หลักสูตรการเรียนการสอนสมัยก่อน มันจะมีการกำหนดรายวิชาแต่ละหลักสูตร เอาไว้ค่อนข้างชัดเจน แล้วก็เหมือนๆ กันทั้งประเทศ ต่างกันแค่บรรยากาศและสไตล์การสอนของครูเท่านั้น แต่เมื่อวิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป หลักสูตรก็ทำให้สอดคล้องกับ แนวทางวิชาชีพ มากขึ้น เช่น มีการเรียนเพื่อเตรียมเป็นหมอ เรียนเพื่อเตรียมเป็นวิศวกร เป็นต้น ยิ่งในตอนนี้ บางโรงเรียนก็ยิ่งพัฒนาไปไกลกว่านั้น คือไม่จำกัดแค่สายวิทย์หรือศิลป์ แต่จำแนกไปตามสายอาชีพเลย แนะนำ แนวทางวิชาชีพ ให้เด็กๆ ทุกคนได้รู้จัก โรงเรียนหนึ่งที่น่าสนใจคือกรุงเทพคริสเตียน ที่สร้างแผนการเรียนที่เป็น แนวทางวิชาชีพ มากถึง 15 สาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ศิลปะการอาหาร บริหารธุรกิจ แพทย์ศาสตร์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เด็กจะต้องเลือกให้ได้ก่อนจบมัธยมต้น เพื่อให้เป็นแผนเรียนในระดับชั้นมัธยมปลาย เหมือนกับสมัยที่ต้องเลือกสายวิทย์หรือศิลป์นั่นเอง แถมยังเปลี่ยนสายได้เมื่อเรียนไปแล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ชื่นชอบ แต่จะต้องเปลี่ยนภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น คือก่อนที่จะขึ้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งก็ถือว่าเพียงพอแล้วกับการทำความรู้จักตัวเอง รูปแบบการแบ่งหลักสูตรแบบนี้ก็นับว่ามีข้อดีค่อนข้างมาก แต่พอมองว่ามันเป็นการเลือก แนวทางวิชาชีพ ที่เราสนใจจะทำงานจริงๆ…
ในการเรียนนั้น จะมีการทดสอบความรู้จากการที่เราเรียนไปทั้งหมด โดยการสอบเพื่อเก็บคะแนน จากนั้นจะนำคะแนนในแต่ละวิชามาคิดเป็น เกรดเฉลี่ย จะมีตั้งแต่ 0.00 จนถึง 4.00 ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมักจะใช้ในการตัดสินความเก่งหรือไม่เก่งของผู้อื่น หรือพ่อแม่หลายคนมักจะกดดันเด็กๆให้มีเกรดเฉลี่ยที่สูง ให้ทั้งเรียนพิเศษหรือกวดวิชาต่อจากการเรียนที่โรงเรียน ซึ่งในความเป็นจริงจะต้องเป็นเวลาพักของเด็กๆ สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆรู้สึกเครียด กดดัน ไม่มีความสุขในการเรียน อาจจะนำไปสู่การหนีเรียนหรือไม่อยากเรียนหนังสืออีกต่อไปได้ ซึ่งในความเป็นจริงเกรดเฉลี่ยไม่ใช่ทั้งหมดของสิ่งที่บอกว่า คุณเก่งหรือไม่เก่ง แต่เป็นประสบการณ์ การใช้ชีวิตในอนาคต เป็นต้น เกรดเฉลี่ยสำคัญอย่างไร ? ผู้ใหญ่หลายคน รวมถึงในบริษัทบางบริษัทมักจะตั้งความหวังไว้ที่ เกรดเฉลี่ย ของเด็กๆว่าเกรดยิ่งสูง หมายความว่าเด็กคนนี้ยิ่งเก่ง แต่ลองกลับมุมมองดูว่า คนที่เกรดสูง เขาสามารถนำความรู้ที่เขามีไปใช้ได้หรือเปล่า? นำไปใช้ในชีวิตจริงได้หรือไม่? เขามีทักษะอื่นๆอีกหรือเปล่า? คนที่มีเกรดเฉลี่ยสูงบางคนอาจจะใช้ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในอาชีพหรือการใช้ชีวิตไม่ได้เลย ไม่มีทักษะอื่นๆเลยก็อาจจะเป็นได้ บางคนที่มีเกรดเฉลี่ยที่ไม่ได้สูง แต่ลองมองมุมอื่นพวกเขาอาจจะเคยทำกิจกรรมมามากมายนับไม่ถ้วนก็ว่าได้ ดังนั้นเกรดเฉลี่ยไม่สามารถบอกถึงความเก่งได้อย่างเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช่ว่าเกรดเฉลี่ยจะไม่มีความหมายใดๆเลย แต่เกรดเฉลี่ยอาจจะบอกได้ถึงความขยัน ความถนัดในรายวิชานั้นๆ หรือความตั้งใจได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะสำคัญมากขนาดไหน เราก็ต้องทำทุกอย่างในเต็มที่ เพื่อที่จะไม่ได้มานั่งเสียใจในภายหลังถ้าหากเกรดเฉลี่ยสำคัญในบริษัทที่เขาให้ความสำคัญต่อ เกรดเฉลี่ย ทั้งนี้จึงอยากให้ลองเปลี่ยนความคิดดูใหม่เกี่ยวกับเกรดเฉลี่ย เพื่อให้เด็กไม่เพียงแต่เลือกแค่การเรียนเพียงเท่านั้น แต่ให้เด็กๆสามารถทำกิจกรรมอื่นๆร่วมด้วย…
