันครับ ทำความรู้จัก คณะพยาบาลศาสตร์ SRU         มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นอีกหนึ่งที่ที่เปิดการสอนในคณะพยาบาลศาสตร์ แต่สำหรับหลักสูตรของคณะนี้จะมีแค่สาขาเดียวก็คือ พยาบาลศาสตร์ แต่ในการเรียนคณะนี้ไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิดครับ เพราะสำหรับคนที่สนใจจะเรียนที่คณะต้องมีทั้งความอดทนกับงานและมีความรู้พอสมควรครับ เพราะอย่างที่บอกว่าแต่ละคณะนั้นมีควาทยากที่แตกต่างกันผู้ที่สนใจที่จะศึกษาจึงต้องมีความชื่นชอบในคณะนั้นๆครับ แต่ขอแน่นย้ำไว้นะครับว่าบทความนี้เป็นแค่การรีวิว คณะพยาบาลศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเท่านั้นไม่ได้เปรียบเทียบกับคณะและมหาลัยอื่นๆ         สำหรับผมแล้วการเรียน คณะพยาบาลศาสตร์ ก็มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยครับ จบมาก็มีงานทำมีงานรอบรับไม่ตกงาน สวัสดิการก็มั่นคง แถมยังได้ช่วยเหลือผู้ป่วยหลายๆท่านอีกด้วย แต่งสวัสดิการที่ว่านี้ก็ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยเช่นกันครับ เราจึงขอแนะนำคุณหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหามหาลัยอยู่หรือเป็นที่ชอบการช่วยเหลือผู้อื่นเราก็ขอแนะนำคณะพยาบาลศาสตร์ ครับ เพราะคนส่วนใหญ่ก็อยากประกอบอาชีพพยาบาลกัน คุณบองเปิดใจอ่านบทความนี้และลองเข้ามาเป็นสมาชิกในรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกับคณะพยาบาลศาสตร์ เพราะบางทีอนาคตของคุณอาจจะอยู่ที่เราก็ได้ครับ ในสาขาวิชานี้หากมีการตั้งใจเรียนก็ไม่ยากจนเกินไปครับ เพราะถ้าหากคุณจบในสาขาพยาบาลศาสตร์ นี้คุณก็จะได้รับสวัสดิการมากมาย และในการแนะนำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็มีแต่เพียงเท่านี้ครับ แต่สำคัญที่สุดก็คือการตั้งใจศึกษาครับเพราะจะทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตครับ ติดตามบทความ การศีกษา เคล็ดลับการอ่านหนังสือ การสอบ ข่าวการศึกษา ได้ที่นี้ แนะนำ รีวิว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

รีวิว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

รีวิว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

        สวัสดีครับทุกๆ ท่าน หากคุณเป็นอีกหนึ่งท่านที่กำลังมองหาทางเลือกทางการศึกษา มองหาคณะที่คุณกำลังสนใจ และบทความนี้จะเป็น การรีวิวคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากมหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีกันครับ เพราะความรู้ที่ผมได้นำมาเล่าผ่านบทความนี้เป็นความรู้ที่มาจากการเข้าอบรมราชภัฏสุราษฎร์ธานีแคมป์ปิ้งครับ ผมมันใจว่าความรู้ที่ผมได้รับมานั้นจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ตั้งใจที่จะ เรียนต่อใน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครับเราไปทำความรู้จักกับคณะนี้กันเลยครับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีหลายสาขาทำให้เราเลือกเรียนได้ตามความถนัดของเราเลยครับ โดยสาขาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะประกอบไปด้วย สาขาวิชาการและการจัดการวัฒนธรรม สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษ์ศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน สาขาวิชานวัตกรรมสังคมเพ่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสำหรับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก็จะมีสาขาให้เลือกเรียนตามความถนัดประมาณนี้ครับ เพราะมีผู้สนใจในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นี้มักจะมีข้อสงสัยว่ามีสาขาอะไรบ้าง หรือจบสาขานี้แล้วจะประกอบอาชีพอะไร สำหรับคณะนี้จบออกมาแล้วเราจะเลือกประกอบอาชีพได้หลายทางมากครับ เช่นบรรณาธิการ บรรณารักษ์ นักเขียน หรือแม้กระทั้งครูสอนภาษาก็สามารถเป็นได้ครับแต่ต้องไปเรียนต่ออีกหนึ่งปีเพื่อให้ได้ปริญญาในหลักสูตรครู 5 ปีครับ แล้วคุณล่ะพร้อมหรือยังที่จะเข้ามาสู่รั้วมหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และฝากอนาคตไว้กับราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพราะสำหรับผมแล้วการตกงานจะไม่มีทางเกิดขึ้นหากเราเป็นคนขยันไม่เลือกงาน         สำหรับผมแล้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของผมในตอนนี้เพราะคนที่รักงานอิสระอย่างผมเหมาะกับคณะและสาขานี้ที่สุด เพราะจะทำให้เราประกอบอาชีพที่เรารักได้อย่างมีความสุข…

