ในช่วงนี้เรื่องราวทางการเมืองกลายเป็นประเด็นที่ดุเดือดเสมอ เมื่อถูกหยิบขึ้นมาพูดในที่สาธารณะ ที่มักเต็มไปด้วยความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่าย จนยากที่พูดคุยกันได้รู้เรื่องท่ามกลางสื่อโคมลอยมากมาย ทำให้ในวันนี้จะนำเกร็ดความรู้ที่ไม่มีในห้องเรียนมาบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ สถาบันกษัตริย์ กลายเป็นสิ่งสูงส่งในสังคมไทยดังที่เราเห็นกันทุกวันนี้ สถาบันกษัตริย์ ชนชั้นพิเศษ ที่ไม่ปกติ เหมือนสามัญชนทั่วไป ในอดีตทั่วทั้งภูมิภาคมีชนชั้นปกครองที่เรียกว่ากษัตริย์ หรือราชา โดยมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของเมืองที่ตนปกครองอยู่ จวบจนคติความคิดของพราหมณ์-ฮินดู เข้ามาในภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้เข้ามายกกลุ่มชนชั้นปกครองที่ว่านี้ให้เปรียบเสมือนเทพตามคติของพราหมณ์-ฮินดู ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ให้ถูกมองออกไปว่า สถาบันกษัตริย์ เป็นชนชั้นพิเศษที่ไม่ปกติเหมือนสามัญชนทั่วไป ทำให้กษัตริย์ในไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และมาเลเซีย ต่างสร้างเทวสถานและดำรงตนให้มีลักษณะเป็นไปตามคติคิดของพราหมณ์ซึ่งมีอายุมานานนับพันปีแล้ว จวบจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นปัจจัยให้ถูกเบริบทสังคมแปรเปลี่ยนไป เช่น มาเลเซีย ผู้ปกครองเปลี่ยนแนวคิดไปในทางศาสนาอิสลาม เมียนมาร์ถูกแนวคิดทางพุทธศาสนาครอบงำจนศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถูดลดบทบาทลงไป กัมพูชา ยังคงมีแนวคิดทางพราหมณ์ฮินดูที่เหนียวแน่น แต่จะเน้นไปที่การบูชาเทวสถานกับพิธีกรรม ส่วนไทยนั้นแม้จะมีศาสนาพุทธเข้ามา แต่ก็มีบทบาทในลักษณะผสมผสานกับพราหมณ์-ฮินดู ดังที่จะเห็นได้จากแนวคิดและพิธีกรรมต่าง ๆ แต่สิ่งเหนืออื่นใดจะยังคงอิงกับตัวบุคคลเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่โดดเด่นสูงสุดเท่าที่มีอยู่ในสังคมไทย นั่นจึงทำให้แนวคิดเรื่อง สถาบันกษัตริย์ ที่ถูกปลูกฝังมาในสังคมอุษาคเนย์นานนับพันปี ถูกส่งผ่านไปยังหลายประเทศ ซึ่งมีไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดยบริบทสังคมไทยนี่คือชนชั้นที่สูงส่งในสังคม…
23 January