การอ่านหนังสือเป็นสิ่งพื้นฐานในการเรียนรู้ของคนเราเลยก็ว่าได้ เราเริ่มฝึกพูด อ่าน เขียนตั้งแต่เด็กทำให้หลายๆคนคงรู้จักดีกับการอ่านหนังสือ ยิ่งในยุคปัจจุบันในการเรียนการสอนทุกๆโรงเรียนหรือมหาลัยมีการสอบตลอดเวลาเพราะการศึกษาของไทยนั้น คือ การเรียนแล้วนำไปสอบเพื่อวัดความรู้ของนักเรียนเลยก็ว่าได้ หลายๆคนอาจมีเทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่แตกต่างกันไปตามสไตล์ของตัวเองซึ่งบางคนอาจจะจำได้ดีหรือบางคนอาจจะไม่เข้าใจและจำไม่ได้เลย ซึ่ง เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ ที่นักเขียนจะแนะนำนั้นจะช่วยให้เหล่านักเรียนไทยสามารถจำได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบ แนะนำ 3 เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ 1.วางแผนในการอ่านหนังสือ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรจะทำก่อนจะเริ่มอ่านหนังสือก็คือ การจัดสรรเวลาในการอ่านเพื่อให้อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาได้ทันก่อนเวลาสอบ ซึ่งอาจจะกำหนดว่าวันนี้ต้องอ่านวิชาอะไรบ้างเป็นเวลากี่ชั่วโมงและสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะทำก็คือ กำหนดเวลาพักให้ตัวเองบ้างเพราะสมองคนเราสามารถรับได้จำกัดเมื่อถึงขีดจำกัดก็จะไม่สามารถรับข้อมูลอะไรเพิ่มได้อีก ซึ่งแต่ละคนควรหาช่วงเวลาในการอ่านและพักที่เหมาะสมกับตัวเอง เช่น บางคนอาจจะอ่านตอนเช้าได้ดีกว่าอ่านตอนกลางคืน หรือ ควรอ่านหนังสือ 1 ชั่วโมงแล้วพัก 10 นาที เป็นต้น เทคนิคการอ่านหนังสือสอบแบบนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจำได้ดียิ่งขึ้น 2.อ่านออกเสียง หรือ จำเป็นภาพ เทคนิคการอ่านหนังสือสอบ การอ่านออกเสียงไปด้วยระหว่างอ่านหนังสือเหมือนเป็นการพูดทวนทำความเข้าใจกับตัวเองทำให้จำได้ดีขึ้น หรือ การจำเป็นภาพอาจจะนึกภาพต่างๆเพื่อโยงถึงเนื้อหาที่เราอ่านทำให้สามารถจำได้ดีขึ้น 3.การใช้ปากกาไฮไลท์และสรุปเนื้อหาสำคัญ การใช้ปากกาไฮไลท์เป็นเทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่หลายๆคนนิยมทำ เพราะการไฮไลท์สีบนข้อความสำคัญต่างๆมีส่วนช่วยในการจำได้ดีและ การสรุปเนื้อหาสำคัญเมื่ออ่านจบเป็นการทบทวนเนื้อหาที่อ่านโดยใช้ความเข้าใจของตัวเองนอกจากนี้ยังสามารถนำสรุปมาอ่านทวนได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วยค่ะ ถ้าหากตอนนี้คุณกำลังมองหา เว็บไซต์ที่รวบเรื่องราว การศึกษา และความรู้ kor-kai.com มีข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและความรู้ที่ความหลากหลาย ไว้ให้คุณได้ค้นคว้าและค้นหาแล้ว และถ้าคุณได้รับข้อมูล และความรู้กันไปตามที่ต้องการแล้ว ถ้ากำลังมองหาเกมออนไลน์ เล่นเพื่อคลายสมอง pp slot…
เด็กนักเรียนนักศึกษามักจะมีปัญหาเรื่องการอ่านหนังสือแล้ว จำไม่ค่อยได้ อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือจำได้แต่ก็ไม่เก่งพอจะประยุกต์ใช้ ดังนั้นมาลองดู เทคนิคการอ่านหนังสือ ที่จะแนะนำต่อไปนี้ แล้วคุณจะรู้ว่าการอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องยากเย็น แค่ต้องเปลี่ยนมุมมองการอ่านเสียใหม่ เพียงเท่านี้คุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการเรียนอีกต่อไป แนะนำ 4 เทคนิคการอ่านหนังสือ อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการอ่านหนังสือเพื่อสอบอ่านแบบเร็ว ๆ การอ่านหนังสือเพื่อสอบ หากอ่านหนังสือเล่มหนามากทุกวิชาคงไม่ไหว ดังนั้นการอ่านแบบเร็ว ๆ ข้าม ๆ เลือกดูเฉพาะจุดที่คิดว่าสำคัญก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องพะวงเสียเวลากับข้อมูลที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะวิชาภาอังกฤษการอ่านข้าม ๆ ก็จะทำให้เกิดทักษะในการสะกดคำหรือการอ่านได้ไปเอง โดยที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า คำนั้นสะกดคำอย่างไร แต่เมื่อเราลองเขียนก็มักจะเขียนได้ถูกต้อง หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียง ซึ่งการฝึกทักษะนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ เพราะสมองของเด็กจะเรียนรู้ได้ไว คือจะเกิดการเรียนรู้ไปเองทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้หลักการการอ่านด้วยซ้ำ เช่น ในภาษาฝรั่งเศส bonjour แปลว่าสวัสดียามเช้า อ่านว่า บง-ชูร์ จากนั้นเมื่อเราได้รู้แล้วว่าคำนี้อ่านเช่นนี้ เมื่อเราไปเจอศัพท์อีกคำที่สะกดคล้ายกัน เราก็จะอ่านได้เองโดยอัตโนมัติ เช่น เราไปเจอคำว่า Mouchoir ที่แปลว่าผ้าเช็ดหน้า…
ใคร ๆ ก็อ่านหนังสือได้ แต่เราอยากจะเป็นคนที่อ่านได้แบบไหนกันล่ะ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ที่มีความจำเป็นจะต้องอ่านหนังสือ ให้มาก และอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าตนเองมีทักษะในการอ่านระดับใด ก็จะช่วยให้รู้ตัว ประเมินความสามารถของตนได้ และนำไปใช้พัฒนาปรับปรุง ทักษะการอ่าน ต่อไป ทักษะการอ่าน ของแต่ละคนมี 4 ระดับ ดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับพื้นฐาน : คนที่อ่านออก คือคนที่อ่านหนังสือแบบอ่านออก สะกดคำเป็น อ่านออกเสียถูก อ่านแล้วไม่ค่อยมีผิด แต่เป็นแค่ในระดับที่เพียงแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แม้จะสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในระดับลึก ๆ ได้ คล้าย ๆ กับการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมต้น ทักษะการอ่าน ระดับพอใช้ : คนที่อ่านแล้วเข้าใจ คือคนที่นอกจากจะอ่านได้ไม่มีผิดแล้ว ก็ยังเข้าใจรูปประโยคของสิ่งที่อ่านด้วย รวมทั้งยังพอสรุปใจความสำคัญ หรือย่อความได้ด้วย และแม้จะพอวิเคราะห์ได้แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมปลายและมัธยมต้น ทักษะการอ่าน ระดับดี : คนที่อ่านแล้วรู้จักคิดวิเคาระห์…
ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีและสิ่งเร้ามากมาย เราอาจมีความกังวลว่าเด็กที่เป็นอนาคตของชาติจะหลงมัวเมาไปกันสิ่งนั้นหรือไม่ ทำให้วันนี้จะนำข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติมาอ้างอิงและวิเคราะห์ถึงสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ว่าเป็นอย่างไรบ้าง อีกทั้งมีอะไรที่น่าเป็นกังวลหรือไม่ วิเคราะห์ถึงสาเหตุ การอ่านหนังสือของเด็ก ในเด็กวัย 6-14 ปี ได้ดังนี้ 77% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านหนังสือเพื่อการศึกษา จากตัวเลขที่สูงนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจนัก เพราะเป็นเรื่องที่สมควรแล้วกับการที่เด็กต้องเข้าถึงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับการอ่านหนังสือ แต่ในอีกมุมหนึ่งอาจต้องเพิ่มตัวเลขให้มากกว่านี้ เพื่อให้ครอบคลุมกับกลุ่มเด็กที่อยู่ห่างไกลในชนบทและขาดโอกาสทางการศึกษาอีกจำนวนมาก 60.1% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ จากสถิติแบบนี้นับว่าน่าภูมิใจอย่างยิ่งที่เด็กใฝ่หาในสิ่งที่ตนเองสนใจ นับจากนี้จงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองด้วยที่ต้องสนับสนุนเด็กตามสมควร เพื่อให้การอ่านของเขายั่งยืนไปกระทั่งตอนโต ซึ่งหากสนับสนุนและปลูกฝังจนกลายเป็นนิสัยก็ยิ่งดีเข้าไปอีก 21.5% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านเพื่อความบันเทิง ในส่วนนี้มีข้อดี คือช่วยให้เด็กอ่านหนังสือได้คล่องและเป็นการผ่อนคลายสมองได้ แต่ในมุมกลับกันการอ่านในประเภทนี้ต้องอยู่ในระดับที่พอดี เพราะหากอ่านมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อตัวเด็กในแง่ของการเรียน จนถึงการใช้ชีวิตในสังคมได้ 11.5% การอ่านหนังสือของเด็ก อ่านเพราะความสนใจและอยากรู้ ในส่วนนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะสื่อให้เห็นว่าเด็กเริ่มรู้ตัวตนของตัวเอง ฉะนั้นการจะตอบโจทย์ความใคร่รู้ของตัวเองก็ต้องหาหนังสือมาอ่าน แต่ถึงกระนั้นจากตัวเลขนี้นับว่ายังน้อยไปสักหน่อย เพราะมันก็สื่อให้เห็นว่ายังมีเด็กอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถค้นหาตัวเองได้ โดยอาจจะเป็นที่สภาพแวดล้อมและตัวผู้ปกครองที่กำหนดกรอบไปยังตัวเด็ก จนกระทั่งเด็กไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งหากสถิติตรงนี้ถ้าในอนาคตเพิ่มขึ้นเกิน 50% ขึ้นไป วันข้างหน้าประเทศไทยของเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่ฉลาด…
แค่เห็นกองหนังสือตรงหน้าก็รู้สึกเหนื่อยแล้วใช่ไหม ไม่ต้องเปิดสักหน้าก็รู้เลยว่ามันน่าเบื่อขนาดไหน หลายคนมีอาการ ขี้เกียจอ่านหนังสือ เสมอๆ เวลาที่รู้ว่าจำเป็นต้องอ่าน เช่น ช่วงเตรียมตัวก่อนสอบ เป็นต้น แล้วสุดท้ายก็ตีความไปว่าตัวเองเป็นคนขี้เกียจ ไม่สามารถตั้งสมาธิให้อ่านหนังสือได้เลย ทั้งที่เวลาอ่านนิยายหรือการ์ตูนที่ชอบก็สามารถอ่านต่อเนื่องเป็นวันๆ ได้เฉยเลย พฤติกรรม ขี้เกียจอ่านหนังสือ แก้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้ ข้อเท็จจริงก็คือไม่มีสักคนบนโลกที่มีพื้นฐานเป็นคน ขี้เกียจอ่านหนังสือ เพียงแค่มันไม่มีความชอบในสิ่งที่จะอ่านเท่านั้นเอง และการศึกษาในบ้านเราก็ยิ่งบังคับให้เกิดความจำเป็นต้องอ่าน มากกว่าสร้างความรู้สึกอยากอ่านเสียด้วย มันเลยเป็นปัญหาคาราคาซังเรื่อยไปแบบนี้ บ่มเพาะนิสัยเบื่อหน่ายการเรียนรู้เพิ่มเติมเมื่อเข้าสู่วัยทำงานอีกด้วย ประมาณว่าเรียนมานานแล้ว ไม่อยากเรียนอะไรอีกแล้วนั่นเอง เพื่อไม่ให้สิ่งนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อไป เราลองมาใช้เทคนิคตามหลักจิตวิทยาเพื่อปรับพฤติกรรม ขี้เกียจอ่านหนังสือ กันดีกว่า ก่อนอื่นเลยคือการปรับความคิด ให้เลิกคิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องอ่าน เพราะเมื่อเริ่มจากความคิดแบบนั้นก็จะรู้สึกถูกบังคับโดยอัตโนมัติ ธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ชอบการบังคับอยู่แล้ว จึงต่อต้านโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ให้คิดว่าอ่านแล้วได้ประโยชน์อะไร ทำไมถึงควรอ่าน และจะอ่านเมื่อไรก็ได้ที่พร้อมเท่านั้น ทั้งหมดเป็นการลดกำแพงในใจ และทำให้มุมมองที่มีต่อหนังสือเล่มนั้นดีขึ้น ต่อมาคือลดความ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ด้วยการเริ่มจากน้อยๆ เสมอ เคยมีการทดสอบแล้วการหากร้องขออะไรที่เป็นเรื่องเล็กน้อยได้สำเร็จ โอกาสในการขอสิ่งที่ใหญ่ขึ้นก็จะสำเร็จตามไปด้วย…
