สำหรับนักเรียน นักศึกษาที่กำลังอยู่ในช่วงการเรียนไม่ว่าชั้นใดก็ตาม หรือจะเป็นในส่วนของกลุ่มคนวัยทำงานก็ตามแต่ที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม การหาความรู้จากหนังสือเป็นวิธีการหนึ่งที่เห็นผล ที่เราสามารถลงมือเอง ลุยอ่านเอง และได้ความรู้มาแบบง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลงเรียนคอร์ส แต่เชื่อว่าใครหลายคนมักอ่านไปแล้วกลับลืมเสียเป็นส่วนใหญ่ แล้วพอจะกลับมาใช้ก็กลายว่าลืมหมดไปแล้ว เราจึงจะมาแนะนำ เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่าย ให้กับทุกท่านได้ทราบกัน เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้เข้าใจง่ายและเห็นผลได้จริง ก่อนการอ่านหนังสือเพื่อ การศึกษา หรือเพื่อความบันเทิงทุกครั้งเทคนิคการอ่านหนังสือควรที่จะทำสมาธิ ตั้งสติเพื่อให้โฟกัสกับการอ่านหนังสือ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนไม่ว่าจะเป็นโซเชียล เสียงที่รบกวนที่ทำให้หลุดจากโฟกัส หรือถ้าใครมีเรื่องไม่สบายใจ พยายามหยุดคิด หรือเขียนความไม่สบายใจเหล่านั้นลงในกระดาษ เพื่อที่ว่าเราจะได้ไม่วนอยู่กับความคิด แล้วเมื่ออ่านหนังสือจบก็ค่อยมาแก้ความกังวลใจนั้นได้อีกรอบ โดยเทคนิคการอ่านหนังสือมีดังนี้ เปิดอ่านสารบัญของหนังสือเล่มนี้ ก่อนการอ่านหนังสือทุกเล่มควรเลือกอ่านสารบัญก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าเนื้อหาในเล่มทั้งหมดมีประเด็นสำคัญอะไรที่นำเสนอบ้าง เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจภาพรวมของหนังสือก่อน ไล่อ่านทีละบทตรงไหนสำคัญให้ไฮไลท์เอาไว้ เริ่มไล่อ่านทีละบทโดยดูเนื้อหาหัวข้อแต่ละหัวข้อไปก่อน และเมื่อหัวข้อนั้น เจอคำอธิบายที่สำคัญให้ทำการไฮไลท์จุดๆนั้นไว้ อ่านทวนตรงที่ให้ไฮไลท์แล้วลองเล่าเป็นภาษาตัวเอง เมื่ออ่านจบครบ 1 บท ลองไล่อ่านตรงที่เป็นไฮไลท์อีกที แล้วลองอธิบายเป็นภาษาเราให้เข้าใจง่ายๆ โดยอาจนึกว่าเลือกอ่านให้เพื่อนฟังก็ได้ สำหรับเทคนิคการอ่านหนังสือที่แนะนำเบื้องต้นสามารถนำไปปรับใช้ตามความต้องการของแต่ละคนได้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้อ่านหนังสือประเภทไหนก็ตาม แต่ไม่มีการนำไปใช้หรือการแสดงออกแบบ Output ก็จะไม่ช่วยในการจดจำให้เราเท่าไหร่นัก แนะนำว่าอ่านเสร็จแต่ละบท แล้วลองนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงกันเลยจะดีกว่า และสุดท้ายและท้ายสุดในวันนี้เราจะมาแนะนำสิ่งดีๆ…
การอ่านหนังสือให้เก่ง ไม่ใช่ว่าแค่อ่านเฉย ๆ ไปเรื่อย ๆ เท่านั้น แต่คุณต้องรู้จักเรียนรู้เทคนิคการอ่านหนังสือด้วย เพื่อให้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะหนังสือเรียน ตำรา หนังสืออ่านเล่น หรือสารต่าง ๆ คุณจึงจะสามารถรับข้อมูลได้มาก จดจำได้อย่างแม่นยำ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ซึ่ง เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ นั้นก็ไม่ได้ยากเย็นเลย เพียงแต่ต้องนำไปใช้อย่างจริงจังจึงจะเห็นผลชัดเจน แนะนำ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพชวนคนอื่นมาอ่านด้วย จะเป็นนักอ่านขั้นเทพได้ คุณก็ควรชักชวนให้คนรอบข้างหันมาชอบการอ่านหนังสืออย่างคุณด้วย เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณ เต็มไปด้วยคนที่รักการอ่าน เช่น -ควรชวนพ่อแม่พี่น้อง หรือคนในครอบครัวให้หันมาอ่านหนังสือกันด้วย ยิ่งถ้าอ่านได้ทั้งบ้านก็จะทำให้เกิดบรรยากาศการอ่านที่ดี มีแต่จะชักชวนกันอ่าน และให้กำลังใจกันจนทำให้อยากอ่านหนังสือมากขึ้น นอกจากนี้ยังถือเป็นกิจกรรมสำหรับครอบครัวที่ดีด้วย -ชวนเพื่อให้อ่านหนังสือด้วย ได้ความรู้ ได้ฝึกนิสัยรักการอ่าน และดีกว่าไปทำเรื่องไม่ดี -ชวนคนที่อ่านหนังสือไม่เก่ง คุณจะได้ช่วยสอนเขา และช่วยฝึกฝนทักษะการอธิบายไปด้วย เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพต้องรู้จักอ่านในใจ นักอ่านขั้นเทพควรฝึกการอ่านในใจ แต่ต้องไม่ทำปากขมุบขมิบ ไม่ใช้นิ้วหรือปากกาจิ้มไปที่ตัวหนังสือทีละคำแบบเด็ก ๆ ซึ่งการแบบเด็กที่ต้องห้ามนี้ จะทำให้เกิดผลเสียคือ ทำให้ใจจดจ่อกับตัวหนังสือมากกว่าสารหรือข้อมูลในหนังสือ เทคนิคอ่านหนังสือขั้นเทพอย่าอ่านทุกคำ…
ใคร ๆ ก็อ่านหนังสือได้ แต่เราอยากจะเป็นคนที่อ่านได้แบบไหนกันล่ะ โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษา ที่มีความจำเป็นจะต้องอ่านหนังสือ ให้มาก และอย่างสม่ำเสมอ การรู้ว่าตนเองมีทักษะในการอ่านระดับใด ก็จะช่วยให้รู้ตัว ประเมินความสามารถของตนได้ และนำไปใช้พัฒนาปรับปรุง ทักษะการอ่าน ต่อไป ทักษะการอ่าน ของแต่ละคนมี 4 ระดับ ดังนี้ ทักษะการอ่าน ระดับพื้นฐาน : คนที่อ่านออก คือคนที่อ่านหนังสือแบบอ่านออก สะกดคำเป็น อ่านออกเสียถูก อ่านแล้วไม่ค่อยมีผิด แต่เป็นแค่ในระดับที่เพียงแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น แม้จะสามารถจดจำสิ่งที่อ่านได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาในระดับลึก ๆ ได้ คล้าย ๆ กับการอ่านแบบนกแก้วนกขุนทอง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมต้น ทักษะการอ่าน ระดับพอใช้ : คนที่อ่านแล้วเข้าใจ คือคนที่นอกจากจะอ่านได้ไม่มีผิดแล้ว ก็ยังเข้าใจรูปประโยคของสิ่งที่อ่านด้วย รวมทั้งยังพอสรุปใจความสำคัญ หรือย่อความได้ด้วย และแม้จะพอวิเคราะห์ได้แต่ก็ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งทักษะการอ่านระดับนี้มักพบได้ในระดับชั้นประถมปลายและมัธยมต้น ทักษะการอ่าน ระดับดี : คนที่อ่านแล้วรู้จักคิดวิเคาระห์…
กลุ่มเด็กในช่วงวัย 6-14 ปี นับว่าอยู่ในช่วงของการเรียนรู้สิ่งต่างๆในระดับพื้นฐาน ก่อนที่จะถูกต่อยอดหลังจากนั้น ทำให้การอ่านหนังสือของเด็ก ก็มีความสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเหล่านี้เติบโตไปแบบมีคุณภาพ แต่ถึงกระนั้นในโลกที่มีเทคโนโลยี และสิ่งเร้าเกิดขึ้นมากมาย ทำให้เด็กในช่วงวัยนี้หันเหไปยังสิ่งอื่นที่ไม่ใช่การอ่านหนังสือ ซึ่งจะมี สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ อะไรบ้างเราไปดูกัน สรุปผลสำรวจ สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ 8.9% สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ เพราะชอบเล่นเกม หากจะว่าไปเกมก็มีข้อดีอยู่ในตัว เพราะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ แต่ต้องมีการแบ่งเวลาที่เป็นสัดส่วนและเหมาะสม ซึ่งหากเอนเอียงไปทางเล่นเกมจนละเลยการอ่านหนังสือ ก็ย่อมไม่เป็นผลดีต่อตัวเด็กที่อาจส่งผลถึงการเรียนให้ต่ำกว่ามาตรฐานลง 17.9% ไม่ชอบ ในส่วนนี้อาจจะไม่ใช่กลุ่มที่ต้องกังวล เพราะในบางครั้งเด็กเหล่านี้เจอหนังสือที่ไม่ถูกใจ หรือไม่ตรงกับความชื่นชอบของตัวเอง ฉะนั้นในส่วนนี้หากเสริมจิตวิทยาแก่เด็กให้รู้จักคิดและค้นหาตัวตน อาจทำให้เด็กรู้จักตัวเองและรู้ว่าตัวเองชอบอะไร แล้วหลังจากนั้นตัวเด็กจะเป็นฝ่ายออกไปตามหาหนังสือในเรื่องที่เขาชื่นชอบ 26.7% ชอบดูโทรทัศน์ เป็นเรื่องปกติที่ทุกบ้านต้องมีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผู้ปกครองต้องกวดขันคือ ประเภทของรายการที่ดูและระยะเวลาในการรับชมต่อครั้ง เพื่อให้การดูโทรทัศน์เกิดประโยชน์และได้ความผ่อนคลาย มิใช่จนทำให้เป็น สาเหตุเด็กไม่อ่านหนังสือ เพราะหมดเวลาไปกับมันจนมากเกินไป กระทั่งส่งผลเสียต่อตัวเด็ก 35.6% อ่านไม่คล่อง ยังถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ เพราะภาษาไทยมีขั้นตอนการเรียนที่ซับซ้อน ฉะนั้นนอกเหนือจากการเรียนในห้อง ผู้ปกครองต้องทำหน้าเรื่องที่เป็นผู้ช่วยครูอีกทีหนึ่ง ด้วยการให้เด็กเริ่มอ่านจากสิ่งที่ชอบบ่อยๆ…
พัฒนาการเรียนถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด เนื่องจากเด็กบางคนที่ผู้ปกครองละเลยให้การดูแลเรื่องพัฒนาการเรียนรู้ส่งผลให้อนาคตเด็กที่เรียนรู้ช้าเกิดปัญหาในหลายด้าน เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน ขาดโอกาสในการทำงาน ขาดโอกาสหาประการณ์ที่ดี เป็นต้น ซึ่งทุกคนจำเป็นตองทราบก่อนว่า การเรียนรู้ คือ การที่บุคคลนั้นได้รับความรู้ไม่ว่าจะเป็นทักษะ พฤติกรรม ความคิด ทัศนคติหรืออื่น ๆ จากผู้สอนนั้นเอง โดยการเรียนรู้ของคนเราจะเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 6 อย่างจากการคิด การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน เป็นต้น แต่ทุกการเรียนรู้หากไม่ได้รับการฝึกฝนก็ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นบทความนี้ได้รวยรวม 5 ทักษะ สร้างการเรียนรู้ ดังนี้ แนะนำ สร้างการเรียนรู้ ด้วยทักษะต่างๆ หัดเชื่อมโยงความรู้ ในทุกการเรียนจะได้ประสิทธิภาพ 100% คือ การเข้าใจในสิ่งนั้น โดยการเชื่อมโยงความรู้เก่ามาเป็นเหตุผลประกอบการพิจาณาคำตอบใหม่ ๆ อยู่เสมอ หรือประสบการณ์เดิมสอนทุกคนพัฒนาตัวเอง หัดใช้สื่อเสริมทักษะ ในปัจจุบันสื่อมีบทบาทต่อการใช้ชีวิต ดังนั้นการเสริมสื่อที่ดีก็สามารถสร้างการเรียนรู้ได้ เช่น การเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนไม่เข้าใจจึงได้ศึกษาเพิ่มเติมใน Google ก็ถือว่าเป็นการใช้สื่อในทางที่ดี…
