น้องๆ มัธยมหลายๆคน ที่กำลังจะเตรียมตัวก้าวเข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัย ในสถานะนักศึกษาหรือนิสิต ก็คงมีความกังวลในเรื่องของ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย บทความนี้จะมาเล่าถึงการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยกัน ในรั้วมหาวิทยาลัย การใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป ค่อนข้างที่จะแตกต่างกับในโรงเรียน หรือวิทยาลัย เป็นอย่างไรมาดูกัน การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยกับชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป จัดตารางเรียนด้วยตนเอง ในโรงเรียนเมื่อเปิดเทอมเราก็คงจะได้ตารางเรียนที่ทางโรงเรียนได้จัดสรรมาให้เราแล้ว โดยเราไม่ต้องมานั่งคิดและจัดการกับมันเลย ซึ่งแตกต่างกันมากกับ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ที่เราจะต้องศึกษาหลักสูตรและมาจัดตารางเรียนด้วยตนเองทั้งหมด ซึ่งบางครั้งน้องปี1 อาจจะมีพี่กลุ่ม พี่รหัสหรือพี่ในคณะที่จะคอยช่วยเหลือบ้าง กิจกรรมต่างๆ การเป็นน้องปี1หรือเฟรชชี่ที่เพิ่งเข้ามาในมหาวิทยาลัย ก็มักจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น การรับน้อง การสันทนาการ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือค่ายอาสาต่างๆที่มีจำนวนมากในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องๆปี1 สนใจมากๆ เพราะนอกจากจะได้ไปพบผู้คนใหม่ๆ ยังได้ช่วยเหลือสังคมอีกด้วย การเรียนในห้อง จากที่โรงเรียนเป็นห้องเรียนเล็กๆมีนักเรียนประมาณ 30-40 คน แต่เมื่อมาเรียนในมหาวิทยาลัยความกว้างของห้องก็ใหญ่มากขึ้น ทำให้จำนวนของผู้เรียนก็มากตามขึ้นไปด้วย สิ่งนี้อาจจะทำให้เราเสียสมาธิหรือไปสนใจเพื่อนๆในห้องมากกว่าเนื้อหาการเรียน ผู้คนมากหน้าหลายตา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในมหาวิทยาลัย มีคนจำนวนมากกว่าในโรงเรียนเป็นหลายเท่า ซึ่งการเข้าสังคมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างมากในมหาวิทยาลัย เพราะเราไม่เพียงที่จะเจอแค่เพื่อนในสาขาของเราเท่านั้น แต่การเรียน การทำกิจกรรมต่างๆเราก็ยังจะต้องพบเจอกับผู้อื่นอีกมากมาย ความรับผิดชอบของ…
เป็นที่รู้จักกันอย่างดีเยี่ยม ในระบบการศึกษาสายอาชีพ ที่เรารู้จักกันในนาม อาชีวศึกษา เทคนิค หรือ วิทยาลัยต่าง ๆ ที่รับนักศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพื่อที่จะได้เข้าศึกษาในระดับ ปวช.1 นั่นเอง แต่การเลือก เรียนสายอาชีพ ก็มักจะมีข้อแตกต่าง ที่แตกต่างออกไปจากเหตุผลของแต่ละครอบครัว บางคนคิดว่า การเรียนสายอาชีพไม่ดี เพราะว่า ภาพลักษณ์ของเด็กสายอาชีพทุกวันนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไป แต่ก็มีหลายสังคมที่ให้การยอมรับ สายอาชีพ เพราะฝีมือการทำงาน เวลาที่ได้ไปฝึกงาน และ ที่สำคัญสายอาชีพในยุคนี้กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานสากลโลก วันนี้นักเขียนจะมาพาทุกท่าน ไปสู่โลกของการเรียนสายอาชีพ ทางเลือกการศึกษาที่มีประสบการณ์ก่อนใคร ฉบับจัดเต็มกันไปเลยค่ะ สายอาชีพคืออะไร ? สำคัญอย่างไร ? ก่อนที่จะ เรียนสายอาชีพ มาทำความรู้จัก การศึกษาสายอาชีพกันก่อนว่า คือการเรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. กล่าวคือเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้ลงลึกตามสายสามัญ แต่ มีการเน้นด้านการฝึกประสบการณ์ในการทำงาน ในชั้นปีที่ 3…