การอ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่เราต้องทำกันตั้งแต่ตอนที่เรายังเรียนอยู่ในโรงเรียน ซึ่งช่วงเวลาที่เราอ่านหนังสือมากที่สุดก็จะเป็นช่วงเวลาก่อนสอบเพียงแค่ 1-2 สัปดาห์ เพื่อที่จะเตรียมตัวกับการสอบที่จะมาถึงการทบทวนเนื้อหาต่างๆในหนังสือถือเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่หลังจากที่เราเรียนหนังสือจบมาแล้วไม่ว่าจะเป็นในระดับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นเชื่อว่าหลายๆคนร้านอ่านหนังสือน้อยลงอย่างแน่นอน การอ่านหนังสือ จะยากหรือง่าย อยู่ที่ความชอบ การอ่านหนังสือ เป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายๆคนจริงๆนะสำหรับผู้เขียนก็เช่นเดียวกันสมัยที่เรียนหนังสืออยู่ การอ่านหนังสือนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะเกิดขึ้นเพราะว่าเพียงแค่หยิบหนังสือขึ้นมาเปิดหนังสืออ่านเพียงแค่ 2-3 หน้าก็เหมือนยานอนหลับ พอเริ่มอ่านไปได้เพียงแค่สักพักเดียวหนังสือก็ตกใส่หัวซะแล้ว เรียกแล้วว่าอ่านไม่นานก็ง่วงเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า และเหตุการณ์ที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้ก็คงจะเกิดกับใครหลายคนเช่นเดียวกัน ในประเทศไทยเคยมีการทำวิจัยมาแล้วว่าคนไทยอ่านหนังสือจำนวนน้อยมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการนำโซเชียลมีเดียเข้ามาในประเทศทำให้การอ่านหนังสือยิ่งน้อยลงไปอีก จริง ๆ แล้วการอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องที่ยากมากมายอะไร เพียงแค่เราได้อ่านหนังสือที่เราไม่ได้ชอบเพียงแค่นั้นเอง สมัยเรียนอยู่คงมีเพื่อนๆของผู้อ่านหลายคนอ่านหนังสือนิยายเป็นเล่ม ๆ โดยที่ไม่รู้สึกเบื่อ พอถึงเวลาว่างก็จะหยิบหนังสือนิยายขึ้นมาอ่าน ใช่แล้วครับสิ่งที่ผู้เขียนกำลังจะบอกก็คือการอ่านหนังสือเรียนนั้นเป็นสิ่งที่นักเรียนไม่ชอบแต่ถ้านักเรียนได้มาอ่านหนังสือที่ตัวเองชอบอย่างหนังสือนิยายก็จะสามารถอ่านจบภายในระยะเวลาอันรวดเร็วแถมยังจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำอีกด้วย สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เรียกว่าความสนใจของแต่ละคน หากว่าสนใจในสิ่งไหนสิ่งนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้จดจำรายละเอียดได้ดียิ่งขึ้น พอผู้เขียนได้มาเขียนบทความหรือว่า การอ่านหนังสือ นั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นเรื่องของความชอบมากกว่า หากว่าได้อ่านหนังสือเล่มที่ชอบแม้หนังสือจะยาวขนาดไหนก็อ่านมันทุกหน้า แต่เมื่อเป็นหนังสือที่ไม่ได้ชอบแค่บทนำก็ยังไม่อยากอ่านเลย ย้อนกลับสมัยที่เรียนหนังสือสาเหตุที่เราไม่ได้ชอบอ่านหนังสือเรียนก็คงจะเป็นเพราะว่ามันไม่ได้มีความน่าสนใจในหนังสือเรียนมากเท่าไหร่ ถ้าหากว่ามีการปรับเปลี่ยนให้มีเนื้อหาที่ได้รับความสนใจจากนักเรียนแล้วการอ่านหนังสือก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าสนุกน่าดู ติดตามบทความ การศีกษา เคล็ดลับการอ่านหนังสือ การสอบ ข่าวการศึกษา ได้ที่นี้ แนะนำ เทคนิคการอ่านหนังสือ อ่านยังไงให้สอบผ่านฉลุยทุกวิชา
