ความจำดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเรียน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน ของเรา ดังนั้นวันนี้เราจะมาชวนผู้เรียนฝึกความจำด้วย วิธีจำง่าย ซึ่งได้ผลดีเหล่านี้ แนะนำ วิธีจำง่าย เทคนิคช่วยจำ ที่ใครๆ ก็ทำได้ สร้างสรรค์เองก็ได้ไม่ยาก อาจไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการจดจำ รวมถึงวิธีจำง่ายของใครก็อาจเป็นวิธีจำยากของอีกคนได้ ดังนั้นควรสร้างสรรค์การจดจำด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ที่ทำให้รู้สึกว่าจำได้ไม่ฝืน ขอยกตัวอย่างเทคนิคช่วยจำที่เรียกว่า Use Mnemonic device ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้หรือต่อยอดเองได้ ได้แก่ – การจำคำศัพท์ต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศจากกลอนหรือเพลงสั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น บันดาลลงบันได บันทึกให้จำจงดี รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง… (จำคำศัพท์ภาษาไทยที่เขียนถูกต้องเป็นกลอน) – การจำหลักภาษาด้วยการแปลงมาเป็นข้อความสั้นๆ เช่น งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก (การจดจำอักษรต่ำเดี่ยว 10 ตัวในภาษาไทย คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม …
ใครที่เรียนไม่ค่อยจะเก่งอาจติดปัญหาตรงที่จำไม่ได้ ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะความจำไม่ดีหรือสมองไม่ดี แต่เป็นที่ “จำไม่เป็น” ต่างหาก จึงจำเป็นต้องจำให้เป็นด้วย เทคนิคช่วยความจำดี เหล่านี้ เทคนิคช่วยความจำดี จำอย่างนี้สิไม่มีทางลืมแน่! โฟกัสหน่อยเทคนิคช่วยความจำดีให้ลองสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างดูก็ได้ว่าเวลาที่ต้องทำหลายสิ่งพร้อมๆ กัน แทบจะทุกสิ่งออกมาไม่ดีหรือเกิดความผิดพลาดเสมอ ที่สำคัญคือจำไม่ได้ว่าอะไรเป็นอะไรหรือทำอะไรลงไปบ้าง นั่นเพราะเราไม่ได้โฟกัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง สมองจึงไม่มีเวลามากพอในการลงรหัสข้อมูล แม้เป็นสิ่งสำคัญก็อาจจำไม่ได้ ย้อนคิดอย่างไรก็คิดไม่ออก แนะนำให้ทำทีละสิ่งด้วยความตั้งใจ เช่น หากอยากอ่านหนังสือให้จำได้ดีก็ต้องอ่านอย่างเดียว ไม่เปิดเพลงคลอ ไม่ดูโทรทัศน์ ไม่หาอะไรมากิน เลือกที่ใช่เทคนิคช่วยความจำดีไม่มีอะไรตายตัว บางคนบอกจำแบบนี้ดีแต่พออีกคนนำไปใช้กลับไม่เวิร์ก ให้ผู้เรียนหาเทคนิคที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด ยกตัวอย่างเช่น – บางคนจำอะไรยาวๆ ไม่ได้ ต้องใช้การสรุปจด – บางคนจำจากเสียงครูพูดได้ดีที่สุด จึงตั้งใจเรียนขณะครูสอนหรือใช้การอัดเสียงครูแล้วเปิดฟังทบทวน จึงไม่จำเป็นต้องอ่านหนังสือทบทวนหลายรอบ – บางคนจำจากการอ่านหนังสือ มีภาพที่เกิดในหัวสมองซึ่งช่วยให้จำง่ายขึ้น เก่ากับใหม่อยู่ร่วมกันได้ จากการวิจัยเกี่ยวกับความจำมีการระบุว่า การนำข้อมูลใหม่ๆ มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมๆ ประสบการณ์เดิมๆ (ซึ่งก็คือความทรงจำเก่าที่มักเลือนรางไปตามกาลเวลา) จะช่วยให้ความจดจำเดิมๆ อยู่ยาวนานขึ้น ไม่เข้าตำราเก่าไปใหม่มาอย่างที่ผู้เรียนหลายคนเป็น เป็นเทคนิคช่วยความจำดี ที่เรียกว่า …