โทษปรับทางปกครอง

โทษของกฎหมาย ระหว่าง โทษปรับทางอาญา VS โทษปรับทางปกครอง

โทษของกฎหมาย ระหว่าง โทษปรับทางอาญา VS โทษปรับทางปกครอง

            อันว่ากฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้ดินแดนใด กลายเป็นดินแดนที่สมบูรณ์ เพราะอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศนั้น ประกอบไปด้วยสามส่วน นั้นก็คือ อำนาจนิติบัญญัติ(การออกกฎหมาย) อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งหากประเทศใดไม่มีการกำหนดกฎหมายเอาไว้ชัดเจนแล้ว ใครกระทำอะไรก็ได้ก็กลายเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน และคงไม่เป็นประเทศอยู่ได้ ซึ่งกฎหมายเมื่อตราขึ้นมาแล้วก็ต้องมีโทษตามมาเพื่อใช้ลงโทษคนที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่ง โทษของกฎหมาย นั้นมีหลายแบบ แต่ที่ในเมืองไทยเราที่รู้จักกันดี จะประกอบไปด้วยสองแบบคือโทษทางอาญา และโทษทางปกครอง โทษของกฎหมายที่ความรู้           โทษของกฎหมาย นั้นก็คือโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าหากกระทำความผิดตามกฎหมายนี้จะเป็นความผิดทางอาญา ที่มีทั้งโทษปรับและจำคุก ซึ่งคำว่าโทษอาญานี้ไม่ใช่เพียงแค่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น แต่กฎหมายอื่นใดที่ถูกมองว่าเป็นการกระทำผิดรายแรงถึงขั้นขัดต่อความสงบสุขเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีต่อบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้เอง โทษจึงมีทั้งการจำคุกและโทษปรับ นอกจากนี้ยังมี ริบทรัพย์สิน กักขัง และโทษสูงสุดอย่างประหารชีวิต จากนั้นก็มาถึงโทษอีกแนวทางนั้นก็คือโทษทางปกครองที่มาจากกฎหมายปกครอง กฎหมายปกครองหรือกฎหมายมหาชนนั้นจะเป็นกฎหมายลักษณะเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองและกำหนดหน้าที่ต่างๆเช่นพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้ผู้ที่ต้องการจะก่อสร้างอาคารจะต้องขออนุญาตหรือแจ้งการก่อสร้างไปยังเจ้าพนักงานท้องที่ที่ดูแลที่บริเวณนั้น  ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล เรื่อง การควบคุมกิจการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน  ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้การเปิดกิจการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องขออนุญาตก่อนหากไม่ดำเนินการย่อมมีค่าปรับตามมา เป็นต้น ซึ่งโทษปรับตามกฎหมายประเภทนี้เราเรียกกันว่าโทษปรับทางปกครอง             ข้อแตกต่าง โทษของกฎหมาย อีกอย่างหนึ่งก็คือโทษปรับทางอาญานั้น จะต้องดำเนินการโดยการนำเรื่องแจ้งการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อทำการพิจารณากำหนดโทษปรับทางกฎหมายอาญา…