เด็กซิ่ว ก็มีหัวใจ

ปรับทัศนคติ “เด็กซิ่ว” ไม่ใช่กลุ่มคนที่ต้องมี ตราบาปติดตัว

               นอกเหนือไปจากความตึงเครียดของเด็กมัธยมปลายที่ต้องช่วงชิงที่นั่งในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ปัญหาของ เด็กซิ่ว ก็มีความวุ่นวายไม่แพ้กัน ต้องขออธิบายก่อนว่าเด็กกลุ่มนี้คือเด็กที่ได้เข้าเรียนเรียบร้อยแล้ว ผ่านไป 1 ปี พวกเขาเริ่มรู้สึกว่าคณะที่ตัวเองอยู่นั้นไม่ใช่ตัวตนของเขา จึงได้ทำการ “ซิ่ว” หรือลงสนามสอบใหม่เพื่อย้ายคณะ ในการสอบแข่งขันแต่ละปี จึงมีประเด็นถกเถียงกันมากมาย ว่าเด็กกลุ่มนี้มากินที่เด็กที่จบปีปัจจุบัน แถมยังได้เปรียบว่าในเรื่องของประสบการณ์ ทำความเข้าใจกันใหม่กับคำว่า เด็กซิ่ว                ทีนี้เมื่อกลุ่ม เด็กซิ่ว ได้เข้าคณะที่ชอบแล้ว เวลาอยู่กับเพื่อนร่วมรุ่น ตัวเองก็จะมีอายุมากกว่า เคยเรียนที่อื่นมาแล้ว บางครั้งจึงเข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ ถึงเข้าได้ก็ไม่สนิทใจมากเท่ากับรุ่นราวคราวเดียวกัน หากเป็นคนที่จิตใจไม่เข้มแข้งพอ ก็จะมีภาวะตึงเครียด และอาจรุนแรงจนถึงซึมเศร้าได้ แม้ว่าตอนนี้จะมีมุมมองที่เปิดกว้างเกี่ยวกับเด็กย้ายที่เรียนกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีการบูลลี่แฝงในสังคมอยู่ดี                เราจึงควรมาทำความเข้าใจกันใหม่ว่า เด็กซิ่ว ไม่ใช่คนที่ทำความผิดอะไรเลย แล้วก็ไม่ควรได้รับการตอบสนองจากสังคมในแบบที่แปลกแยกไปจากเพื่อนๆ ด้วย ในทางกลับกัน เราควรชื่นชมเด็กกลุ่มนี้ ที่กล้าเลือกในสิ่งที่ตัวเองชอบจริงๆ มากกว่า เพราะมันจะเป็นทักษะที่ติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิต ซึ่งผู้ใหญ่ทุกคนรู้ดีว่า การฝืนทำในสิ่งที่ไม่รักจนแก่ตาย มันทรมานขนาดไหน                ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่า ทำไม…

