เทคนิคเรียนดี

เทคนิค การอ่านจับใจความ จับใจความสำคัญ

การอ่านจับใจความ ง่ายนิดเดียว อยู่ที่การฝึกฝน ถ้าทำได้ก็เรียนเก่ง

การจะเรียนเก่งประการหนึ่งต้องเข้าใจเนื้อหาในหนังสือหรือตำราที่เรียนด้วย  แต่นักเรียน  นักศึกษาหลายคนมีปัญหาการอ่านด้านจับใจความ  อ่านจบแล้วไม่เข้าใจแจ่มแจ้งหรือไม่รู้ว่าประเด็นสำคัญคืออะไร  ดังนั้นมาฝึกฝน การอ่านจับใจความ ที่จริงๆ แล้วง่ายนิดเดียวกันดีกว่า… การอ่านจับใจความ ใช้เทคนิคอย่างนี้ เรียนดีแน่ โปรแกรมคร่าวๆ ก่อน เราย่อมรู้ว่าสิ่งที่จะอ่านคือวิชาอะไร  จะได้พบเจออะไรในหนังสือบ้าง  ให้โปรแกรมสิ่งนั้นสู่สมองคร่าวๆ เพื่อตีวงความเข้าใจและทำให้สมาธิพุ่งตรงไปที่การอ่านด้วย อ่านไล่เล่นๆ การอ่านจับใจความไม่ใช่การอ่านหนังสือหน้าชั้นเรียน  ดังนั้นไม่ต้องอ่านออกเสียงหรือค่อยๆ สะกดไปทีละตัว  ให้อ่านไล่เร็วๆ ไปเนื่องจากสมองของเราจะมองภาพรวมแบบอัตโนมัติ  (จะสังเกตว่าการอ่านเร็วๆ แม้มีคำผิดเราก็ยังอ่านคำนั้นได้ถูกอยู่ดี) สังเกตย่อหน้า วิธีการเขียนหนังสือของแต่ละคนแตกต่างกัน  แต่พบว่าผู้เขียนมักวางใจความสำคัญหรือประเด็นสำคัญไว้ที่แต่ละย่อหน้าแล้วตามด้วยการบรรยายรายละเอียดต่างๆ  ทำให้อ่านเข้าใจง่าย  รู้ได้ทันทีว่าอะไรคือส่วนสำคัญ  ดังนั้นให้สังเกตที่ย่อหน้าก่อนเสมอว่ามีใจความสำคัญซุกซ่อนอยู่หรือไม่?  ใจร้อนบ้างก็ได้ ผู้อ่านอาจขี้โกงเล็กน้อยด้วยการข้ามไปอ่านท้ายบทหรือท้ายหนังสือ  ที่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นบทสรุปหรือประเด็นสำคัญที่เราค้นหาอยู่ สร้างภาพ… การอ่านจับใจความที่ดีควรจินตนาการเนื้อหาที่กำลังอ่านให้เป็นภาพเหมือนดูภาพยนตร์  นอกจากความเพลิดเพลินแล้วยังช่วยจดจำเนื้อหาไปตามลำดับซึ่งช่วยไม่ให้สับสนด้วย  แต่ต้องจินตนาการแบบหนังสั้นที่มีประเด็นสำคัญ  ไม่ลงรายละเอียดให้เสียเวลา หมายเอาไว้ ในที่นี้คือการขีดเส้นใต้หรือไฮไลต์ข้อความสำคัญที่พบเจอ  หากอ่านซ้ำอีกจะได้เห็น  จำไม่ได้ก็จะได้หาเจอด้วย  ยกตัวอย่างเช่น  ในการเลือกตั้งครั้งนี้สมชัยได้เป็นประธานนักเรียนเนื่องจากเขามีความเป็นผู้นำสูงเมื่อเทียบกับผู้ลงสมัครคนอื่นๆ  (จะเห็นว่าส่วนที่ขีดเส้นใต้สำคัญที่สุด  นอกนั้นเป็นคำพรรณนา) และเมื่ออ่านไปเจอคำว่าสมชัยก็อาจเป็นได้ว่าเนื้อหาในส่วนนั้นกล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานนักเรียนนั่นเอง โน้ตย่อก็ดี การจำไม่สู้การจด …