สังคม

ยิ่งสนิท ยิ่งต้องเกรงใจ 5 ลักษณะนิสัย ของเพื่อน แบบนี้ยิ่งคุยยิ่งเหนื่อย

ยิ่งสนิท ยิ่งต้องเกรงใจ 5 ลักษณะนิสัย ของเพื่อน แบบนี้ยิ่งคุยยิ่งเหนื่อย

คำว่าเพื่อนเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากๆ  สำหรับชีวิตของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม  แต่บางทีนิสัยก็มีทั้งรับได้ถ้าในกรณีสนิทกัน  และควรระมัดระวังนิดนึงว่า  อะไรควรทำ  อะไรไม่ควรทำเลย  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในภายหลัง  แต่ในขณะเดียวกัน  เราก็ไม่อยากมีปัญหาระหว่างกันหรอกจริงไหม?  เอาล่ะจะมาบอกนิสัยเพื่อนของคุณว่าเป็นแบบ 5 ข้อหรือไม่  ถ้ายิ่งคุยกันมากเท่าไหร่  ยิ่งเหนื่อยใจมากเท่านั้น  ซึ่งมี ลักษณะนิสัย ตามแต่ละข้อดังนี้ ลักษณะนิสัย ของเพื่อน ที่ไม่น่าคบ ไม่รู้กาลเทศะ  :  ลักษณะนิสัย แบบนี้ยิ่งคุยก็ยิ่งไม่สบายใจ  โดยเฉพาะมาคุยในเวลางาน  มีธุระก็เร้าหรือ  เพราะนอกจากไม่รู้เวลาว่าควรพูดช่วงไหน  อะไรควรทำไม่ควรทำ  ต่อให้สนิทต่อกันมากแค่ไหน  ความเกรงใจควรจะมีมากๆ เลยนะ  เพราะถ้าไม่รู้เวล่ำเวลาว่าจะทำอะไร  อย่างน้อยก็ควรเห็นหัวนิดนึงว่าควรทำไหม  เพื่อไม่บ่มนิสัยเสียๆ ใส่กันในภายหลัง งี่เง่าพูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง  :  อย่างในกรณีที่มีเพื่อนที่พูดแล้วยังงี่เง่า  ถ้านานๆ  ทีพอได้  ไม่ว่าจะงี่เง่าเพราะเรื่องความรัก  งี่เง่าเพราะไม่ชอบใจ  หรืองี่เง่าเพราะเรื่องอื่นๆ  เช่น  เตือนแล้วยังจะดราม่านั่นนี่เพราะความอยากได้ของตนเอง  แต่ไม่ได้ดังใจ  เอาแต่ใจตนเอง  หรือสิ่งที่สื่อให้เห็นว่านิสัยแบบนี้ยิ่งคุยยิ่งเตือนเท่าไหร่  ก็เหมือนคนพูดไม่รู้เรื่อง  เพื่อน…

การรัฐประหาร ในประเทศไทย

การเมือง เป็นเรื่องของทุกคน! แต่ทำไมประเทศไทยไม่ควรทำ “การรัฐประหาร”

สวัสดีผู้อ่านที่น่ารักทุกๆท่านทุกๆคน  ในบทความนี้จะเป็นการนำเสนอมากกว่าที่จะโจมตีเพื่อสร้างความขัดแย้งใดๆ แน่นอนว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง  แต่มันเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องสร้างความตระหนัก  และให้ทุกคนตระหนักเรื่องการทำรัฐประหาร  ซึ่งเคยได้ยินมาบ้างแล้วกับการศึกษาไทย  จากที่ศึกษามาหลายแหล่งข่าวรวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบันจะขอแยกเป็นข้อๆ ว่าทำไมประเทศไทย ไม่ควรทำ การรัฐประหาร เหตุผลที่ ประเทศไทยไม่ควรทำ การรัฐประหาร 1.ความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะหนาขึ้น ประเทศไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนได้ในระยะยาว  จากการศึกษาในแต่ละแหล่งข่าว  พบว่าการทำรัฐประหาร นำมาซึ่งการคอรัปชั่นเพิ่มขึ้น  มิใช่แค่เรื่องการเมืองเท่านั้น  แต่การช่วยเหลือคนที่เข้าถึงได้ยาก  การศึกษาของเยาวชนที่ควรจะได้รับและเนื้อหาที่ทันสมัยจะเข้าไม่ถึง  รวมทั้งเงินช่วยเหลือเยียวยาจะไม่ถึงมือจนต้องระดมทุนบริจาคกันมากขึ้น  ซึ่งภาระหน้าที่นั้นควรเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ควรรับผิดชอบมากกว่ารับผิดชอบกันเอง 2.การศึกษาในไทยจะถอยหลังลงคลองมากขึ้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยของเรามีค่าเฉลี่ยการศึกษาในอันดับที่ไม่ดีเท่าใดนัก  การที่ทำ การรัฐประหาร  ทำให้การศึกษาไทยไม่ได้รับการใส่ใจเท่าที่ควร  (พูดง่ายๆ คือการศึกษาไทยล้าหลัง  ไม่สามารถพัฒนาประเทศชาติให้ดีขึ้น)  เนื้อหาการเรียนการสอนไม่ทันสมัย  ขาดการอัปเดตความรู้เนื้อหาที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยและช่วงปี  และขาดจิตวิทยาในเด็กที่เหมาะสม  จนทำให้สังคมขาดความตระหนักในเรื่องความรู้ต่อเด็กและเยาวชน  จริยธรรมที่ควรรับมือในยุคการเปลี่ยนแปลง  รวมทั้งเน้นเรียนเพื่อไปสอบมากกว่าเรียนเพื่อเสริมทักษะชีวิต  ทำให้เด็กได้รับการศึกษาแบบขาดๆ เกินๆ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่นัก 3.ตลาดหุ้นติดลบ หากใครเข้าใจการศึกษาในหลักการเศรษฐศาสตร์  การที่ทำ การรัฐประหาร ส่งผลต่อตลาดหุ้นติดลบ  ซึ่งเป็นภาพรวมที่ไม่ดีนัก  นั่นแปลว่าเศรษฐกิจไทยจะตกต่ำลง  และจะรุนแรงกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี  2540  ผลของการทำรัฐประหารนั้นทำให้ความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนน้อยลง …