งาน Open House อีกหนึ่งตัวช่วย ในการเลือกทางเดิน ของเด็กม.ปลาย

งาน Open House อีกหนึ่งตัวช่วย ในการเลือกทางเดิน ของเด็กม.ปลาย

               เมื่อระบบการศึกษาช่วยอะไรเราไม่ได้มากนัก เราก็ต้องช่วยเหลือตัวเองอย่างถึงที่สุด เพราะสุดท้ายแล้ว ก็มีแค่เราเองเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง สำหรับคนที่เลือกไม่ได้ หรือยังลังเลว่าจะเรียนต่ออะไรดี ให้หาเวลาไปร่วม งาน Open House ของมหาวิทยาลัยที่สนใจดูสักครั้ง แน่นอนว่าถ้าไม่ติดอะไรก็ควรไปดูบรรยากาศของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมด้วย ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไรก็ยิ่งดีต่อเรามากเท่านั้น ร่วม งาน Open House มองหาทางเลือกในการศึกษาดีๆ                สำหรับน้องๆ ที่อยู่ต่างจังหวัดอันห่างไกล อาจจะไม่คุ้นเคยกับงานวิชาการภายใต้ชื่อ Open Houseมากมายนัก แต่ถ้ามีโอกาสก็แนะนำว่าควรมาเช่นกัน ยังไงก็คุ้ม เพราะงานนี้ถือเป็นการตีแผ่ให้เด็กมัธยมได้เห็นว่า คณะที่ตัวเองสนใจนั้น เป็นไปตามที่คิดและจินตนาการเอาไว้หรือไม่ เราจะได้เห็นบรรยากาศการเรียนการสอน แม้มันจะไม่เหมือนวันเรียนจริงแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้เห็นอะไรเลย แล้วก็ยังได้ฟังประสบการณ์จากคนที่เรียนคณะนั้นจริงๆ อีกด้วย                ทุกสิ่งที่ได้จาก งาน Open House จะช่วยให้เด็กๆ พอเข้าใจว่าคณะและอาชีพที่ตัวเองใฝ่ฝันนั้นมันใช่หรือไม่ เพราะบางที่ก็จะมีรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้ว กลับมาเล่าประสบการณ์ทำงานให้กับเด็กๆ ฟังกันด้วย ทำให้มองข้ามช็อตไปได้อีกว่า ชีวิตวัยทำงานมันค่อนข้างต่างจากในรั้วมหาวิทยาลัย…

การประเมิน วิชาชีพ “ครูในฟินแลนด์” ยังมีคุณค่าต่อสังคม

การประเมิน วิชาชีพ “ครูในฟินแลนด์” ยังมีคุณค่าต่อสังคม

วิชาชีพครูยังคงมีคุณค่าในสังคม ครูพบว่าโรงเรียนในฟินแลนด์มีจิตวิญญาณของชุมชนที่ดี อย่างไรก็ตาม ครูในฟินแลนด์ ไม่ค่อยพอใจกับสภาพแวดล้อมในการทำงานมากกว่า แต่ก่อนรายงาน OECD TALIS (การสำรวจการเรียนการสอนระหว่างประเทศ) การสำรวจซึ่งรวม 48 ประเทศยังบอกด้วยว่าครูไม่สนุกกับการทำงานมากเท่าที่เคยเป็นมาอีกต่อไปข่าวประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการอ้างการสำรวจว่าเป็นรายงานความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปงานธุรการและต้องปรับการสอนให้เข้ากับความต้องการของเด็กและเยาวชนที่ต้องการการสนับสนุนเป็นพิเศษเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับครู ครูในฟินแลนด์ ยังมีคุณค่าต่อสังคม ผลการวิจัยระดับประเทศของ TALIS 2018 (การสำรวจการเรียนการสอนระหว่างประเทศ) ได้รับการตีพิมพ์เป็นสองส่วน นี่คือผลการศึกษาส่วนที่สอง ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงสภาพการทำงานของครูและผู้นำโรงเรียนและประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนของโรงเรียนของตนเองอย่างไร ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาประมาณ 2,850 คนและผู้นำโรงเรียน 150 คนเข้าร่วมการศึกษาในฟินแลนด์และในระดับนานาชาติมีครูโรงเรียนมัธยมประมาณ 160,000 คนและผู้นำโรงเรียน 9,400 คนเข้าร่วมในการศึกษานี้ ข้อมูลถูกรวบรวมในฤดูใบไม้ผลิ 2018 แต่ละประเทศที่เข้าร่วมอาจใช้ผลลัพธ์ในการพัฒนานโยบายการศึกษาของตนเอง แอนนิก้า ซาริกโก้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมกล่าวว่าการสำรวจของ TALIS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดแข็งและความท้าทายของระบบการศึกษาของฟินแลนด์ นี่เป็นสิ่งสำคัญและช่วยให้เราขับเคลื่อนการทำงานไปในทิศทางที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาของเราโดยใช้ข้อมูลจากการวิจัย โรงเรียนส่งเสริมการทำงานร่วมกันมากกว่า แต่ก่อน การทำงานเป็นทีมแบบร่วมมือกันในการสอนและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบร่วมมือมืออาชีพกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในหมู่ครูในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ครูไว้วางใจซึ่งกันและกันและโรงเรียนสนับสนุนให้ทุกคนแสดงความคิดริเริ่ม การแบ่งปันความรับผิดชอบเป็นส่วนสำคัญของโรงเรียน อย่างไรก็ตามผลการสำรวจพบว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อปรับปรุงความรู้สึกของชุมชนในฟินแลนด์ ตัวอย่างเช่นครูในสวีเดนและนอร์เวย์มีความพยายามในการทำงานร่วมกันในรูปแบบต่างๆกับครูคนอื่น ๆ มากกว่าที่ครูทำในฟินแลนด์ ครูในฟินแลนด์ ยังรู้สึกว่าพวกเขาได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานของตนโดยเฉลี่ยน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศอ้างอิงอื่น…

