ความรู้นอกตำรา

ไขความรู้ที่นอกตำรา ทำไมเราไม่เรียกว่า ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านว่า ชาวต่างชาติ ทั้งหมด

ไขความรู้นอกตำรา ทำไมเราไม่เรียกว่า ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านว่า ชาวต่างชาติ ทั้งหมด

เชื่อว่าควรรู้สึกนึกคิดเป็นอย่างนี้กันแทบทุกคน เมื่อนึกถึงชาวพม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา พวกเรามักจะเรียกพวกเขาว่า “ต่างด้าว” อีกทั้งเมื่อพบเห็นบุคคลที่หน้าตาเข้มๆ ตาคม กลิ่นตัวฉุนเครื่องเทศ พวกเราจะเรียกเขาว่า “แขก” และเมื่อใดที่เรานึกถึงคนผิวหยาบ ตัวขาว รูปร่างสูงใหญ่ พวกเราจะเรียกเขาว่า “ฝรั่ง” หรือคำทางการว่า ชาวต่างชาติ โดยคำถามสำคัญคือ แล้วในทางกลับกันทำไมเราถึงไม่เรียกผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านว่าชาวต่างชาติบ้าง? ไขปัญหาคำนิยามของ ชาวต่างชาติ ที่ทุกคนสงสัย เรื่องของการเรียกชาวต่างชาตินี้ต้องไล่เรียงจากช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ก่อน ซึ่งต้องย้อนไปถึงยุคที่เรายังไม่ติดต่อกับคนจากภายนอก นั่นจึงทำให้เราต้องติดต่อกับผู้คนอยู่ในวงจำกัดที่ไม่ไกลมากนักจากถิ่นฐานของตัวเอง คำว่าชาวต่างด้าวจึงเกิดขึ้น ซึ่งคำว่าต่างด้าว หมายถึงคนต่างถิ่นที่ไกลออกไป สามารถไปมาหาสู่กันได้ มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมถึงรูปร่างหน้าตาไม่ต่างกันนัก หลังจากนั้นเมื่อถึงยุคที่ชาวเอเชียใต้กับตะวันออกกลาง เชี่ยวชาญการเดินเรือและเดินทางเข้ามายังภูมิภาคแห่งนี้เพื่อการค้าขายและเผยแพร่ศาสนาเมื่อราวพันปีก่อน ทำให้พวกเราได้พบกับบุคคลที่ดูแปลกหน้าแปลกตา ทั้งตาและผิวพรรณ พวกเราจึงเรียกเขาว่า “แขก” ซึ่งก็หมายถึงบุคคลที่เข้ามาเยี่ยมเยือนนั่นเอง ก่อนที่คำว่า แขก จะกลายเป็นคำที่สื่อถึงบุคคลใด ๆ ก็ตามที่มาเยี่ยมเยือนชายคา ในอีกความหมาย     ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือ ยุคที่ชาวตะวันตกเริ่มค้นพบทวีปเอเชียและเดินทางเข้ามายังภูมิภาคของเรา…

ความรู้นอกตำรา ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน จริงหรือไม่

ความรู้นอกตำรา ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน จริงหรือไม่

