การฝึกทักษะทางการอ่าน เพื่อให้อ่านได้เร็ว นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาแล้ว ก็ยังทำให้เรารู้จักเลือกตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วเลือกจับประเด็นที่มีความสำคัญ ทำให้สมองของเราพัฒนาได้มากขึ้น ซึ่ง เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่าน ให้อ่านเร็วจะช่วยให้สามารถอ่านหนังสือในช่วงสอบได้ดี และยังช่วยให้เข้าถึงสื่อที่ต้องใช้การอ่านได้ทุกประเภทด้วย แนะนำ เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่าน เพื่อใช้ในช่วงสอบ ให้มีประสิทธิภาพสูง เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านเชื่อไหมว่าคนที่ชอบอ่านแล้วออกเสียงหรือพูดตามไปด้วยนั้น จะทำให้ถ่วงเวลาในการอ่านเร็ว เนื่องจากสมองต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ผิดกับคนที่อ่านในใจจะอ่านได้เร็วมากกว่า เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านให้เร็วที่สำคัญก็คือ เราต้องไม่มองหารายละเอียดทุกสิ่งแล้วจดจำ แต่มองหาเฉพาะข้อความที่สำคัญ หรือใจความสำคัญเท่านั้น ลองนึกภาพตอนที่เรามองหาชื่อของเราบนประกาศสิ แบบนั้นแหละ คือเราจะไม่อ่านทีละคำแต่เราจะกวาดตาให้เห็นสิ่งที่เราต้องการเท่านั้น และนั่นก็คือหัวใจของการอ่านเร็ว ซึ่งพอเราเห็นสิ่งสำคัญที่อยู่ในนั้นแล้ว เราก็จะเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไรนั่นเอง เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านหลายคนที่ชอบทำเครื่องหมาย ไฮไลต์ หรือขีดเส้นใต้บางคำหรือบางใจความในหนังสือ นั่นแหละคือสิ่งที่จะช่วยให้การอ่านเร็วมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อเราค้นพบข้อความสำคัญในหน้านั้น ๆ แล้วเรากลัวลืม เราก็ควรทำสัญลักษณ์เอาไว้ พอเรากลับมาเปิดอ่านอีกรอบเราก็ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งเล่มอีก แต่อ่านเฉพาะตรงส่วนนั้นก็ได้ และทำให้เราสามารถสรุปใจความสำคัญได้ดีขึ้น แต่สำหรับการทำเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์นั้นก็ขอเตือนว่าอย่าพยายามทำมากจนเกินไป ในหน้าหนึ่งไม่ควรจะทำมากเสียจนกลายเป็นว่าทุกอย่างสำคัญหมด เราควรเลือกและรู้จักตัดประเด็นบางอย่างออกไปบ้าง แล้วเลือกเฉพาะที่สำคัญจริง ๆ เท่านั้น ก็จะทำให้เรารู้จักการคิดวิเคราะห์มากขึ้นด้วย เคล็ดลับฝึกทักษะการอ่านเมื่ออ่านนานและอ่านเร็ว ๆ บางครั้งก็อาจทำให้เมื่อยล้าสายตาได้…
ใคร ๆ ก็อ่านหนังสือได้ แต่เราอยากจะเป็นคนที่อ่านได้แบบไหนกันล่ะ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ที่มีความจำเป็นจะต้องอ่านหนังสือ ให้มาก และอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าตนเองมีทักษะในการอ่านระดับใด ก็จะช่วยให้รู้ตัว ประเมินความสามารถของตนได้ และนำไปใช้พัฒนาปรับปรุง ทักษะการอ่าน ต่อไป ทักษะการอ่าน ของแต่ละคนมี 4 ระดับ ดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับพื้นฐาน : คนที่อ่านออก คือคนที่อ่านหนังสือแบบอ่านออก สะกดคำเป็น อ่านออกเสียถูก อ่านแล้วไม่ค่อยมีผิด แต่เป็นแค่ในระดับที่เพียงแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แม้จะสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในระดับลึก ๆ ได้ คล้าย ๆ กับการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมต้น ทักษะการอ่าน ระดับพอใช้ : คนที่อ่านแล้วเข้าใจ คือคนที่นอกจากจะอ่านได้ไม่มีผิดแล้ว ก็ยังเข้าใจรูปประโยคของสิ่งที่อ่านด้วย รวมทั้งยังพอสรุปใจความสำคัญ หรือย่อความได้ด้วย และแม้จะพอวิเคราะห์ได้แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมปลายและมัธยมต้น ทักษะการอ่าน ระดับดี : คนที่อ่านแล้วรู้จักคิดวิเคาระห์…