โควิด 19 ในมหาวิทยาลัย ของอังกฤษและเวลส์ แพร่กระจ่ายหนัก

โควิด 19 ในมหาวิทยาลัย ของอังกฤษและเวลส์ แพร่กระจ่ายหนัก

อัตราการติดเชื้อ โควิด 19 ในมหาวิทยาลัย ของอังกฤษและเวลส์สูงกว่าประชากรทั่วไปในประเทศถึง 7 เท่าจากการวิเคราะห์ของ หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดี้ยน พบว่าท่ามกลางความกังวลว่าการระบาดของนักเรียนที่เพิ่มขึ้นจะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดสู่ชุมชนในวงกว้าง สถานการณ์ โควิด 19 ในมหาวิทยาลัย ของอังกฤษและเวลส์ มหาวิทยาลัย เชฟฟิลด์ รายงานการติดเชื้อของนักเรียน 588 คนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ตุลาคมอัตราการติดเชื้อ 2,028 ต่อประชากร 100,000 คน อัตรานี้สูงกว่าพื้นที่สภาเมืองโดยรวมประมาณเจ็ดเท่า มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม บันทึกการติดเชื้อของนักเรียน 307 คนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ตุลาคมซึ่งเทียบเท่ากับอัตรา 1,023 ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งสูงกว่าอัตราของสภาท้องถิ่นหกเท่า มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ มีอัตราการติดเชื้อของนักเรียนต่อหัวสูงสุดโดยมีรายงานผู้ป่วย 1,155 รายในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ตุลาคมเทียบเท่ากับ 2,888 ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งสูงกว่าอัตราหน่วยงานท้องถิ่นมากกว่าห้าเท่า               …

นักศึกษาในอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยและถูกส่งกลับบ้านขณะที่รองอธิการบดีทั่วประเทศปราบปรามการละเมิดกฎระเบียบ Covid 19