หลายคนอาจจะทราบกันดีว่า อีสาน คือดินแดนที่อยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่วนลาว คือประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกับไทยทางฟากขวาของแม่น้ำโขง แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้ว ลาว VS อีสาน กลุ่มคนทั้งสองพื้นที่นี้ แท้จริงแล้ว คือกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ความรู้นอกตำรา ที่น่าสนใจ ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน ก่อนอื่นที่จะเข้าเรื่องราวของลาว VS อีสานต้องเริ่มจากในยุคที่มีเพียงอาณาจักรและนครรัฐ ซึ่งยังไม่มีประเทศและเขตแดนบนแผนที่ ตามแนวคิดอย่างชาติตะวันตก จวบจนชาติตะวันตกเข้ามายังดินแดนแห่งนี้เพื่อล่าอาณานิคมและบังคับให้สยามต้องร่างแผนที่เพื่อแบ่งปันเขตแดนให้เป็นสัดส่วน โดยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสได้คืบคลานเข้ามาจากฝั่งเวียดนามและกัมพูชาจนมาถึงลาวบริเวณแม่น้ำโขง ซึ่งฝรั่งเศสต้องการครอบครองแม่น้ำสายนี้เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่การุกรานจีน สุดท้ายสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงปักปันเขตแดนต่อกันแล้วใช้แม่น้ำเป็นตัวกันระหว่างเขตแดน ในสมัยรัชกาลที่5 ภายหลังการได้ลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยาม ได้กลายเป็นโจทย์สำคัญของรัชกาลที่ 5 ที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อหลอมรวมกลุ่มลาวให้กลายเป็นไทย เพราะอุปสรรคในเรื่องของชื่อ ที่ในบางมุมเหมือนมีลักษณะเหยียดหยาม และลักษณะของชาติพันธุ์ลาวที่ถูกสร้างอัตลักษณ์จนมีความแตกต่างกับสยาม ในกรุงเทพฯ นี่จึงเป็นงานสำคัญที่หากปล่อยผ่านไปอาจเกิดลักษณะการสร้างรัฐที่ไม่แข็งแรง จนอาจเกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน สุดท้ายรัชกาลที่ 5 จึงเลือกทลายชื่อเดิมที่นิยมเรียกกันว่า “ลาว” แล้วนิยามชื่อใหม่ให้กับให้กับพวกเขาว่า “ชาวอีสาน” และบรรจุให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของไทย จนเมื่อเวลาผ่านไปช่องว่างที่มีต่อก็เรียบสนิทขึ้น แม้อัตลักษณ์ความเป็นลาว VS…

ความรู้นอกตำรา ว่าด้วยทำไม สถาบันกษัตริย์ คือสิ่งที่สูงส่ง สำหรับสังคมไทย

ความรู้นอกตำรา ว่าด้วยทำไม สถาบันกษัตริย์ คือสิ่งที่สูงส่ง สำหรับสังคมไทย

ในช่วงนี้เรื่องราวทางการเมืองกลายเป็นประเด็นที่ดุเดือดเสมอ เมื่อถูกหยิบขึ้นมาพูดในที่สาธารณะ ที่มักเต็มไปด้วยความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่าย จนยากที่พูดคุยกันได้รู้เรื่องท่ามกลางสื่อโคมลอยมากมาย ทำให้ในวันนี้จะนำเกร็ดความรู้ที่ไม่มีในห้องเรียนมาบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ สถาบันกษัตริย์  กลายเป็นสิ่งสูงส่งในสังคมไทยดังที่เราเห็นกันทุกวันนี้ สถาบันกษัตริย์ ชนชั้นพิเศษ ที่ไม่ปกติ เหมือนสามัญชนทั่วไป  ในอดีตทั่วทั้งภูมิภาคมีชนชั้นปกครองที่เรียกว่ากษัตริย์ หรือราชา โดยมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเมืองที่ตนปกครองอยู่ จวบจนคติความคิดของพราหมณ์-ฮินดู เข้ามาในภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้เข้ามายกกลุ่มชนชั้นปกครองที่ว่านี้ให้เปรียบเสมือนเทพตามคติของพราหมณ์-ฮินดู ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ให้ถูกมองออกไปว่า สถาบันกษัตริย์ เป็นชนชั้นพิเศษที่ไม่ปกติเหมือนสามัญชนทั่วไป ทำให้กษัตริย์ในไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย ต่างสร้างเทวสถานและดำรงตนให้มีลักษณะเป็นไปตามคติคิดของพราหมณ์ซึ่งมีอายุมานานนับพันปีแล้ว จวบจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นปัจจัยให้ถูกเบริบทสังคมแปรเปลี่ยนไป เช่น มาเลเซีย ผู้ปกครองเปลี่ยนแนวคิดไปในทางศาสนาอิสลาม เมียนมาร์ถูกแนวคิดทางพุทธศาสนาครอบงำจนศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถูดลดบทบาทลงไป กัมพูชา ยังคงมีแนวคิดทางพราหมณ์ฮินดูที่เหนียวแน่น แต่จะเน้นไปที่การบูชาเทวสถานกับพิธีกรรม ส่วนไทยนั้นแม้จะมีศาสนาพุทธเข้ามา แต่ก็มีบทบาทในลักษณะผสมผสานกับพราหมณ์-ฮินดู ดังที่จะเห็นได้จากแนวคิดและพิธีกรรมต่าง ๆ แต่สิ่งเหนืออื่นใดจะยังคงอิงกับตัวบุคคลเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่โดดเด่นสูงสุดเท่าที่มีอยู่ในสังคมไทย นั่นจึงทำให้แนวคิดเรื่อง สถาบันกษัตริย์ ที่ถูกปลูกฝังมาในสังคมอุษาคเนย์นานนับพันปี ถูกส่งผ่านไปยังหลายประเทศ ซึ่งมีไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดยบริบทสังคมไทยนี่คือชนชั้นที่สูงส่งในสังคม…

