ในปี พ.ศ.2562 มีการคาดการณ์ว่า การว่างงานของแรงงานไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาและการเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอล และอีกหนึ่งส่วนคือเรื่องของ การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย ซึ่งความต้องการแรงงานในอีก 5 ปีข้างหน้านั้น ต้องการแรงงานในภาคบริการที่มีทักษะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอย่างมาก แต่ยังคงขาดแคลนแรงงานที่มาจากระดับอาชีวศึกษา จำนวน 200,00 คน ระดับปริญญาตรี จำนวน 200,000 คน และระดับปริญญาโท-เอก จำนวน 8,000 คน การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย ทำให้เกิดการว่างงานสูง จากผลสำรวจกรมแรงงานไทย ช่วงเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่เรียนจบระดับปริญญาตรีของไทย มีผู้ว่างงานจำนวนกว่า 130,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในสายสังคมศาสตร์และบางส่วนขาดทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ ทักษะทางด้านไอที การใช้โปรแกรมพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น รวมทั้งทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่ง 3 ทักษะนี้ เป็นทักษะที่มีความจำเป็นและตลาดแรงงานต้องการมากที่สุด และนี่เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาไม่ตอบโจทย์แรงงานไทย มีความไม่สอดคล้องทางกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ…
13 November