อันที่จริงเรื่องของ สมาธิในการเรียน เป็นสิ่งที่ฝึกกันได้ และธรรมชาติที่ทุกคนเป็นก็ไม่ใช่ว่ามีมาแต่เกิด มันถูกฝึกผ่านการเลี้ยงดูในช่วงที่พวกเราเป็นเด็กต่างหาก ถ้าพ่อแม่สร้างสภาวะแวดล้อมที่เสริมสร้างสมาธิให้แก่เรา เช่น มีห้องทำการบ้านส่วนตัว มีชั่วโมงของการอ่านหนังสือ เล่นเกมที่ต้องใช้การคิดวางแผน เป็นต้น เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นคนที่มีสมาธิดี แต่ถ้าตอนเด็กเจอแต่กิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วๆ อยู่ตลอด ส่วนมากก็จะมีสมาธิสั้น เกมแสนสนุก ช่วยเสริมสร้าง สมาธิในการเรียน ได้ ทีนี้เมื่อเรามีสมาธิในการเรียนที่ค่อนข้างสั้น หรือสงบนิ่งได้ไม่นานเพียงพอ จะทำให้เรามีปัญหาในการเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเรียน จากที่ควรจะเก็บเกี่ยวรายละเอียดของเนื้อหาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็อาจลดเหลือแค่ 40-60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งที่เรายังต้องนั่งเรียนด้วยจำนวนชั่วโมงที่เท่ากันกับเพื่อนๆ อยู่ คิดดูแล้วก็รู้สึกเสียเวลาและเสียโอกาสเหมือนกันใช่ไหม อย่างนั้นคงจะดีกว่าถ้าเราสามารถเปลี่ยนตัวเองให้มีสมาธิที่ดีขึ้นได้ เรื่องนี้มีการทดสอบเอาไว้อย่างจริงจัง โดยค้นหาแนวทางในการเสริมสร้างสมาธิในการเรียนกับเด็กช่วงวัยต่างๆ ผลลัพธ์ก็คือการสร้างสมาธินั้นเลือกทำได้หลากหลาย อย่างที่เราได้ยินกันบ่อยก็คือการนั่งสมาธิ กำหนดจิตให้อยู่กับปัจจุบัน การตัดโซเชียลออกไปในช่วงเวลาหนึ่ง การเล่นกีฬาบางชนิดก็ดีต่อการสร้างสมาธิด้วยเช่นกัน แต่สิ่งที่หลายคนรู้สึกชื่นชอบและอยากลองทำมากที่สุด เป็นการเล่นเกมที่ได้ทั้งความสนุกและความเพลิดเพลิน เกมสำหรับเสริมสร้างสมาธิในการเรียนที่ว่านี้ก็ไม่ใช่เกมพิสดารอะไร คนส่วนใหญ่ต้องเคยเล่นมาแล้วทั้งนั้น ตัวอย่างของเกมที่น่าสนใจได้แก่ เกมจับผิดภาพ เกมจับคู่ภาพ เกม Puzzle อย่างง่าย เป็นต้น…
เชื่อไหมว่าการเป็นเด็กเรียนดีนั้นทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าอยากเก่งรอบด้านทั้ง เรียนดี กิจกรรมเด่น งานนี้ต้องรู้จักวิธีแบ่งเวลาและต้องมีวินัยในการทำตามแผนที่วางไว้ โดยต้องเริ่มจากพิจารณาก่อนว่า ตัวเราอยากจะเทน้ำหนักไปทางไหนมากกว่ากัน ระหว่างงานทางด้านวิชาการ อยากเป็นเด็กเรียนเก่ง ผลการเรียนยอดเยี่ยมทุกเทอม หรือด้านกิจกรรม อย่างพวกการเล่นกีฬา การทำชมรม การออกค่าย เป็นต้น ต้องการเป็นเด็ก เรียนดี กิจกรรมเด่น ต้องทำอย่างไร ถ้าเราต้องการให้ตัวเองเรียนดี กิจกรรมเด่นเมื่อเลือกแล้วให้เอาส่วนที่เป็นแกนหลักมาวางตารางก่อน สมมติเราเลือกให้การเรียนดีเป็นมุมเด่น แล้วให้การทำกิจกรรมเป็นมุมรอง หากต้องการเรียนดี กิจกรรมเด่นก็มาดูว่าตอนนี้มีรายวิชาไหนที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน แยกวิชาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกที่เรียนได้ดีอยู่แล้ว