ความขยันก็พอมี ความตั้งใจก็เต็มเปี่ยม แต่พอหยิบหนังสือมาอ่านทีไรมันก็เบื่อหน่ายทุกที เพราะ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เลย ขนาดเป็นวิชาที่ใครๆ ก็บอกว่าค่อนข้างง่าย แต่เราอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ต้องวนกลับมาอ่านจุดเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เสียเวลามาก ยิ่งไปกว่านั้น หลายครั้งการอ่านซ้ำที่เดิมก็เพิ่มเติมความสับสนให้เรามากขึ้นอีก แบบนี้ปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว มาสังเกตกันดูสิว่า เรามีปัญหาตรงจุดไหนใน 3 สาเหตุนี้บ้าง จะได้แก้ไขถูกจุด อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เกิดจากอะไรบ้าง ? 1. ไม่มีสมาธิในการอ่าน นี่เป็นประเด็นใหญ่ๆ ที่เด็กหลายคนเป็นกัน คือไม่มีสมาธิในระหว่างที่อ่าน ทำให้ อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง จับต้นชนปลายไม่ถูก เหมือนกับว่ากวาดสายตาผ่านตัวอักษรไปแบบนั้นเอง ทางแก้ก็คือ ก่อนเริ่มอ่านหนังสือให้นั่งอยู่นิ่งๆ เพื่อปรับความคิดก่อน อย่าเล่นมือถือหรือดูโทรทัศน์เสร็จก็มาอ่านเลย ต้องทำสมาธิให้หัวโล่งๆ ก่อนประมาณ 10-15 นาที รับรองว่าจะอ่านเข้าใจมากขึ้นแน่นอน 2. บรรยากาศไม่เหมาะสม ต่อให้เป็นคนสมาธิดีแค่ไหน แต่ถ้าไปนั่งอ่านในตลาดสดก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะเสียงรบกวนเพียงเล็กน้อยก็ดึงความสนใจจนเรา อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ได้…
แค่เห็นกองหนังสือตรงหน้าก็รู้สึกเหนื่อยแล้วใช่ไหม ไม่ต้องเปิดสักหน้าก็รู้เลยว่ามันน่าเบื่อขนาดไหน หลายคนมีอาการ ขี้เกียจอ่านหนังสือ เสมอๆ เวลาที่รู้ว่าจำเป็นต้องอ่าน เช่น ช่วงเตรียมตัวก่อนสอบ เป็นต้น แล้วสุดท้ายก็ตีความไปว่าตัวเองเป็นคนขี้เกียจ ไม่สามารถตั้งสมาธิให้อ่านหนังสือได้เลย ทั้งที่เวลาอ่านนิยายหรือการ์ตูนที่ชอบก็สามารถอ่านต่อเนื่องเป็นวันๆ ได้เฉยเลย พฤติกรรม ขี้เกียจอ่านหนังสือ แก้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้ ข้อเท็จจริงก็คือไม่มีสักคนบนโลกที่มีพื้นฐานเป็นคน ขี้เกียจอ่านหนังสือ เพียงแค่มันไม่มีความชอบในสิ่งที่จะอ่านเท่านั้นเอง และการศึกษาในบ้านเราก็ยิ่งบังคับให้เกิดความจำเป็นต้องอ่าน มากกว่าสร้างความรู้สึกอยากอ่านเสียด้วย มันเลยเป็นปัญหาคาราคาซังเรื่อยไปแบบนี้ บ่มเพาะนิสัยเบื่อหน่ายการเรียนรู้เพิ่มเติมเมื่อเข้าสู่วัยทำงานอีกด้วย ประมาณว่าเรียนมานานแล้ว ไม่อยากเรียนอะไรอีกแล้วนั่นเอง เพื่อไม่ให้สิ่งนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อไป เราลองมาใช้เทคนิคตามหลักจิตวิทยาเพื่อปรับพฤติกรรม ขี้เกียจอ่านหนังสือ กันดีกว่า ก่อนอื่นเลยคือการปรับความคิด ให้เลิกคิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่ต้องอ่าน เพราะเมื่อเริ่มจากความคิดแบบนั้นก็จะรู้สึกถูกบังคับโดยอัตโนมัติ ธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ชอบการบังคับอยู่แล้ว จึงต่อต้านโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ให้คิดว่าอ่านแล้วได้ประโยชน์อะไร ทำไมถึงควรอ่าน และจะอ่านเมื่อไรก็ได้ที่พร้อมเท่านั้น ทั้งหมดเป็นการลดกำแพงในใจ และทำให้มุมมองที่มีต่อหนังสือเล่มนั้นดีขึ้น ต่อมาคือลดความ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ด้วยการเริ่มจากน้อยๆ เสมอ เคยมีการทดสอบแล้วการหากร้องขออะไรที่เป็นเรื่องเล็กน้อยได้สำเร็จ โอกาสในการขอสิ่งที่ใหญ่ขึ้นก็จะสำเร็จตามไปด้วย…