นักเรียน นักศึกษาหลายคนรู้วิธีอ่านจับใจความว่าต้องทำอย่างไร แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า การอ่านจับใจความ แท้จริงคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ดังนั้นตามมาทำความเข้าใจกันเถอะ… การอ่านจับใจความ คืออะไร? ก่อนอื่นต้องมองความจริงก่อนว่าในหนังสือหรือตำราวิชาการอะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ทุกบรรทัดทุกตัวอักษรจะสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะผู้เขียนมีสิ่งสำคัญที่อยากจะบอกและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่อยากจะอธิบายนั่นเอง ดังนั้นการอ่านข้อความหรือหนังสือสักเล่ม ผู้อ่านต้องกลั่นกรองให้ได้ว่าสิ่งใดสำคัญโดยใช้วิธีการอ่านจับใจความที่มุ่งหาสาระหรือใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง ซึ่งทำให้ทราบว่าที่เหลือเป็นใจความรองและรายละเอียดต่างๆ ขออธิบายเสริม ดังนี้ 1. ใจความสำคัญ คือ แก่นของแต่ละย่อหน้า ซึ่งแต่ละย่อหน้ามักมีใจความสำคัญประมาณ 1 – 2 ใจความ โดยใจความสำคัญจะมีลักษณะ ดังนี้ – สั้นกระชับ – สามารถเป็นประโยคเดี่ยวๆ ได้เลย – สามารถเป็นหัวข้อในแต่ละย่อหน้าได้ – ไม่จำเป็นต้องมีประโยคอื่นเสริมหรือประกอบก็เข้าใจได้ 2. ใจความรอง (พลความ) คือ ส่วนที่ช่วยขยายหรือสนับสนุนให้ใจความสำคัญมีความชัดเจนและเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ได้แก่ การเปรียบเทียบเปรียบเปรย การอธิบายเหตุผล การให้คำจำกัดความ และการยกตัวอย่างประกอบ (ซึ่งเราอาจไม่จำเป็นต้องใส่ใจหากมีเวลาอ่านน้อยหรือต้องการทราบเนื้อหาสำคัญเพียงคร่าวๆ) 3. รายละเอียด คือ …
04 June