ให้รักษาระดับด้วยการตั้งใจเรียนในห้อง จดโน้ตระหว่างเรียนหรือหลังจากทำการบ้าน พยายามจดโน๊ตให้สั้นกระชับ ไม่ต้องอธิบายละเอียดมากนัก ยิ่งถ้าวิชาไหนที่เรามีความชื่นชอบก็ยิ่งเรียนรู้ได้ง่าย และอาจไม่จำเป็นต้องจดโน๊ตอะไรเพิ่มเติมอีก แค่อ่านทบทวนเพียงเล็กน้อยในช่วงหัวค่ำก็พอ ส่วนกลุ่มวิชาที่ยังทำได้ไม่ดีนัก ก็จะต้องหาแนวทางในการเสริมองค์ความรู้ของรายวิชานั้นขึ้นมา เพราะเด็กเรียนดีจะต้องมีผลการเรียนของทุกรายวิชาไล่เลี่ยกัน อาจจะเป็นการเพิ่มชั่วโมงทบทวนเนื้อหา ให้เพื่อนที่เข้าใจวิชานั้นได้ดีช่วยอธิบาย ตรงไหนยังไม่เข้าใจก็ให้เดินเข้าไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรง ระหว่างเรียนรู้ก็ควรสังเกตตัวเองไปด้วยว่า การที่เราทำบางวิชาได้ไม่ดีมันมีปัญหาที่ตรงไหน จะได้แก้ไขให้ได้ผลลัพธ์แบบระยะยาวได้ด้วย เรียนดี กิจกรรมเด่นปกติแล้วเด็กเรียนดีจะต้องมีชั่วโมงเรียนรู้ด้วยตัวเองประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน…
อย่าเพิ่งตกใจว่า ห้องเรียนกลับด้าน เป็นการเรียนในห้องเรียนเอียงๆ หรือกลับด้านแบบเอาขาชี้ฟ้า… แต่เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ปฏิวัติการศึกษาและความเชื่อเดิมๆ ของทั้งครูและนักเรียน ซึ่งทางอเมริกาเขาวิจัยมาแล้วว่าทำให้นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้นอย่างชัดเจน มาดูกันว่าคืออะไร ห้องเรียนกลับด้าน คืออะไร ดีอย่างไร ห้องเรียนแบบเก่า สิ่งที่เกิดในห้องเรียนจะมีการเรียนการสอนปกติ บางโรงเรียนที่มีเทคโนโลยีหน่อยก็จะให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และเมื่อนักเรียนกลับบ้านแล้วก็จะมีการบ้านติดตัวไปให้ทำเพื่อฝึกฝน ห้องเรียนกลับด้านหรือที่เรียกว่า Flipped Classroom มีรายละเอียดที่น่าศึกษา ดังนี้ สิ่งที่เกิดในห้องเรียน คือ จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ (เป็นการจัดกิจกรรมหรือให้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในวิดีโอที่ให้นักเรียนดู โดยครูมีหน้าที่ชี้แนะแต่ไม่ชี้นำ เรียกว่าเป็นผู้ช่วยเหลือในยามที่เด็กติดขัดและกระตุ้นให้สามารถคิดด้วยตัวเอง) ที่สำคัญการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนนำการบ้านมาทำได้ ซึ่งการทำการบ้านในห้องเรียนมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ 1. ช่วยลดปัญหาการลอกการบ้านเพื่อนในทุกเช้า หากเด็กบางคนไม่สามารถทำเองได้ 2. เด็กสามารถปรึกษาเพื่อน นั่งทำการบ้านกันเป็นกลุ่มๆ ได้ 3. เด็กสามารถสอบถามการบ้านจากครูผู้สอนเพื่อความกระจ่าง 4. เด็กมีเวลาส่วนตัวมากขึ้นเมื่อกลับบ้านแล้ว 5. เด็กเรียนอย่างมีความสุขเพราะไม่มีการบ้านต้องทำที่บ้าน และการทำการบ้านที่ห้องเรียนก็ไม่ต่างจากการทำกิจกรรมสนุกๆ กับเพื่อน สิ่งที่เกิดนอกห้องเรียน สิ่งที่เกิดนอกห้องเรียน (นอกเวลาเรียน) ของห้องเรียนกลับด้าน คือ จัดให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต …
โควิด-19 ได้เข้ามามีผลกระทบกับผู้คนในวงกว้างให้มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปรวมไปถึงในแวดวงการศึกษา ที่ต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย แต่สำหรับเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่6 หลายกิจกรรมที่พวกเขาจะได้พบเจอและสัมผัสมันเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต แต่โควิด-19 ก็ดันพรากสิ่งเหล่านั้นไปเรียบร้อย ซึ่งในวันนี้เราจะไปดูกันว่าอะไรบ้างที่โควิด-19 พรากไปจากน้องๆ นักเรียนชั้น ม.6 จนทำให้พลาดและไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีก กิจกรรมที่ นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาด เพราะพิษโควิด-19 กิจกรรมกีฬาสี คือกิจกรรมแรกที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องพลาดไป เพราะสถานศึกษาเกือบทั้งหมดล้วนแต่ยกเลิกไปเพื่อความปลอดภัย ซึ่งนับว่าจะเป็นเรื่องน่าเสียดายที่กิจกรรมสำคัญนี้สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 ที่จะมีโอกาสเป็นผู้กำกับและลงมือทำด้วยตนเอง น้องๆในรุ่นนี้จะไม่มีโอกาสได้ทำและได้ประสบการณ์ดีๆจากมัน กิจกรรม open house คือกิจกรรมต่อมาที่น้องๆหลายคนยังไม่มีโอกาสไปสัมผัส เพราะมีเพียงไม่กี่มหาลัยเท่านั้นที่จัดก่อนโควิด-19 จะระบาดรอบใหม่ ทำให้นับจากนี้หากน้องๆนักเรียนชั้น ม.6 คนไหนที่ยังไม่ได้ไป open house ก็คงไม่มีโอกาสอีกแล้ว เพราะด้วยสถานการณ์เช่นนี้ที่น่าต้องใช้เวลาอีกแรมเดือนหรือนานกว่านั้นกว่าที่ทุกอย่างจะเข้าสู่สภาวะปกติที่ไม่เสี่ยงอันตราย ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้องๆนักเรียน ม.6 อาจจบการศึกษาแล้ว กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ในภาวะปกติเมื่อน้องๆนักเรียน ม.6 ใกล้จบ จะมีงานอำลาหรือที่เรียกว่าปัจฉิมนิเทศ แต่ในยุคโควิด19แบบนี้ การจะมามอบดอกไม้ รวมตัวกันถ่ายรูป…
อีกหนึ่งคำถามยอดฮิตของเด็กวัยเรียนก็คือ ทำยังไงถึงจะเรียนเก่งขึ้น ทำยังไงให้อ่านหนังสือเข้าใจมากขึ้น และต้องทุ่มเทขนาดไหนเกรดถึงจะดีขึ้น ซึ่งมันก็มีหลากหลายวิธีให้ได้ลองทำกัน และนี่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผลการเรียนของเราดีขึ้นโดยไม่รู้ตัว จาก งานอดิเรก ที่ทำในยามว่าง ยิ่งทำก็ยิ่งสนุก แถมได้ประโยชน์ในการพัฒนาสมองไปเต็มๆ แนะนำ งานอดิเรก เพื่อเสริมการเรียนรู้ที่ดี 1. วาดภาพ น่าจะเป็นกิจกรรมที่ถูกใจเด็กสายศิลป์ไม่น้อยเลยทีเดียว ตรงนี้ไม่ได้หมายถึงการวาดภาพในกระดาษเท่านั้น การสร้างสรรค์รูปภาพผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อะไรก็นับรวมด้วยหมด งานอดิเรก ประเภทนี้จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการในแบบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่การคิดฝันไปเรื่อยเปื่อย และยังฝึกสมาธิได้ดี ช่วยให้เราสามารถจดจ่อกับงานตรงหน้าเป็นเวลานานได้ หมายความว่าเมื่อไปเรียนรู้สิ่งอื่น