นักศึกษาในอังกฤษ ถูกส่งตัวกลับบ้าน จากมาตรการป้องกันโควิด 19

นักศึกษาในอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยและถูกส่งกลับบ้านขณะที่รองอธิการบดีทั่วประเทศปราบปรามการละเมิดกฎระเบียบ Covid 19 ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุของอัตราการติดเชื้อ เอ็กเซเตอร์ยืนยันว่าได้กักกันนักศึกษาบางส่วน เนื่องจากฝ่าฝืนกฎโควิดของมหาวิทยาลัยท่ามกลางการติดเชื้อ คะแนนของนักเรียนที่อื่นถูกปรับตามฝ่ายที่ผิดกฎหมายโดยมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งขู่ว่าจะลงโทษสูงถึง 500 ปอนด์ นักศึกษาในอังกฤษ ไม่พอใจมาตรการป้องกันโควิด 19 สหภาพนักศึกษาแห่งชาติ (NUS) อธิบายว่าค่าปรับดังกล่าวเป็นเรื่องลามกอนาจารและเรียกร้องให้มีแนวทางที่ “เน้นการดูแล” มากขึ้นสำหรับนักเรียนซึ่งหลายพันคนติดเชื้อในช่วงสัปดาห์แรกของภาคเรียนหรือแยกตัวเองในหอพักลาริสซา เคนเนดี้ประธาน NUS กล่าว นักศึกษาได้ทำทุกอย่างที่ถูกขอให้ทำในช่วงที่มีการระบาดใหญ่นี้และได้กลับไปที่วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยตามคำแนะนำของรัฐบาล” นักศึกษาในอังกฤษ ส่วนมากปฏิบัติตามกฎระเบียบเธอกล่าวพร้อมเสริมว่า เราได้เห็นหลาย ๆ มหาวิทยาลัยใช้มาตรการที่เข้มงวดเช่นค่าปรับอนาจารล็อคประตูหนีไฟการรักษาความปลอดภัยส่วนตัวและสุนัขเฝ้ายาม การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในมหาวิทยาลัยในระดับนี้ไม่เพียง แต่ผิดเท่านั้น แต่ไม่มีประสิทธิผลสูง นักเรียนสมควรได้รับสิ่งที่ดีกว่า มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีนซึ่งมีนักศึกษา 122 คนที่ทดสอบผลบวกเมื่อวันจันทร์ได้ดำเนินการทางวินัยกับนักศึกษา 29 คน ในขณะที่ 22 คนถูกปรับ 125 ปอนด์จากการละเมิดแนวทางโควิด แต่อีก 7 คนได้รับคำเตือน มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์เมโทรโพลิแทน – เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีนักเรียน 901 คนได้รับการทดสอบในเชิงบวกระหว่างวันที่…

ปัญหาระบบการศึกษาของไทย ที่ผู้เรียนยังคงได้รับผลกระทบ

ปัญหาระบบการศึกษาของไทย ที่ผู้เรียนในปัจจุบัน ยังคงได้รับผลกระทบ

               ปัญหาระบบการศึกษาของไทย เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กวัยเข้าโรงเรียนจนกระทั่งวัยเข้ามหาวิทยาลัย มีการเปลี่ยนแปลงระบบหลายครั้ง การเปลี่ยนแต่ละครั้งเป็นการเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาเดิม เช่น สถานที่สอบมีการจัดสอบหลายสถานที่ หลายจังหวัด ผู้เรียนในชนบทบางคนต้องเดินทางเข้ามาสอบใน กทม. ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้เรียนในชนบทและผู้เรียนในเมือง มีผู้เรียนบางคนยังไม่มีสถานที่เข้าเรียน รวมทั้งโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดรับผู้เรียนไม่เต็มจำนวนตามที่ตั้งเป้าไว้ ปัญหาระบบการศึกษาของไทย ที่รอการแก้ไข                ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า ปัญหาระบบการศึกษาของไทย จากปีก่อนๆ พบผู้เรียนประมาณ 30% ที่เรียนไปแล้วสักระยะ มีการเปลี่ยนคณะเรียนและสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งนั้นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า เพราะเหตุใดผู้เรียนถึงทำเช่นนั้น และมีคำถามอื่นๆ ตามมาอีกว่า ควรมีการกลับมาใช้ระบบเอนทรานซ์หรือไม่และสถาบันกวดวิชาตามสถานที่ต่างๆ ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ซึ่งการตั้งคำถามเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบที่ใช้อยู่นั้นอาจจะยังไม่เสถียรมากพอสำหรับผู้เรียนบางคนที่ได้รับผลกระทบ                ในสังคมไทยพบปัญหาที่ใช้วิธีนำคะแนนสอบมาคัดกรองเพื่อหาผู้ที่เรียนเก่ง มีการใช้แฟ้มสะสมผลงานเพื่อช่วยในการเข้าเรียน ซึ่งการใช้แฟ้มสะสมผลงานนั้นมีจุดประสงค์อยู่ 2 แบบ คือ 1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และ 2.เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าเรียนในสายวิชาที่ต้องการเรียน รวมทั้งการใช้โควตาในการสอบภาคข้อเขียนและภาคปฏิบัติ วิธีการทำเช่นนี้เป็นวิธีที่ผู้เรียนไม่อาจตอบโจทย์ได้ว่าตนเองต้องการสิ่งใด เก่งในด้านไหน หรือสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างไร                ปัญหาระบบการศึกษาของไทย เป็นปัญหาที่สร้างความยุ่งยากให้กับผู้เรียนทุกชั้นวัย ซึ่งทางออกในการแก้ปัญหา คือ…