Kor-Kai.com

ความรู้ดีๆ สิ่งที่ควรรู้ก่อน สอบราชการตำรวจ “สอบนายสิบตำรวจ” (Part 1)

ต้องรู้จักอะไรบ้างก่อน สอบนายสิบตำรวจ.

การสอบตำรวจนั้นนับว่าเป็นการสอบราชการอย่างหนึ่ง แน่นอนว่าตำรวจเป็นอาชีพยอดฮิตอันดับต้นๆในวัยเด็กของใครหลายคน ขั้นแรกภายในบทความนี้เราจะกล่าวถึงเพียงการ สอบนายสิบตำรวจ เท่านั้นเพื่อเป็นการแนะนำแนวทาง สำหรับท่านที่กำลังมีความคิดว่าอยากรับราชการตำรวจแต่ไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นจากตรงไหน

แนะนำสิ่งที่ควรรู้ก่อนสอบนายสิบตำรวจ

ในเรื่องของการ สอบนายสิบตำรวจ นั้นจะมีสองหน่วยงานใหญ่ๆที่กล่าวถึงกันในหมู่มากคือนายสิบตำรวจสายป้องกันและปราบปราม และ นายสิบตำรวจสายอำนวยการ สองสายงานนี้มีความแตกต่างกันทั้งในด้านการทำงานและในด้านของการสอบเข้าไปชิงตำแหน่ง เราจะจำแนกให้เห็นเป็นภาพใหญ่ ดังต่อไปนี้

แนะแนวทาง สอบนายสิบตำรวจ สายป้องกันปราบปราม

การทำงานและสอบนายสิบตำรวจสายป้องกันและปราบปราม 

รายละเอียดการ สอบนายสิบตำรวจ นักรบสองบีส่วนใหญ่มักใช้คำย่อว่า ปป. มีดังต่อไปนี้

  • ด้านการทำงาน กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล ตลอดจน ปฏิบัติงาน ในด้านการป้องกันอาชญากรรม และรักษาความสงบเรียบร้อย งานปราบปรามอาชญากรรม คร่าวๆประมาณนี้
  • อัตราการรับสมัคร ส่วนใหญ่จะไม่น้อยกว่า6พันอัตรา (ในกรณีเพศชาย)
  • ช่วงเวลาและความถี่ในการรับสมัคร ทุกๆปีงบประมาณ
  • ด้านการสอบเข้า สายงานนี้มีทั้งการสอบข้อเขียน (ปรนัย) และทดสอบร่างกาย
  • ระยะเวลาฝึก เมื่อผ่านทั้งสอบข้อเขียน และการทดสอบร่างกายแล้ว จะได้เข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ หรือที่เรียกกันว่า นสต. ระยะเวลาการฝึกอบรมนั้นต้องบอกว่าแล้วแต่ปีงบประมาณ ซึ่งในปีงบประมาณ2560 ขึ้นไป มีการฝึกทั้งหมด 18เดือน
  • เงินเดือนระหว่างฝึก อยู่ที่ 3พันบาทนิดๆแต่เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายในค่ายฝึก ทั้งค่าซักผ้าต่างๆ เหลือตกอยู่ที่ประมาณ1พันบาทต้นๆ
  • สถานที่สอบและบรรจุ ก่อนสมัครสอบนั้นจะต้องเลือกสอบภาคใดภาคหนึ่ง(1-9ภาค) เมื่อบรรจุหากเราทำคะแนนในระหว่างฝึกได้ดีจะมีสิทธิเลือกบรรจุก่อน ฉะนั้นต้องตั้งใจ
  • เงินเดือนหลังบรรจุ ประมาณ 15,000รวมค่าครองชีพต่างๆเรียบร้อย แฟลตฟรี หรือหากภูธร นครบาลใดไม่มีแฟลตจะมีค่าเช่าที่พักให้ต่างหาก
สอบนายสิบตำรวจ สายอำนวยการ

การทำงานและสอบการนายสิบตำรวจสายอำนวยการ

รายละเอียดการ สอบนายสิบตำรวจ นักรบสองบีส่วนใหญ่มักใช้คำย่อว่า อก. มีดังต่อไปนี้

  • ด้านการทำงาน การวางแผน  การจัดการ  การอำนวยการ  การประสานงาน การควบคุมและการให้บริการประชาชน งานเอกสานงายวุ่นวาย มักเรียกกันว่างานนั่งโต๊ะ
  • อัตราการรับสมัคร แล้วแต่ความต้องการในยามขาดแคลน ส่วนใหญ่ไม่เกิน1พันอัตรา (เป็นหน่วยงานที่รับไม่จำกัดเพศ)
  • ช่วงเวลาและความถี่ในการรับสมัคร ระบุชัดเจนได้ยาก บ้างก็รับติดกันหลายปี บ้างก็สองปีสามปีหน
  • ด้านการสอบเข้า มีเพียงการสอบข้อเขียนแบบปรนัยเท่านั้น
  • ระยะเวลาฝึก แล้วแต่หลักสูตร ส่วนมากไม่ถึงสามเดือน อาจมีการเริ่มงานก่อนแล้วจึงฝึกอบรมในเวลาต่อมา
  • เงินเดือนระหว่างฝึก ไม่มี
  • สถานที่สอบและบรรจุ ผู้เข้าสอบสามารถเลือกสอบได้ตามภาค (1-9) แต่ในการบรรจุส่วนใหญ่จะมีการล็อคเป้าไว้เพียงบางกลุ่มพื้นที่ เช่น กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • เงินเดือนหลังบรรจุ เมื่อรวมค่าครองชีพแล้วเงินเดือนจะตกอยู่ราว1หมื่นบาทนิดเพียงเท่านั้น เรียบร้อย แฟลตฟรี หรือหากภูธร นครบาลใดไม่มีแฟลตจะมีค่าเช่าที่พักให้ต่างหากเช่นเดียวกับปราบปราม

*** โปรดติดตามต่อได้ใน Part 2

ติดตามบทความ การศีกษาไทย ข่าวการศึกษา ข่าวราชการ เคล็ดลับการสอบ เคล็ดลับการอ่านหนังสือ ได้ที่นี้

แนะนำ อยากเป็น ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. ต้องทำอย่างไร ?