ถึงแม้ว่าตอนนี้หลายสถานศึกษาจะปรับการเรียนเป็นแบบออนไลน์ แต่สุดท้ายเราก็ยังต้องพึ่งพา เทคนิคการจดโน้ต ที่ดีอยู่เสมอ เพราะเนื้อหาที่เรียนส่วนใหญ่ ไม่สามารถย้อนกลับมาดูซ้ำได้อีก และต่อให้ดูวนได้หลายรอบก็นับว่าเป็นการเสียเวลามากเกินไป สู้ตั้งใจเรียนทีเดียว แล้วโน๊ตประเด็นสำคัญไว้ทบทวนดีกว่า อย่าลืมนะว่าเราไม่ได้เรียนกันแค่วิชาเดียว ขืนมัวดูเนื้อหาวนอยู่ รับรองว่ายังไงก็ไม่ทัน ดังนั้นลองมาใช้วิธีการจดโน้ตที่ทรงประสิทธิภาพเหล่านี้กันดีกว่า แนะนำเทคนิคการจดโน้ตที่ดี อย่าจดทุกอย่างแต่ให้เลือกส่วนสำคัญเท่านั้น เทคนิคการจดโน้ต ที่ใช้ได้ดีในทุกรายวิชาก็คือ เลือกจดเฉพาะส่วนสำคัญ อย่างเช่น หัวข้อ แก่นของเนื้อหา ส่วนที่อาจารย์พูดย้ำบ่อยครั้ง เป็นต้น การมัวจดทุกรายละเอียดจะทำให้เราเสียสมาธิระหว่างเรียนไปมาก แล้วก็ไม่มีทางจดทันทั้งหมด จะดีกว่ามากถ้าจดส่วนหลักแล้วเพิ่มการอธิบายประกอบด้วยถ้อยคำของตัวเองเพียงเล็กน้อย จดแบบแผนผังโดยไม่ต้องสนใจเส้นบรรทัด เคยได้ยินใช่ไหมว่า สมุดที่ไม่มีเส้นจะช่วยเสริมสร้างจินตนาการได้ดีกว่า นี่เป็นอีกหนึ่ง เทคนิคการจดโน้ต ที่น่าสนใจ ความจริงแล้วจะใช้สมุดแบบไหนก็ไม่ว่ากัน แต่เวลาจด ลองเปลี่ยนการเขียนเป็นบรรทัดตามเส้นบนกระดาษ มาเป็นการลงหัวข้อใหญ่ไว้กลางหน้า แล้วลากโยงกับหัวข้อย่อยในลักษณะแตกแขนงออกไป แบบนี้จะช่วยให้จดจำได้ดีพร้อมกับเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่างๆ ได้ยอดเยี่ยมมาก จดโน้ตโดยใช้สีสันเข้ามาช่วย ข้อดีของ เทคนิคการจดโน้ต โดยใช้สีที่หลากหลายก็คือ ช่วยกระตุ้นสมองให้จดจำได้ดีขึ้น และเวลาเปิดสมุดก็มีความสวยงาม เพิ่มความรู้สึกอยากอ่านมากขึ้น เคล็ดลับคือให้เลือกใช้สีที่สอดคล้องกับเนื้อหา เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับพืชก็ใช้สีเขียว…
เป็นที่รู้จักกันอย่างดีเยี่ยม ในระบบการศึกษาสายอาชีพ ที่เรารู้จักกันในนาม อาชีวศึกษา เทคนิค หรือ วิทยาลัยต่าง ๆ ที่รับนักศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพื่อที่จะได้เข้าศึกษาในระดับ ปวช.1 นั่นเอง แต่การเลือก เรียนสายอาชีพ ก็มักจะมีข้อแตกต่าง ที่แตกต่างออกไปจากเหตุผลของแต่ละครอบครัว บางคนคิดว่า การเรียนสายอาชีพไม่ดี เพราะว่า ภาพลักษณ์ของเด็กสายอาชีพทุกวันนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไป แต่ก็มีหลายสังคมที่ให้การยอมรับ สายอาชีพ เพราะฝีมือการทำงาน เวลาที่ได้ไปฝึกงาน และ ที่สำคัญสายอาชีพในยุคนี้กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานสากลโลก วันนี้นักเขียนจะมาพาทุกท่าน ไปสู่โลกของการเรียนสายอาชีพ ทางเลือกการศึกษาที่มีประสบการณ์ก่อนใคร ฉบับจัดเต็มกันไปเลยค่ะ สายอาชีพคืออะไร ? สำคัญอย่างไร ? ก่อนที่จะ เรียนสายอาชีพ มาทำความรู้จัก การศึกษาสายอาชีพกันก่อนว่า คือการเรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. กล่าวคือเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้ลงลึกตามสายสามัญ แต่ มีการเน้นด้านการฝึกประสบการณ์ในการทำงาน ในชั้นปีที่ 3…