ซิ่ว

เด็กซิ่ว ก็มีหัวใจ

ปรับทัศนคติ “เด็กซิ่ว” ไม่ใช่กลุ่มคนที่ต้องมี ตราบาปติดตัว

               นอกเหนือไปจากความตึงเครียดของเด็กมัธยมปลายที่ต้องช่วงชิงที่นั่งในรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ปัญหาของ เด็กซิ่ว ก็มีความวุ่นวายไม่แพ้กัน ต้องขออธิบายก่อนว่าเด็กกลุ่มนี้คือเด็กที่ได้เข้าเรียนเรียบร้อยแล้ว ผ่านไป 1 ปี พวกเขาเริ่มรู้สึกว่าคณะที่ตัวเองอยู่นั้นไม่ใช่ตัวตนของเขา จึงได้ทำการ “ซิ่ว” หรือลงสนามสอบใหม่เพื่อย้ายคณะ ในการสอบแข่งขันแต่ละปี จึงมีประเด็นถกเถียงกันมากมาย ว่าเด็กกลุ่มนี้มากินที่เด็กที่จบปีปัจจุบัน แถมยังได้เปรียบว่าในเรื่องของประสบการณ์ ทำความเข้าใจกันใหม่กับคำว่า เด็กซิ่ว                ทีนี้เมื่อกลุ่ม เด็กซิ่ว ได้เข้าคณะที่ชอบแล้ว เวลาอยู่กับเพื่อนร่วมรุ่น ตัวเองก็จะมีอายุมากกว่า เคยเรียนที่อื่นมาแล้ว บางครั้งจึงเข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ ถึงเข้าได้ก็ไม่สนิทใจมากเท่ากับรุ่นราวคราวเดียวกัน หากเป็นคนที่จิตใจไม่เข้มแข้งพอ ก็จะมีภาวะตึงเครียด และอาจรุนแรงจนถึงซึมเศร้าได้ แม้ว่าตอนนี้จะมีมุมมองที่เปิดกว้างเกี่ยวกับเด็กย้ายที่เรียนกันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีการบูลลี่แฝงในสังคมอยู่ดี                เราจึงควรมาทำความเข้าใจกันใหม่ว่า เด็กซิ่ว ไม่ใช่คนที่ทำความผิดอะไรเลย แล้วก็ไม่ควรได้รับการตอบสนองจากสังคมในแบบที่แปลกแยกไปจากเพื่อนๆ ด้วย ในทางกลับกัน เราควรชื่นชมเด็กกลุ่มนี้ ที่กล้าเลือกในสิ่งที่ตัวเองชอบจริงๆ มากกว่า เพราะมันจะเป็นทักษะที่ติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิต ซึ่งผู้ใหญ่ทุกคนรู้ดีว่า การฝืนทำในสิ่งที่ไม่รักจนแก่ตาย มันทรมานขนาดไหน                ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่า ทำไม…