ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีและสิ่งเร้ามากมาย เราอาจมีความกังวลว่าเด็กที่เป็นอนาคตของชาติจะหลงมัวเมาไปกันสิ่งนั้นหรือไม่ ทำให้วันนี้จะนำข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติมาอ้างอิงและวิเคราะห์ถึงสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ว่าเป็นอย่างไรบ้าง อีกทั้งมีอะไรที่น่าเป็นกังวลหรือไม่ วิเคราะห์ถึงสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ในเด็กวัย 6-14 ปี ได้ดังนี้ 77% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านหนังสือเพื่อการศึกษา จากตัวเลขที่สูงนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจนัก เพราะเป็นเรื่องที่สมควรแล้วกับการที่เด็กต้องเข้าถึงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับการอ่านหนังสือ แต่ในอีกมุมหนึ่งอาจต้องเพิ่มตัวเลขให้มากกว่านี้ เพื่อให้ครอบคลุมกับกลุ่มเด็กที่อยู่ห่างไกลในชนบทและขาดโอกาสทางการศึกษาอีกจำนวนมาก 60.1% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ จากสถิติแบบนี้นับว่าน่าภูมิใจอย่างยิ่งที่เด็กใฝ่หาในสิ่งที่ตนเองสนใจ นับจากนี้จงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองด้วยที่ต้องสนับสนุนเด็กตามสมควร เพื่อให้การอ่านของเขายั่งยืนไปกระทั่งตอนโต ซึ่งหากสนับสนุนและปลูกฝังจนกลายเป็นนิสัยก็ยิ่งดีเข้าไปอีก 21.5% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านเพื่อความบันเทิง ในส่วนนี้มีข้อดี คือช่วยให้เด็กอ่านหนังสือได้คล่องและเป็นการผ่อนคลายสมองได้ แต่ในมุมกลับกันการอ่านในประเภทนี้ต้องอยู่ในระดับที่พอดี เพราะหากอ่านมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อตัวเด็กในแง่ของการเรียน จนถึงการใช้ชีวิตในสังคมได้ 11.5% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านเพราะความสนใจและอยากรู้ ในส่วนนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะสื่อให้เห็นว่าเด็กเริ่มรู้ตัวตนของตัวเอง ฉะนั้นการจะตอบโจทย์ความใคร่รู้ของตัวเองก็ต้องหาหนังสือมาอ่าน แต่ถึงกระนั้นจากตัวเลขนี้นับว่ายังน้อยไปสักหน่อย เพราะมันก็สื่อให้เห็นว่ายังมีเด็กอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถค้นหาตัวเองได้ โดยอาจจะเป็นที่สภาพแวดล้อมและตัวผู้ปกครองที่กำหนดกรอบไปยังตัวเด็ก จนกระทั่งเด็กไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งหากสถิติตรงนี้ถ้าในอนาคตเพิ่มขึ้นเกิน 50% ขึ้นไป วันข้างหน้าประเทศไทยของเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่ฉลาด…
18 February