เพียงแค่เข้าใจสระก็สามารถช่วยให้ลูกของเรานั้น มีพื้นฐาน การอ่านที่ดี ในอนาคตที่ดีอย่างแต่นอน เพราะหากไม่มีความเข้าใจตัวในสระและอักษร จะทำให้การอ่านอาจจะมีปัญหาในอนาคตได้ เพราะเวลาที่เขาจะสะกดคำก็ต้องใช้เสียงของตัวสระบวกกับตัวอักษร เพื่อให้เกิดความหมายของเสียงที่พูดออกมา รวมไปถึงการรวมคำต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดก็ต้องใช้สระในการออกเสียงเวลาที่อ่านหนังสือ แนะนำการอ่านที่ดีเพียงแค่เข้าใจสระให้กับเด็กๆ ซึ่งหากลูกของเรามีพื้นฐานการอ่านที่ไม่ดี มันจะส่งผลตอนเวลาที่ต้องเรียนการอ่านอย่างจริงจัง ก็จะทำให้เขารู้สึกว่าการอ่านนั้นมีความซับซ้อนและยากมาก จนไม่อยากจะแตะหนังสือเลย แต่ต่างกับเด็กบางคนที่มีความเข้าใจในตัวสระอยู่ก่อนแล้ว มักจะชื่นชอบการอ่านเป็นที่สุด เพราะเขาเหมือนได้รู้จักคำที่ตนเองอ่าน จึงทำให้สามารถที่จะบอกความหมายของคำนั้น ๆ ได้ นอกจากนี้จะทำให้การอ่านของเขามีความแม่นยำและจะเป็น การอ่านที่ดี ได้ ไม่ว่าจะไปรวมกับอักษรตัวไหนก็ตาม ก็สามารถที่จะอ่านออกเสียงได้อย่างถูกต้องตามต้นฉบับ รวมไปถึงการออกเสียงสระที่มีความสูงต่ำได้ดี โดยไม่ผิดเพี้ยนอีกด้วย และเหมือนเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตัวของเด็กเอง ซึ่งการที่เราจะฝึกเขาให้เข้าใจในตัวสระนั้นก็ไม่ยากเลย เพียงแค่มั่นฝึกฝนและให้เวลากับเขาได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับสระนั้น ๆ ไปทีละตัว โดยการฝึกควรให้เด็กได้เข้าใจกับตัวอักษร 1 ตัวไปก่อน อย่าเพิ่งไปสอนทีละหลายตัวรวมกัน เพราะอาจจะทำให้ลูกของเราเกิดความสับสนกับเสียงที่อ่านออกมาได้ ซึ่งถ้าเจอปัญหาเกี่ยวกับเสียงที่ออกมานั้น มันจะแก้ไขค่อนข้างยากเลยทีเดียว เพราะเด็กก็จะออกเสียงแบบที่ตัวเองเข้าใจก่อนเสอม หากไม่ได้รับการแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาในการอ่านครั้งนี้ รับรองว่าผลที่ตามมาจะค่อยดีนักเท่าไร ทางกลับกันหากลูกของเรามีความเข้าใจในตัวสระ ก็จะทำให้เขามี การอ่านที่ดี…
ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับช่วงเวลาแห่งการเปิดเทอม ไม่ว่าจะเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น หรือตอนปลาย ระดับมหาวิทยาลัย หรือสูงไปกว่านั้น ในการศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับ หรือวุฒิใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสอบ สอบเพื่อให้ผ่านไปสู่การเลื่อนระดับ หรือจบการศึกษา การที่จะทำคะแนนสอบให้สูง หรือสอบผ่านในแต่ละวิชานั้น ต้องมีความขยัน และอดทนในการอ่านหนังสือ บางคนอ่านเยอะเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ สอบไม่ผ่านซักที วันนี้เรามี เทคนิคการอ่านหนังสือ อ่านยังไง ให้สอบผ่านฉลุยทุกวิชา มาฝากกันค่ะ เทคนิคการอ่านหนังสือให้สอบผ่านทุกวิชา เทคนิคการอ่านหนังสือวิธีที่ 1 เราต้องตัดขาดจากโลกภายนอก ต้องตัดขาดจากโลกโซเชียลไม่ว่าจะเป็นการเล่น Facebook, Line, หรือการท่องโลกอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ ซึ่งการเล่นโซเชียลเป็นวิธีที่ทำให้เราไม่มีสมาธิกับการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะอ่านหนังสือ ควรที่จะหยุดเล่นโซเชียลแล้วหันมาให้ความสำคัญกับการอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ เทคนิคการอ่านหนังสือวิธีที่ 2 เรียงลำดับความสำคัญของหนังสือแต่ละเล่ม ขึ้นอยู่กับว่าในการสอบครั้งนั้น เราสอบวิชาใดเป็นวิชาแรก เราก็ควรที่จะหยิบหนังสือ ชีท หรือเลคเชอร์ของวิชาแรกที่สอบมาอ่านก่อน และเรียงลำดับตามวิชาที่ต้องสอบต่อ ๆ ไปตามกันมา เทคนิคการอ่านหนังสือวิธีที่ 3 เรียกสมาธิ รวบรวมสติ…