ความรู้นอกตำรา ขั้นตอนการทำแคน เครื่องดนตรี ของถิ่นอีสาน

ความรู้นอกตำรา ขั้นตอนการทำแคน เครื่องดนตรี ของถิ่นอีสาน

เครื่องดนตรีประจำถิ่นอีสานและลาวอย่างแคนนั้น ทราบหรือไม่ว่า ขั้นตอนการทำแคน ไม่ง่ายเลย อีกทั้งยังเป็นการพิสูจน์คุณภาพฝีมือของช่างทำแคนอีกด้วย ที่กว่าจะได้แคน 1 ตัว ต้องใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ ซึ่งจะต้องผ่านกรรมวิธีอะไรบ้าง วันนี้ได้นำมาสรุปแล้วด้านล่างนี้ ขั้นตอนการทำแคน เครื่องดนตรีเสียงสวรรค์ ของถิ่นอีสาน ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนแรกคือการออกไปหาไม้ซาง หรือเรียกในภาษาภาคกลางคือ ลำไผ่ไซส์เล็ก ซึ่งอยู่ตามซอกระหว่างหุบเขา โดยจะต้องตัดและวางทิ้งไว้แรมเดือน เพื่อให้เนื้อไม้ซางแห้งสนิท  ปัจจุบันไม้ชนิดนี้หาได้ยากมากในประเทศไทย ตรงข้ามกับประเทศลาวและเวียดนามที่ยังมีอยู่มาก ทำให้ปัจจุบันช่างทำแคนนิยมซื้อไม้ซางจากลาวเพื่อความสะดวก ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่2 คือการคัดเลือกไม้ซาง โดยช่างแคนจะต้องคัดเลือกไม้ซางในขนาดที่ไม่บางเกินไปและไม่หนาเกินไป เพราะจะทำให้เป่ายากและเสียงเพี้ยน หลังจากได้ไม้ที่ต้องการแล้วจะต้องนำเหล็กร้อนมาเจาะบ่องไม้ซางให้ทะลุถึงกัน แล้วใช้ไม้กระดานดัดให้ไม้ซางตรง ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่3 คือการตีเงิน  ช่างทำแคนจะต้องนำเงินไปเผาไฟ แล้วนำมาตีให้บางมากที่สุด ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาในการทำนาน จากนั้นนำลิ้นเงินมาใส่ในลำไม้ซางเพื่อทำหน้าที่เป็นลิ้นแคนให้เกิดเสียง โดยจะต้องมีการทดลองเป่า ว่าเสียงได้ระดับที่ต้องการหรือยัง  ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่4 ช่างแคนจะต้องไปหาแก่นไม้ โดยเฉพาะแก่นไม้คูน ที่จะขุดรากขึ้นมาแล้วทำการล็อคขนาดให้พอดี เพื่อเป็นรังเพลิงใส่ไม้ซาง ไม่เพียงเท่านั้น ช่างแคนจะต้องไปหาขุดรังมดที่อยู่ตามพื้นดินเพื่อเอาขี้สูดมายาเต้าแคน ไม่ให้ลมหลุดรอดออกมาได้ ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่5 คือการประกอบแคน ช่างจะเริ่มจากเรียงไม้ใส่รังเพลิงจนครบ…