แคน นับเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่ถูกกล่าวขานถึงเสียงที่ไพเราะ ยามในที่ได้ยินก็จะทำให้นึกถึงบรรยากาศท้องทุ่งและภูมิทัศน์อันเงียบสงบ ทำให้แคนกลายเป็นเครื่องดนตรีดั่งสัญลักษณ์ของภาคอีสาน และของประเทศลาว แต่มีใครรู้ไม่ว่าแท้จริงแล้ว ประวัติของแคน อาจไม่ได้ถือกำเนิดมาจากสองประเทศดังกล่าว แม้จะมีหลักฐานจากการขุดพบแคนจากหลุมฝั่งศพ เพราะมีหลักฐานชิ้นสำคัญที่เก่าแก่กว่านั้น ทำความรู้จัก ประวัติของแคน เครื่องดนตรี คู่ถิ่นอีสาน ประวัติของแคน ที่น่าสนใจ ตามวัฒนธรรมดองซอน คือ กลุ่มอารยธรรมเก่าแก่ ที่มีศูนย์กลางอยู่ในแถบภาคกลางของเวียดนามและแผ่กว้างไปถึงจีนตอนใต้ ลาว และบริเวณภาคอีสานของไทย สำหรับหลักฐานสำคัญที่พบเป็นขวานหิน โดยที่ด้ามขวานมีรอยสลักเป็นรูปผู้หญิงกำลังเป่าแคนอยู่ ทำให้หลักฐานชิ้นนี้ค่อนข้างสำคัญและตอกย้ำถึงทฤษฎีที่มีมาก่อนหน้านี้ว่าการเป่าแคนเมื่อ 2-3 พันปีก่อน ในยุคที่ยังนับถือศาสนาผี ผู้หญิงคือเพศที่มีความสำคัญ มีอภิสิทธิ์ทางสังคมเหนือกว่าผู้ชายในหลายบริบท ที่แม้แต่การเป่าแคนเพื่อเรียกผีมาทำพิธีกรรม ยังต้องเป็นหน้าที่ของผู้หญิง กรทั่งจุดเปลี่ยนสำคัญ คือเมื่อศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพุทธเข้ามา ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดทางสังคม จนแปรเปลี่ยนเป็นการเชิดชูและให้อำนาจทางเพศแก่เพศชาย จวบจนปัจจุบัน ตาม ประวัติของแคน จากเครื่องมือที่ใช้เป่าเพื่อเรียกผี ได้ถูกวิวัฒนาการจนกลายเป็นเครื่องดนตรีในที่สุด ซึ่งมีกรรมวิธีที่ต้องใช้ความละเอียดและประณีตของช่างแคน กระทั่งกลายเป็นดนตรีสัญลักษณ์ประจำถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในตอนกลางของลาว ส่วนในเวียดนามพื้นที่ต้นทาง ไม่หลงเหลือวัฒนธรรมดนตรีแคนอีกแล้ว สำหรับแคนมีการปรับตัวให้เข้ากับดนตรีสากลด้วยการมีโน้ต ที่สามารถจำแนกออกมาได้ 5…
เครื่องดนตรีประจำถิ่นอีสานและลาวอย่างแคนนั้น ทราบหรือไม่ว่า ขั้นตอนการทำแคน ไม่ง่ายเลย อีกทั้งยังเป็นการพิสูจน์คุณภาพฝีมือของช่างทำแคนอีกด้วย ที่กว่าจะได้แคน 1 ตัว ต้องใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ ซึ่งจะต้องผ่านกรรมวิธีอะไรบ้าง วันนี้ได้นำมาสรุปแล้วด้านล่างนี้ ขั้นตอนการทำแคน เครื่องดนตรีเสียงสวรรค์ ของถิ่นอีสาน ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนแรกคือการออกไปหาไม้ซาง หรือเรียกในภาษาภาคกลางคือ ลำไผ่ไซส์เล็ก ซึ่งอยู่ตามซอกระหว่างหุบเขา โดยจะต้องตัดและวางทิ้งไว้แรมเดือน เพื่อให้เนื้อไม้ซางแห้งสนิท ปัจจุบันไม้ชนิดนี้หาได้ยากมากในประเทศไทย ตรงข้ามกับประเทศลาวและเวียดนามที่ยังมีอยู่มาก ทำให้ปัจจุบันช่างทำแคนนิยมซื้อไม้ซางจากลาวเพื่อความสะดวก ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่2 คือการคัดเลือกไม้ซาง โดยช่างแคนจะต้องคัดเลือกไม้ซางในขนาดที่ไม่บางเกินไปและไม่หนาเกินไป เพราะจะทำให้เป่ายากและเสียงเพี้ยน หลังจากได้ไม้ที่ต้องการแล้วจะต้องนำเหล็กร้อนมาเจาะบ่องไม้ซางให้ทะลุถึงกัน แล้วใช้ไม้กระดานดัดให้ไม้ซางตรง ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่3 คือการตีเงิน ช่างทำแคนจะต้องนำเงินไปเผาไฟ แล้วนำมาตีให้บางมากที่สุด ซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาในการทำนาน จากนั้นนำลิ้นเงินมาใส่ในลำไม้ซางเพื่อทำหน้าที่เป็นลิ้นแคนให้เกิดเสียง โดยจะต้องมีการทดลองเป่า ว่าเสียงได้ระดับที่ต้องการหรือยัง ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่4 ช่างแคนจะต้องไปหาแก่นไม้ โดยเฉพาะแก่นไม้คูน ที่จะขุดรากขึ้นมาแล้วทำการล็อคขนาดให้พอดี เพื่อเป็นรังเพลิงใส่ไม้ซาง ไม่เพียงเท่านั้น ช่างแคนจะต้องไปหาขุดรังมดที่อยู่ตามพื้นดินเพื่อเอาขี้สูดมายาเต้าแคน ไม่ให้ลมหลุดรอดออกมาได้ ขั้นตอนการทำแคนขั้นตอนที่5 คือการประกอบแคน ช่างจะเริ่มจากเรียงไม้ใส่รังเพลิงจนครบ…