ชีวิตหลังจากจบจากมหาวิทยาลัยนับเป็นชีวิตที่เราจะต้องเผชิญกับโลกกว้างชีวิตของการหาเงินชีวิตของการหาความฝันแต่นั่นแหละนี่เป็นสิ่งที่ทำให้ นักศึกษาจบใหม่ ป้ายแดงต้องชะงักเพราะว่าไม่รู้ว่าเราควรจะทำอะไรไม่รู้ว่าเราควรจะหาเงินอย่างไรทำงานอะไรจะหาสิ่งที่เราชอบอย่างไร บางคนนับว่าโชคดีที่หาตัวเองเจอในขณะที่เรียนมหาวิทยาลัย แต่บางคนหรือหลาย ๆ ค้นหาเส้นทางชีวิตของตัวเองยังไม่เจอและในบทความนี้จะมาช่วยบัณฑิตจบใหม่ค้นหาตัวเองให้เจอกันครับ แนะนำปัจจัยที่ช่วยนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ อย่างที่ 1 ตั้งคำถามว่าอยากมีชีวิตแบบไหน ชื่อว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดการที่ นักศึกษาจบใหม่ ต้องรู้ ว่าเราจะมีชีวิตไปทางไหนจะทำให้เรารู้ว่าเราควรจะทำอาชีพอะไร ถ้าในอนาคตเราอยากเป็นคนที่เดินทางไปทั่วโลกอาชีพที่ตอบโจทย์มากที่สุดคืออาชีพไกด์ที่จะได้เดินทางไปในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ หรืออีกตัวอย่างหนึ่งอนาคตเราไม่อยากทำงานที่เป็นลูกจ้างคนอื่นอยากมีชีวิตเป็นของตัวเอง เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะทางธุรกิจเพื่อที่จะเอาได้เป็นเจ้าของธุรกิจของเราเองและสิ่งนี้ก็ทำให้เราไม่ต้องเป็นลูกน้องของคนอื่น เป็นต้น อย่างที่ 2 เมื่อนักศึกษาจบใหม่อยากทำงานในบริษัทหรือทำงานเกี่ยวกับทางราชการ เราต้องคิดถึงปัจจัยทั้งหมด 6 อย่างนี้ 1. ระดับรายได้ นักศึกษาจบใหม่ อยากมีรายได้ในการทำงานเดือนละเท่าไหร่ซึ่งแต่ละอาชีพนั้นจะมีรายได้ที่แตกต่างกันบางอาชีพนั้นเขาก็ให้รายได้ตามความสามารถที่มีและประสบการณ์ที่เราได้สะสมมา แตกในฐานะนักศึกษาจบใหม่รายได้อาจจะยังไม่สูงมากนักสิ่งที่ทำให้เราได้รายได้เพิ่มนั้นก็คือโบนัสในการทำงาน ดังนั้นถ้าหากอยากมีประสบการณ์ในช่วงที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยการหารายได้เสริมก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ดีที่จะทำให้เราได้ประสบการณ์ 2.ความมั่นคงในหน้าที่การงาน เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้ นักศึกษาจบใหม่ รู้ว่าในอนาคตจะมีงานทำไปตลอดชีวิตอย่างแน่นอนจนกว่าเราจะเกษียณ การที่มีงานที่ไม่มั่นคงนั้นจะทำให้ตกงานและต้องเปลี่ยนงานบ่อยและสิ่งนี้ทำให้เงินเดือนนั้นต้องเริ่มสตาร์ทใหม่ตลอด ดังนั้นเราควรเลือกที่จะอยู่บริษัทที่มีฐานทางการเงินที่ดี 3.สวัสดิการที่มีให้ เมื่อเข้าไปทำงานแล้ว นักศึกษาจบใหม่ จะต้องคำนึงถึงสวัสดิการของบริษัทต่าง ๆ ที่เข้าไปทำงานด้วยเพราะว่าบางบริษัทไม่ได้ครอบคลุมสวัสดิการทั้งหมดที่ต้องการในชีวิต ตัวอย่างสวัสดิการที่บริษัทจะมีให้ เช่น ประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ ทุกบริษัทจะมีสิ่งนี้เพราะว่าการที่ เรามีสวัสดิการในการรักษาพยาบาลทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคได้มากขึ้นแล้วรวมไปถึงทำให้ครอบครัวเรานั้นได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ด้วย 4.สถานที่ทำงาน…