เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเพื่อนร่วมชั้นที่ได้เกรดดีๆ หลายคน ถึงดูไม่ค่อยตึงเครียดเหมือนกับเราในช่วงเวลาสอบ ราวกับว่ามันเป็นเรื่องง่ายดายเหลือเกิน ขณะที่เราอยากจะเพิ่มเกรดให้ดีกว่าเดิม ก็ตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือมากขึ้น ติวกับเพื่อนมากขึ้น อดหลับอดนอนมากขึ้น สุดท้ายคะแนนก็ไม่ทิ้งห่างจากที่เคย มิหนำซ้ำบางวิชายังคะแนนต่ำกว่ามาตรฐานของตัวเองไปอีก ถ้าทุ่มสุดตัวขนาดนี้แล้วยังไม่ได้ผล ก็คงต้องมี เทคนิคเพิ่มเกรด และมาวางแผนแบบที่เด็กเก่งเขาทำกันบ้างแล้วนะ แนะนำ เทคนิคเพิ่มเกรด ให้กับเด็กๆ ที่จริงจังกับการเรียน จุดสำคัญที่มีเด็กไม่กี่คนทำอย่างจริงจังในการเพิ่มเกรดก็คือ เทคนิคเพิ่มเกรด ด้วยการให้น้ำหนักกับคอร์สเซเลบัส หรือแผนการเรียนตลอดทั้งเทอม ปกติแล้วครูจะแจกให้ในวันแรกของการเรียน เราจะได้รู้ว่ามีเนื้อหาเรื่องอะไรบ้าง จะแบ่งวิธีการเก็บคะแนนเป็นอย่างไร และนี่แหละคือเคล็ดลับที่ช่วยให้เราไม่ต้องทำงานหนักเกินไป เพียงแค่รู้จักวางแผนให้เหมาะสมกับเป้าหมาย แล้วก็ทำตามแผนนั้นอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างใน เทคนิคเพิ่มเกรด จากการวิเคราะห์คอร์สเซเลบัสก็คือ ให้ดูว่ามีการเก็บคะแนนยิบย่อยรายทางมากน้อยแค่ไหน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วประเมินควบคู่ไปกับความยากง่ายของเนื้อหา เราจะเก็บได้มากแค่ไหน ตรงนี้ยิ่งได้มากก็จะผ่อนแรงตอนสอบไปเยอะ หลายคนได้เกรด 3 ก่อนถึงวันสอบด้วยซ้ำไป การสอบกลางภาคก็สำคัญ ต้องดูว่าเนื้อหาส่วนไหนจะออกสอบบ้าง เราก็ตั้งใจเรียนและทำความเข้าใจบทนั้นแต่เนิ่นๆ อีกอย่างหนึ่งคือ ให้รู้ว่า เทคนิคเพิ่มเกรด…
ในการเรียนนั้น จะมีการทดสอบความรู้จากการที่เราเรียนไปทั้งหมด โดยการสอบเพื่อเก็บคะแนน จากนั้นจะนำคะแนนในแต่ละวิชามาคิดเป็น เกรดเฉลี่ย จะมีตั้งแต่ 0.00 จนถึง 4.00 ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมักจะใช้ในการตัดสินความเก่งหรือไม่เก่งของผู้อื่น หรือพ่อแม่หลายคนมักจะกดดันเด็กๆให้มีเกรดเฉลี่ยที่สูง ให้ทั้งเรียนพิเศษหรือกวดวิชาต่อจากการเรียนที่โรงเรียน ซึ่งในความเป็นจริงจะต้องเป็นเวลาพักของเด็กๆ สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆรู้สึกเครียด กดดัน ไม่มีความสุขในการเรียน อาจจะนำไปสู่การหนีเรียนหรือไม่อยากเรียนหนังสืออีกต่อไปได้ ซึ่งในความเป็นจริงเกรดเฉลี่ยไม่ใช่ทั้งหมดของสิ่งที่บอกว่า คุณเก่งหรือไม่เก่ง แต่เป็นประสบการณ์ การใช้ชีวิตในอนาคต เป็นต้น เกรดเฉลี่ยสำคัญอย่างไร ? ผู้ใหญ่หลายคน รวมถึงในบริษัทบางบริษัทมักจะตั้งความหวังไว้ที่ เกรดเฉลี่ย ของเด็กๆว่าเกรดยิ่งสูง หมายความว่าเด็กคนนี้ยิ่งเก่ง แต่ลองกลับมุมมองดูว่า คนที่เกรดสูง เขาสามารถนำความรู้ที่เขามีไปใช้ได้หรือเปล่า? นำไปใช้ในชีวิตจริงได้หรือไม่? เขามีทักษะอื่นๆอีกหรือเปล่า? คนที่มีเกรดเฉลี่ยสูงบางคนอาจจะใช้ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในอาชีพหรือการใช้ชีวิตไม่ได้เลย ไม่มีทักษะอื่นๆเลยก็อาจจะเป็นได้ บางคนที่มีเกรดเฉลี่ยที่ไม่ได้สูง แต่ลองมองมุมอื่นพวกเขาอาจจะเคยทำกิจกรรมมามากมายนับไม่ถ้วนก็ว่าได้ ดังนั้นเกรดเฉลี่ยไม่สามารถบอกถึงความเก่งได้อย่างเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช่ว่าเกรดเฉลี่ยจะไม่มีความหมายใดๆเลย แต่เกรดเฉลี่ยอาจจะบอกได้ถึงความขยัน ความถนัดในรายวิชานั้นๆ หรือความตั้งใจได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะสำคัญมากขนาดไหน เราก็ต้องทำทุกอย่างในเต็มที่ เพื่อที่จะไม่ได้มานั่งเสียใจในภายหลังถ้าหากเกรดเฉลี่ยสำคัญในบริษัทที่เขาให้ความสำคัญต่อ เกรดเฉลี่ย ทั้งนี้จึงอยากให้ลองเปลี่ยนความคิดดูใหม่เกี่ยวกับเกรดเฉลี่ย เพื่อให้เด็กไม่เพียงแต่เลือกแค่การเรียนเพียงเท่านั้น แต่ให้เด็กๆสามารถทำกิจกรรมอื่นๆร่วมด้วย…