การประเมิน วิชาชีพ “ครูในฟินแลนด์” ยังมีคุณค่าต่อสังคม

การประเมิน วิชาชีพ “ครูในฟินแลนด์” ยังมีคุณค่าต่อสังคม

วิชาชีพครูยังคงมีคุณค่าในสังคม ครูพบว่าโรงเรียนในฟินแลนด์มีจิตวิญญาณของชุมชนที่ดี อย่างไรก็ตาม ครูในฟินแลนด์ ไม่ค่อยพอใจกับสภาพแวดล้อมในการทำงานมากกว่า แต่ก่อนรายงาน OECD TALIS (การสำรวจการเรียนการสอนระหว่างประเทศ) การสำรวจซึ่งรวม 48 ประเทศยังบอกด้วยว่าครูไม่สนุกกับการทำงานมากเท่าที่เคยเป็นมาอีกต่อไปข่าวประชาสัมพันธ์ของกระทรวงศึกษาธิการอ้างการสำรวจว่าเป็นรายงานความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปงานธุรการและต้องปรับการสอนให้เข้ากับความต้องการของเด็กและเยาวชนที่ต้องการการสนับสนุนเป็นพิเศษเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับครู ครูในฟินแลนด์ ยังมีคุณค่าต่อสังคม ผลการวิจัยระดับประเทศของ TALIS 2018 (การสำรวจการเรียนการสอนระหว่างประเทศ) ได้รับการตีพิมพ์เป็นสองส่วน นี่คือผลการศึกษาส่วนที่สอง ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงสภาพการทำงานของครูและผู้นำโรงเรียนและประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนของโรงเรียนของตนเองอย่างไร ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาประมาณ 2,850 คนและผู้นำโรงเรียน 150 คนเข้าร่วมการศึกษาในฟินแลนด์และในระดับนานาชาติมีครูโรงเรียนมัธยมประมาณ 160,000 คนและผู้นำโรงเรียน 9,400 คนเข้าร่วมในการศึกษานี้ ข้อมูลถูกรวบรวมในฤดูใบไม้ผลิ 2018 แต่ละประเทศที่เข้าร่วมอาจใช้ผลลัพธ์ในการพัฒนานโยบายการศึกษาของตนเอง แอนนิก้า ซาริกโก้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมกล่าวว่าการสำรวจของ TALIS ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดแข็งและความท้าทายของระบบการศึกษาของฟินแลนด์ นี่เป็นสิ่งสำคัญและช่วยให้เราขับเคลื่อนการทำงานไปในทิศทางที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาของเราโดยใช้ข้อมูลจากการวิจัย โรงเรียนส่งเสริมการทำงานร่วมกันมากกว่า แต่ก่อน การทำงานเป็นทีมแบบร่วมมือกันในการสอนและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบร่วมมือมืออาชีพกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในหมู่ครูในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ครูไว้วางใจซึ่งกันและกันและโรงเรียนสนับสนุนให้ทุกคนแสดงความคิดริเริ่ม การแบ่งปันความรับผิดชอบเป็นส่วนสำคัญของโรงเรียน อย่างไรก็ตามผลการสำรวจพบว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อปรับปรุงความรู้สึกของชุมชนในฟินแลนด์ ตัวอย่างเช่นครูในสวีเดนและนอร์เวย์มีความพยายามในการทำงานร่วมกันในรูปแบบต่างๆกับครูคนอื่น ๆ มากกว่าที่ครูทำในฟินแลนด์ ครูในฟินแลนด์ ยังรู้สึกว่าพวกเขาได้รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานของตนโดยเฉลี่ยน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศอ้างอิงอื่น…