หลายคนอาจจะทราบกันดีว่า อีสาน คือดินแดนที่อยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่วนลาว คือประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกับไทยทางฟากขวาของแม่น้ำโขง แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้ว ลาว VS อีสาน กลุ่มคนทั้งสองพื้นที่นี้ แท้จริงแล้ว คือกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ความรู้นอกตำรา ที่น่าสนใจ ลาว VS อีสาน คือกลุ่มคนชาติเดียวกัน ก่อนอื่นที่จะเข้าเรื่องราวของลาว VS อีสานต้องเริ่มจากในยุคที่มีเพียงอาณาจักรและนครรัฐ ซึ่งยังไม่มีประเทศและเขตแดนบนแผนที่ ตามแนวคิดอย่างชาติตะวันตก จวบจนชาติตะวันตกเข้ามายังดินแดนแห่งนี้เพื่อล่าอาณานิคมและบังคับให้สยามต้องร่างแผนที่เพื่อแบ่งปันเขตแดนให้เป็นสัดส่วน โดยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสได้คืบคลานเข้ามาจากฝั่งเวียดนามและกัมพูชาจนมาถึงลาวบริเวณแม่น้ำโขง ซึ่งฝรั่งเศสต้องการครอบครองแม่น้ำสายนี้เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคมไปสู่การุกรานจีน สุดท้ายสยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงปักปันเขตแดนต่อกันแล้วใช้แม่น้ำเป็นตัวกันระหว่างเขตแดน ในสมัยรัชกาลที่5 ภายหลังการได้ลาวฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยาม ได้กลายเป็นโจทย์สำคัญของรัชกาลที่ 5 ที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อหลอมรวมกลุ่มลาวให้กลายเป็นไทย เพราะอุปสรรคในเรื่องของชื่อ ที่ในบางมุมเหมือนมีลักษณะเหยียดหยาม และลักษณะของชาติพันธุ์ลาวที่ถูกสร้างอัตลักษณ์จนมีความแตกต่างกับสยาม ในกรุงเทพฯ นี่จึงเป็นงานสำคัญที่หากปล่อยผ่านไปอาจเกิดลักษณะการสร้างรัฐที่ไม่แข็งแรง จนอาจเกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน สุดท้ายรัชกาลที่ 5 จึงเลือกทลายชื่อเดิมที่นิยมเรียกกันว่า “ลาว” แล้วนิยามชื่อใหม่ให้กับให้กับพวกเขาว่า “ชาวอีสาน” และบรรจุให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของไทย จนเมื่อเวลาผ่านไปช่องว่างที่มีต่อก็เรียบสนิทขึ้น แม้อัตลักษณ์ความเป็นลาว VS…
ในระบบการศึกษาไทย เรามักจะภูมิใจเสมอที่ชาติไทยของเราไม่ตกเป็น “อาณานิคม” จากชาติตะวันตก และมักถูกปลูกฝังให้มองว่า เจ้าอาณานิคม คือสิ่งที่เลวร้ายและมีแต่ความเสียหาย แล้วหากเรามองในมุมของเจ้าอาณานิคมบ้างล่ะ พวกเรามีความคิดว่าจะพวกเขาจะต้องยึดดินแดนทั้งหมดที่ขวางหน้าเหมือนที่เราคิดหรือเปล่า? เจ้าอาณานิคม ต้องการยึดพื้นที่แบบไหน มากที่สุด ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการคมนาคมในสมัยนั้นที่ใช้การเดินทางด้วยเรือเป็นหลัก ทำให้ท่าเรือและเมืองที่ติดทะเลกลายเป็นพื้นที่ดั่งทำเลทอง นั่นจึงทำให้ เจ้าอาณานิคม เข้ามาติดต่อค้าขาย และเมื่อนานวันก็มีพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้พื้นที่ทำเลทองมานี้เป็นของตน มะละกา สิงคโปร์ ปีนัง เกาะสุมาตราตอนเหนือ เกาะชวา และเกาะทางเหนือของฟิลิปปินส์ จึงถูกยึดครองโดย เจ้าอาณานิคม โปรตุเกส อังกฤษ และดัตช์ ส่วนฝรั่งเศสที่มาทีหลัง ทำเลทองถูกยึดครองไปหมดแล้ว ทำให้ต้องหาพื้นที่ใหม่ที่ยังไม่ถูกครอบครอง ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสเลือกยุทธวิธีล่องเรือไปตามแม่น้ำโขงเพื่อเข้าไปตีเมืองจีน ทำให้ต้องไปยึดครองเวียดนาม กัมพูชาและลาว โดยสองประเทศหลังมีความยินดีที่จะอยู่ใต้อาณานิคมฝรั่งเศส แต่ท้ายที่สุดการยึดครองของฝรั่งเศสก็ไม่เกิดผล เพราะแม่น้ำโขงตื้นเขินและมีเศษตะกอนใต้น้ำเยอะ ทำให้เรือลำใหญ่ของกองทัพไม่สามารถล่องไปได้ แล้วประเทศไทยของเราล่ะ มีบทบาทสำคัญอย่างไรในยุคนั้น สำหรับไทยมีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของภาคพื้นทวีป ซึ่งไกลจากเส้นทางคมนาคมเรือที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคพื้นสมุทร นั่นจึงทำให้ไทยเป็นทำเลที่ไม่ใช่จุดหมายปองของชาติตะวันตก แต่มักจะใช้ไทยเป็นรัฐกันชน โดยเฉพาะระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองจะใช้วิธีการกดดันไทย ด้วยการยึดดินแดนบริเวณชายแดนและนำดินแดนส่วนอื่นมาแลกสลับกันไปมา ฉะนั้นนี่จึงเป็นประเด็นสำคัญ ที่กำลังจะบอกว่าการศึกษาไทยพยายามจะชี้ชวนไปว่าไทยมีความเก่งกล้าสามารถในการต้านทานชาติตะวันตกไว้ได้ชาติเดียวในภูมิภาค…