ก็จะมีสมาธิต่อเนื่องด้วยเช่นกัน 2. เล่นเกม ในมุมมองของผู้ใหญ่หลายคน มักจะมองว่าเกมเป็นบ่อนทำลายการเรียนของเด็กๆ แต่หากเปิดใจมองดูสิ่งที่เป็นไปจริงๆ จะพบว่า งานอดิเรก ในกลุ่มนี้ช่วยพัฒนาสมองหลายส่วน ยิ่งถ้าเงื่อนไขและกติกาของตัวเกมมีความซับซ้อนมากเท่าไร มันก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกคิดแก้ปัญหามากเท่านั้น ได้ฝึกการวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตัวเอง ที่สำคัญยังเสริมด้านความจำด้วย เพียงแค่ต้องเล่นในช่วงเวลาที่พอดี ไม่มากเกินไป เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อร่างกาย 3. เล่นกีฬากลางแจ้ง การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว ได้ทั้งความสดชื่นและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ถ้าอยากเสริมประสิทธิภาพของสมองด้วย…
การที่เราได้เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย หน้าที่หลักๆของเราก็คือการเรียนหนังสือ แต่สิ่งที่ตามมาไม่แพ้กันก็คือ กิจกรรมต่างๆ การเป็นน้องใหม่หรือเฟรชชี่ กิจกรรมจะมีเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศ การรับน้อง การบำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งในบางกิจกรรมก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จนทำให้ใครหลายๆคนรู้สึกเหนื่อยมากๆ เพราะต้องเรียนและทำกิจกรรมควบคู่กัน หากว่าเราบริหารเวลาไม่ดีพอ การทำกิจกรรมก็อาจจะกระทบกับการเรียน จนทำให้ผลการเรียนไม่ดีได้ จนผู้ปกครองหรือน้องๆหลายคนตั้งคำถามว่า ประโยนช์ของการทำกิจกรรม ระหว่างเรียน มีผลดีอย่างไร ? เราจึงมีคำตอบมาให้ผู้อ่านกัน ประโยนช์ของการทำกิจกรรมระหว่างเรียน การบริหารเวลา เมื่อเราต้องเรียนและทำกิจกรรมควบคู่กันไป เราจึงต้องบริหารเวลาให้เหมาะสม โดยการเรียงลำดับความสำคัญ และวัน เวลาที่จะต้องทำล่วงหน้า ซึ่งการบริหารเวลาจะทำให้เราทำทั้งสองอย่างได้เป็นอย่างดี สร้างความเป็นผู้นำ ในบางสถานการณ์ เราต้องแสดงถึงบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หรือหากเป็นในค่ายอาสา การเป็นผู้นำในผู้อื่นในค่ายมักจะทำให้เรามีประสบการณ์ที่ดี กล้าแสดงออก การทำกิจกรรมทำให้เราได้กล้าคิด กล้าทำและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆให้ผู้อื่นเห็น การเสียสละเพื่อส่วนรวม บางครั้งการทำกิจกรรมทำให้ไม่มีเวลาในการพักผ่อนเหมือนเพื่อนคนอื่น เวลาในการทบทวนเนื้อหาที่เรียนน้อยกว่าผู้อื่น การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น นี้คือ ประโยนช์ของการทำกิจกรรม ที่ทำให้เราได้พบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตา ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก ทำให้เราได้มีทักษะในการเข้าสังคม การทำความรู้จักกับผู้อื่น การสร้างมิตรไมตรีที่ดี การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานทุกอย่างมักจะมีปัญหาเกิดขึ้น…