การศึกษานับเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกประเทศล้วนแต่ให้ความสำคัญ อีกทั้งในหมู่ผู้ปกครองก็ต่างมุ่งหวังส่งบุตรหลานของตนเข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ แต่ขณะเดียวกัน ชาวไทใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ (อาณาเขตตั้งแต่บริเวณภาคเหนือของไทย ถึงตอนใต้ของจีน ) กลุ่มผู้ปกครองกลับมีค่านิยมไม่ส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนในระดับที่สูงนัก การศึกษาของชาวไทใหญ่ โดยการอื่นต้องย้อนไปก่อนว่าประเทศเมียนมาร์หลังการรัฐประหาร 1962 รัฐบาลมีนโยบายสร้างชาติด้วยอัตลักษณ์ความเป็นเมียนมาร์ ทำให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องเรียนภาษาพม่า ประวัติศาสตร์ชาตินิยมพม่า ขณะที่ชีวิตประจำวันชาวไทใหญ่ พูดภาษาไต มีประวัติศาสตร์ของตัวเอง มีสถาบันศูนย์รวมจิตใจอย่างเจ้าฟ้า ส่วน ชาวไทใหญ่ คือ ชาวล้านนาเดิม แต่เมื่อมีการขีดเส้นแบ่งแดนระหว่างไทย เมียนมาร์ และอังกฤษ พวกเขาถูกขีดให้อยู่ใต้อธิปไตยของเมียนมาร์ ขณะที่ ชาวไทใหญ่ มองว่าตัวเองไม่ใช่เมียนมาร์ ซึ่งการต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ เสมือนเข้าไปอยู่ในโลกอีกกใบ เพราะพวกเขาต้องศึกษาเล่าเรียนในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนของเขา ส่งผลให้ผู้ปกครองชาวไทใหญ่จำนวนมาก ไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียน หรือหากส่งเรียนก็เพื่อให้มีความรู้อ่านออก เขียนได้ เท่านั้น โดยทางเลือกสำหรับเด็กผู้ชายในการศึกษาหาความรู้ของชาวไทใหญ่ คือการส่งลูกหลานไปบวชเรียนและเป็นพระ ซึ่งส่วนมากเมื่อเติบใหญ่จนมีวุฒิภาวะ ก็จะสึกออกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่นา หรือหากคิดถึงความก้าวหน้าก็จะข้ามไปทำงานในฝั่งไทยเมื่อมีเงินก้อนถึงจะกลับ ส่วนผู้หญิงทางเลือกค่อนข้างแคบกว่าผู้ชาย เพราะการบวชเรียนไม่เป็นที่นิยมนัก ฉะนั้นหากมีฐานะก็เลือกที่จะส่งบุตรหลานมาเรียนในสถาศึกษาทางภาคเหนือฝั่งไทยมากกว่า…
25 October